พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก - ทำเนียบรุ่น - webpra

เมืองพิษณุโลก

พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก

พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (1)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์ใหญ่
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (1)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์ใหญ่
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (1)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์ใหญ่
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (1)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์ใหญ่
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (2)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์กลาง
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (2)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์กลาง
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (2)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์กลาง
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (2)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์กลาง
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (2)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์กลาง
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (2)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์กลาง
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (3)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์เล็ก
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (3)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์เล็ก
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (3)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์เล็ก
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (3)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์เล็ก
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (3)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์เล็ก
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก (3)
พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิมพ์เล็ก
ชื่อพระเครื่อง พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย เมืองพิษณุโลก
อายุพระเครื่อง 0 ปี
หมวดพระ พระกรุ
สถานะ
จำนวนคนชม 47142
เข้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ อา. - 08 พ.ค. 2554 - 16:27.58
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 06 ส.ค. 2555 - 15:33.59
Facebook
รายละเอียด
แม่พิมพ์
- มีซุ้ม ( เป็นเนื้อดินทั้งหมด )
- ไม่มีซุ้ม ( ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อชิน )

กรุที่มีการค้นพบ
- กรุวัดชีปะขาวหาย

ข้อมูลเพิ่มเติม
- ลักษณะเดียวกับหลวงพ่อโต จ.อยุธยา


บทความนี้ได้คัดลอกมาจาก saranugrompra.com
---วัดปะขาวหาย จังหวัดพิษณุโลก แห่งนี้มีความผูกพันกับตำนานการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา อยู่ประการหนึ่งอันปรากฏในพงศาวดารเหนือ ดังนี้
---พระศรีธรรมไตรปิฎกจึงรำพึงในพระทัยใคร่สร้างพระพุทธรูปให้แล้วด้วยสัมฤทธิ์ ครั้นพระองค์รำพึงแล้วจึงให้ช่างได้บาพิศณุคนหนึ่ง บาพรหมคนหนึ่ง บาธรรมราชคนหนึ่ง บาราชกุศลคนหนึ่ง บาธรรมราชคนหนึ่ง บาราชกุศล ได้ช่างมาแต่เมืองศรีสัชนาสัย 5 คน มาแต่เมืองหริภุญไชยคนหนึ่ง เป็นช่าง 6 คน จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งช่างทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายให้ช่วยกันรักษาศีล5 ประการอย่าให้ขาด
---ครั้นสั่งช่างแล้วจึงพระราชทานรางวัลแก่ไพร่ทั้งหลาย ให้ขนดินและแกลบให้ช่างๆจึงประสมดินปั้นเป็นรูปพระพุทธเจ้าสามรูป ตามมีพระราชโองการตรัสสั่งนั้น ให้เหมือนพิมพ์เดียว และใหญ่น้อยเท่ากัน ครั้นปั้นเบ้าคุมพิมพ์แล้ว ท้าวพระยาทั้งหลายก็นำเอาทองสัมฤทธิ์มาถวายแก่พระองค์เจ้าชวนกันหล่อพระพุทธรูปเป็นอันมาก แลช่างหล่อชานกันกินบวชเจ็ดวัน ก็ทำพลีกรรมแก่เทวดาทั้งเจ็ดทิศ
---ครั้นได้ฤกษ์ดีจึงเอาพิมพ์เข้าเตา วันเธอหล่อนั้น วันพฤหัสบดี เพ็ญเดือนสี่ปีจอ ชุมนุมพระสงฆ์ทั้งหลายมีพระอุบาลี พระศิริมานนท์ เป็นประธาน และพระสงฆ์เจ้าทั้งหลายหล่อให้พร้อมกันทั้งสามรูป แลรูปพระศรีศาสดา พระชินสีห์ ทั้งสองพระองค์นั้นทองแล่นเสมอกันบริบูรณ์ ยังแต่พระชินราชเจ้านั้น มิได้เป็นองค์เป็นรูปหามิได้
---แต่ช่างหล่อถึงสามทีก็มิได้เป็นองค์ แลพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ก็เกิดเป็นทุกข์ยิ่งนักหนาแลพระองค์ก็ตั้งสัจจาอธิษฐานว่า ด้วยบุญเดชะอันกูเรียนพระไตรปิฎก แลได้ทำพิธีกรรมฐานสอนสงฆ์ทั้งหลายให้ท่านอยู่ทางมรรคผลแก่พระสงฆ์เจ้า
---อนึ่ง จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตกาลนับมิได้ แต่พระองค์เจ้ารักษาศีลแลถือความสัจมิได้ขาด แลมีใจกรุณาแก่คนแลสัตว์ทั้งหลาย ครั้นพระองค์ตั้งสัจอธิษฐานแล้ว จึงมีพระราชโองการว่าแก่เจ้าประทมเวีให้ตั้งจิตอธิษฐานบ้างเถิดครั้นนางตั้งสัจอธิษฐานแล้ว ก็ร้อนถึงอาสน์พระอินทร์เจ้า จึงนฤมิตเป็นตาปะขาว ลงมาช่วยทำรูปพระคุมพิมพ์ปั้นเบ้า ถ้านฤมิตเป็นไปทีเดียวก็ได้ แต่ว่าจะให้ปรากฏแก่สายตาคนทั้งหลาย ช่วยทำเป็นช่างน้ำก็มิกินข้าว ก็มิกิน ตาก็มิหลับ ใจก็แข็งหาที่กลัวมิได้ และมีรูปอันแก่กว่าคนทั้งหลาย แต่เที่ยวไปมาช่วยสองวันทีหนึ่ง สามวันทีหนึ่ง จึงทำตรีศูลในพระพักตร์ให้เป็นสำคัญ ให้รู้ว่าพระอินทร์เจ้าสุลาลัยลงมาช่วย
---ครั้นถึงเดือนหนึ่งพิมพ์พระพุทธรุปแห้งแล้วจึงให้ช่างทั้งหลายตั้งเตาหล่อพระชินราช แต่ ณ วันพฤหัสบดี เดือนหก ขึ้นแปดค่ำ ปีกุน ตรีศก เพลาเช้า พุทธศักราช 1500 ปีกุน สัมฤทธิศก ด้วยอานุภาพพระอินทราธิราชเจ้าทองแล่นรอบคอบบริบูณณ์ทุกประการหาที่ติมิได้
---ครั้นบริบูรณ์แล้วพระอินทร์เจ้าเสด็จออกจากเมือง อำมาตย์จึงเข้าไปกราบทูลแก่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกให้รู้อาการว่า ตาปะขาวที่มาช่วยกันนั้นไปแล้ว พระองค์เจ้าจึงให้ไปตามแลดูให้รู้เหตุอำมาตย์ตามไปถึงกลางหนทาง ก็อันตรธานหายไปในที่นั้น อำมาตย์จึงเอาไม้ปักไว้เป็นสำคัญ
---จึงเข้ามาทูลให้พระองค์เจ้ารู้อันเป็นแม่นมั่นว่า พระอินทร์เจ้ามาช่วย พระองค์เจ้าจึงให้ตีดินนั้นออกจึงเห็นตรีศูลในพระพักตร์แห่งพระพุทธรูปนั้น (พงศาวดารเหนือ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายชุมพร ศรีสัชชนกุล พ.ศ.2516)

---ณ ตรงชีปะขาวหายไปนั้น ได้สร้างวัดขึ้นชื่อว่าวัดชีปะขาวหาย นับว่าเป็นวัดที่มีอายุกาลเก่าแก่ทีเดียวของเมืองพิษณุโลก และที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง เป็นสถานที่พบพระเครื่องตระกูลพระหลวงพ่อโต และเป็นวัดเดียวที่พบมากที่สุด

---กล่าวสำหรับวัดพระชีปะขาวหาย ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวรอ ฝั่งตรงกันข้ามกับตำบลบางสะแกพระหลวงพ่อโต ที่พบมีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ

1.พิมพ์หลวงพ่อโต
2.พิมพ์หลวงพ่อโป้

---พระหลวงพ่อโต หรือเรียกกันว่าแบบขอบข้างซุ้มลายกระกนกโค้ง เป็นพระหลวงพ่อโตที่มีขนาดเล็กยิ่ง เล็กกว่าของอยุธยามากนัก จึงได้ชื่อว่า เป็นพระเครื่องที่เหมาะสมกับการคล้องคอบูชาได้ทั้งชายและหญิง ด้วยขนาดขององค์พระกว้างประมาณ 1.9 ซม. สูงประมาณ 2.3 ซม
---องค์แบบสามเหลี่ยมมนโค้ง องค์พระพุทธปฏิมากรประทับนั่งปางสมาธิขัดราบบนฐานอาสนะบัว 2 ชั้น ขอบข้างเป็นลายซุ้ม กนกซึ่งมีความชัดลึกงดงามทีเดียว รวมทั้งรายละเอียดของพระพักตร์ พระเนตร พระนาสิก พระขนง ตลอดจนเส้นสังฆาฏิเด่นนูนชัดเจน
---พระเกศองค์พระเป็นแบบฝาละมี แบ่งเป็นชั้นชัดเจน ข้างองค์พระเป็นเส้นลวด 2 เส้น ด้านหลังองค์พระ เป็นแบบลายกาบหมาก เป็นส่วนใหญ่ ที่ด้านหลังเป็นรอยปาดเรียบก็มี และที่ปิดทองลงรักมาแต่ในกรุเลยก็มีเช่นกัน
Top