
เมืองชัยภูมิ

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เมืองชัยภูมิ

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เนื้อตะกั่วสนิมแดง
ชื่อพระเครื่อง | พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เมืองชัยภูมิ |
---|---|
อายุพระเครื่อง | 0 ปี |
หมวดพระ | พระกรุ |
สถานะ | |
จำนวนคนชม | 36462 |
เข้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ | จ. - 09 พ.ค. 2554 - 12:40.11 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 01 ส.ค. 2555 - 07:51.41 |
รายละเอียด | |
---|---|
กรุที่มีการค้นพบ - กรุคอกควาย ศิลปะยุค - ศิลปะลพบุรียุคต้น จำนวน - ไม่เกิน 70 องค์ บทความจากพระร่วงนั่ง กรุคอกควาย จาก saranugrompra.com ---ณ หมู่บ้านโสกรวก ต.หนองบัวโคก อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ มีสองสามีภรรยาคู่หนึ่ง มีอาชีพทำนา - ไร่ ชื่อ นายโก้ มิกขุนทด และ นางแฉล้ม มิกขุนทด อาศัยอยู่บ้านโสกรวกแห่งนี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งแต่เดิมนั้นพื้นที่ของหมู่บ้านยังเป็นป่ารกชัฎ จวบจนปัจจุบันได้มีการขยายพื้นที่ของหมู่บ้านออกไป ด้วยจำนวนประชากรที่นับวันจะเพิ่มขึ้น โดยมีผู้คนอยู่อาศัยประมาณ ๒๘๐ กว่าคน แบ่งเป็นหลังคาเรือนได้ประมาณ ๕๐ หลัง แต่ทว่าหมู่บ้านแห่งนี้ยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน เมื่อจะทำกิจกรรมทางศาสนา จะต้องเดินทางไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง ด้วยเหตุนี้สองสามีภรรยาจึงมีความเห็นว่า ควรมอบที่ดินของตนส่วนหนึ่งให้เป็นสาธารณสมบัติของหมู่บ้านเพื่อต้องการจะให้สร้างวัดโดยได้บริจาคที่ดินจำนวน ๘ ไร่ ๑ งาน เพื่อสร้างวัดประจำหมู่บ้าน และในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นวันพ่อแห่งชาติ ชาวบ้านโสกรวกจำนวนหลายสิบคนโดยการนำของ นายหนูชิด แสนชั่ง ผู้ใหญ่บ้าน ได้ร่วมใจกันปรับพื้นที่ดังกล่าว โดยใช้รถแทรคเตอร์มาไถปรับพื้นที่ ๑ คัน ---ในขณะที่รถแทรคเตอร์ไถที่เนินดินนั้น ได้ไถไปถูกก้อนหินใหญ่เข้าโดยบังเอิญ เมื่อชาวบ้านมาตรวจดูจึงได้พบ พระพิมพ์ขนาดใหญ่จำนวน ๓ องค์ กว้างประมาณ ๒ นิ้วครึ่ง สูงประมาณ ๓ นิ้วครึ่ง เป็นพระพิมพ์ อู่ทองสุวรรณภูมิ จึงได้เกิดความสงสัยว่า บริเวณดังกล่าวน่าจะมีอะไรอยู่อีก จึงช่วยกันขุดรอบๆแห่งนั้นจนได้พบ คราบหินปูนสีขาวเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งยังมี เศษกระเบื้องโบราณแตกอยู่ทั่วไป และเมื่อขุดตามแนวคราบหินปูนลงไปประมาณ ๑ เมตร ก็พบ กระปุกเคลือบสีน้ำตาลอมดำ มีฝาครอบ ลวดลายสวยงาม ภายในมี พระพิมพ์บรรจุอยู่จำนวน ๒๗ องค์ เมื่อนับรวมกันกับอีก ๓ องค์ที่พบก่อนรวมเป็น ๓๐ องค์ ---จากการสำรวจพระพิมพ์ดังกล่าว จึงสามารถแยกออกเป็นพิมพ์ต่างๆได้คือ 1. พระพิมพ์อู่ทองสุวรรณภูมิ พบครั้งแรก ๓ องค์ 2. พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ ฐานบัวสองชั้นสององค์ ---ที่เหลืออีกจำนวน ๒๕ องค์ เป็น พระร่วงนั่งพิมพ์สมาธิ ขนาดกว้าง ๓ ซม. และเมื่อดูกันให้ชัดๆ พระร่วงที่พบในครั้งนี้คือ พระร่วงนั่งกรุคอกควาย ที่พบในอดีตเมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ นั่นเอง ---พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย เป็นชื่อที่เรียกตาม สถานที่ขุดพบครั้งแรก และจุดที่พบในครั้งแรกนั้น อยู่ห่างจากจุดที่ค้นพบใหม่ เพียงประมาณ ๑๕๐ เมตรเท่านั้น ---จากพุทธลักษณะบ่งบอกว่าเป็นศิลปะกรรม สมัยลพบุรียุคต้น การค้นพบทั้งสองครั้ง ประมาณได้ว่าจะ มีพระร่วงนั่งกรุคอกควาย จำนวนไม่เกิน ๗๐ องค์ |