
เมืองพิษณุโลก

พระสามนาง กรุวัดอรัญญิก เมืองพิษณุโลก

พระสามนาง กรุวัดอรัญญิก เนื้อดิน

พระสามนาง กรุวัดอรัญญิก เนื้อดิน
ชื่อพระเครื่อง | พระสามนาง กรุวัดอรัญญิก เมืองพิษณุโลก |
---|---|
อายุพระเครื่อง | 0 ปี |
หมวดพระ | พระกรุ |
สถานะ | |
จำนวนคนชม | 7256 |
เข้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ | จ. - 06 ส.ค. 2555 - 14:42.06 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 06 ส.ค. 2555 - 15:46.13 |
รายละเอียด | |
---|---|
กรุที่มีการค้นพบ - กรุวัดอรัญญิก บทความนี้ได้คัดลอกมาจาก saranugrompra.com ::: พระกรุวัดอรัญญิก ::: คุณไพฑูรย์ โรจนพานิช กับครูเหลือ วันเพ็ญ นักเล่นเมืองพิษณุโลก ประเมินจำนวนพิมพ์ของพระกรุเอาไว้อย่างน้อย 10 พิมพ์ แยกเนื้อออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. เนื้อชิน 2. เนื้อดิน จำนวนพระพิมพ์ที่แยกออกเท่าที่จำได้มี ดังนี้ 1. ซุ้มคอระฆัง เนื้อชิน 2. ซุ้มปรกโพธิ์ แจกันซ้าย-ขวา เนื้อชิน 3. ซุ้มตำลึงชินราช (หรือกนกเครือวัลย์) เนื้อดิน 4. เปิดโลก เนื้อดิน มีจำนวนน้อยหายากงดงามยิ่ง 5. ท่ามะปราง เนื้อชิน-เนื้อดิน 6. ชินราชเล็ก (กรุลั่นทม) 7. นางแขนอ่อน ทรงสูงชะลูด 8. นางพิมพ์ ผงสุพรรณ ฯลฯ โดยสันนิษฐานของผู้เขียนเห็นว่าพระกรุนี้ และอีกหลายกรุของเมืองพิษณุโลก (บางจังหวัดก็เหมือนกัน) น่าจะแบ่งสมัยการสร้างออกเป็น 2 สมัย คือ 1. สมัยสุโขทัย ประเภทเนื้อดิน 2. สมัยอยุธยา ประเภทเนื้อชิน ---สมัยสุโขทัย เนื้อดิน ทั้งนี้ เนื่องจากลักษณะศิลปะของพระเมืองพิษณุโลก เนื้อดิน มีส่วนคล้ายกับของสุโขทัย ทั้งแบบศิลปะ เนื้อ มวลสารพิมพ์ทรงอายุการสร้างเมืองก็อยู่ในช่วงสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สภาพของพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงสมัยนั้น ---สมัยอยุธยา เนื้อชิน เห็นจะต้องยกให้พระกรุวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา เป็นต้นแบบ ถ้าหากเรามีโอกาสได้ศึกษาพระกรุวัดราชบูรณะจะพบว่ามีพิมพ์หลายพิมพ์ที่กระจัดกระจายไปตามกรุต่าง ๆ แม้แต่พิษณุโลก |