พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก - ทำเนียบรุ่น - webpra

เมืองพิษณุโลก

พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก

พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อตะกั่วสนิมแดง
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อตะกั่วสนิมแดง
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อตะกั่วสนิมแดง
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อตะกั่วสนิมแดง
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก (-)
พระชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน
ชื่อพระเครื่อง พระชินราชซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ เมืองพิษณุโลก
อายุพระเครื่อง 0 ปี
หมวดพระ พระกรุ
สถานะ
จำนวนคนชม 27784
เข้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ ส. - 04 ส.ค. 2555 - 12:00.21
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 06 ส.ค. 2555 - 15:32.03
Facebook
รายละเอียด
กรุที่มีการค้นพบ
- กรุโรงทอ


บทความนี้ได้คัดลอกมาจาก saranugrompra.com

พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่
---พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่ นอกจากได้พบที่กรุวัดโพธิ์ญาณแล้วนั้น ปรากฏว่าต่อมาในปี พ.ศ. 2500 กรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็ได้แตกออกมาเช่นกัน โดยมีผู้พบกับพระพิมพ์นี้รวมอยู่ด้วย แต่เข้าใจว่าเป็นพระที่สร้างกันมาภายหลังมากกว่า ทั้งนี้ก็เพราะเป็นลักษณะของการถูกถ่ายทอดพิมพ์ออกมาอีกครั้งโดยจะสังเกตได้จากองค์พระมักจะไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย พิมพ์ก็ตื้นบอบบาง และเนื้อจะไม่หนักแน่นผิวปรอทยังคงขาววาววับ การตัดข้างอย่างไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก ผลงานลวก ๆ ขาดความประณีต ฝีมือหยาบ ความอ่อนไหวทางศิลป์ก็ยังขาดความละเอียดอ่อนหลาย ๆ ด้านเทียบกับต้นฉบับเดิมมิได้เลย

พุทธลักษณะ
---พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะงามและแปลกไปกว่าพระพิมพ์ของเมืองอื่น ๆ ทรงกรอบเป็นรูปสามเหลี่ยมมนโค้งเว้าแบบราบทั้งสองด้าน มีเส้นซุ้มวาดเว้าตามเส้น วงนอกขององค์พระเป็นซุ้มเส้นคู่เกลี้ยง ๆ องค์พระประทับนั่งบนอาสนะฐานบัวคว่ำบัวหงายแบบเข่านอกในปางมารวิชัยซ้ายทับขวาคือพระชงฆ์เบื้องซ้ายซ้อนอยู่บนเบื้องขวา ซึ่งต่างกว่าพระปางมารวิชัยโดยทั่ว ๆ ไป นอกจากนั้นพระพิมพ์นี้บางองค์จะปรากฏรายละเอียดไว้บนพระพักตร์ เช่น พระเนตร พระขนง พระโอษฐ์ และพระกรรณ อย่างชัดเจนทีเดียว ส่วนด้านหลังมีทั้งชนิดที่เป็นหลังลายผ้าและหลังตันเฉย ๆ ไม่มีลายผ้าก็มี สำหรับเนื้อนั้นเป็นพระเนื้อชินผิวปรอท แต่บางองค์ผิวออกดำสนิมตีนกา และนอกจากนี้ ก็ยังมีผู้เคยพบประเภทเนื้อตะกั่วสนิมแดงด้วยเช่นกัน แต่ปรากฏมีจำนวนน้อยมากจนปัจจุบันนี้นับว่าหาชมกันได้ยากเลยที่เดียว

สกุลช่าง
---พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่ของกรุวัดโพธิ์ญาณนี้เป็นปฏิมากรรมในฝีมือสกุลช่างสมัยอยุธยา ซึ่งมีอายุการสร้างในราวประมาณกว่า 400 ปีเศษมาแล้ว คือ มีอายุการสร้างอยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกันกับของกรุวัดนางพญา


การเคลื่อนไหวของราคาเช่าและพระปลอม
---กล่าวกันว่า เมื่อตอนพระกรุวัดโพธิ์ญาณแตกออกมาใหม่ ๆ พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่ ยังมีราคาเช่าหากันองค์ละไม่กี่บาท ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ก็ยังมีราคาการเช่าที่เคลื่อนไหวอยู่ในวงการพระองค์ละไม่เกิน 70-80 บาท จน พ.ศ. 2505 ขึ้นเป็นองค์ละ 100-120 บาทเท่านั้น ใน พ.ศ. 2513 พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่พิมพ์นี้ได้ขึ้นไปอีกเป็นองค์ละ 200-300 บาทเลยทีเดียว นับเป็นการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพราะเริ่มจะมีผู้สนใจกันมา ปัจจุบันนี้พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่กรุวัดโพธิ์ญาณไม่มีผ่านเข้าสนามเลย ถึงจะมีก็นาน ๆ ครั้ง หรือไม่ก็เสื่อมสภาพผุกร่อนหักร้าว เพราะองค์ดี ๆ ขนาดพองามราคาก็วิ่งถึงหลักหมื่นแล้ว

---พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่ ได้มีผู้ทำเทียมแปลกปลอมออกมานับว่ายังมีจำนวนน้อยมากโดยใช้ดีบุกผิวซีด ๆ บางทีก็ทำเป็นชินเขียวและมีไขขาวจับ แต่ที่ทำปลอมเมื่อ พ.ศ. 2505 นับว่าไม่เลวเลยทีเดียว พิมพ์ถูกหมด แต่เนื้อค่อนข้างเป็นชินแข็งผิวไม่ยอมกลับ ต้องเอากรดเข้าช่วยให้ดำตามซอกยังมีไขขาวเทียม สีขาวอมเหลืองโดยไม่มีรอยผุแต่ใด ๆ เลย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2510 พระพิมพ์นี้ปลอมกันอีก โดยใช้เนื้อเก่าผสม พร้อมกับมีรอยผุระเบิดด้วย แต่ค่อนข้างระเบิดมากไปจนเลยความเป็นจริง คราบผิวทำได้ดีเกินคาดแต่ออกจะหลุดง่ายไปสักหน่อย ซึ่งผิดกับของแท้คราบผิวติดฝังแน่นจมลงไปในเนื้อเอาออกยาก ดังนั้นจึงออกจะยากสักหน่อยสำหรับผู้เริ่มสนใจและไม่เคยเห็นของแท้ ๆ มาก่อน

ข้อควรสังเกตการพิจารณา พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่ กรุวัดโพธิ์ญาณ คือ
1.เนื้อมีความแห้ง หนักแน่นคราบกรุเป็นสีน้ำตาล หรือออกคราบดำแดงแซมไขขาว
2.เป็นพระเนื้อชินเงินผิวปรอทคราบของปรอทจะมีความแห้งซีด ๆ เนื้อในออกเป็นเงินยวงขาวอมเหลือง ส่วนในองค์ที่ผ่านการใช้แล้วจะปรากฏผิวปรอทอยู่ตามซอกขององค์พระให้เห็นเกือบทุกองค์ และบางองค์ผิวดำเป็นสนิมตีนกา
3.ส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์พระมักมีรอยผุบ้างไม่มากก็น้อย
4.ถ้าเป็นพระทาน้ำมันเนื้อพระจะชุ่มฉ่ำยากต่อการดู เห็นควรตรวจให้ละเอียดก่อนเช่าหรือมิฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงกับพระชนิดนี้
5.วิธีที่ดีที่สุด หากไม่มั่นใจตัวเองควรจะให้ผู้รู้ตรวจสอบ เพื่อความแน่ใจเสียก่อน จะได้ไม่ต้องชอกช้ำใจภายหลัง

พุทธคุณ
---ถ้าท่านเป็นนักเลงพระ ประเภทชอบพระเนื้อชินแล้วละก็ พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่เป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่ควรค่าแก่การเก็บสะสมอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะมีอายุการสร้างไม่ต่ำกว่า 400 ปีแล้ว ในด้านพุทธคุณนั้นก็ดีเด่นจนปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และแม้แต่เมตตามหานิยมอีกด้วย
Top