ท้าวมหาพรหม
ประวัติ (พระพรหมศาสนาพุทธ)
พระพรหมในศาสนาพุทธ กับ พระพรหมในศาสนาพราหมณ์ นั้นมีรูปกายเหมือนกัน ลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่ไม่ใช่องค์เดียวกัน
พระพรหมของพุทธ คือ คนที่ทำความดี ตั้งมั่นอยู่ใน พรหมวิหาร 4และไปเกิดเป็นพรหม ซึ่งมนุษย์ทุกคนสามารถเป็นพรหมได้ หากตั้งมั่นอยู่บนความมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา บนสวรรค์จึงมีพระพรหมเป็นล้านๆองค์ พระพรหมที่ชาวไทยรู้จักกันดีได้แก่ ท้าวมหาพรหม หรือ พระพรหมเอราวัณ ณ สี่แยกราชประสงค์ ท้าวพกาพรหม ท้าวกบิลพรหม
พระพรหมของพราหมณ์-ฮินดู คือ ผู้สร้างโลก ซึ่งมีเพียงองค์เดียว แต่เรียกได้หลายพระนาม เช่น พระพรหมมา พระพรหมธาดา ท้าวจตุรมุข ประชาบดี
ท้าวมหาพรหม
(พระพรหมศาสนาพุทธ)
ประวัติความเป็นมา
เรื่องราวของพระพรหมได้ผสมผสานเล่าขาน สืบต่อกันมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีประวัติกล่าวไว้ในหนังสือ และคัมภีราของศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ การกำเนิดพระพรหมของพระพุทธศาสนาสืบเนื่องมาจาก พระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทพยดา พระราชา พราหมณ์ปุโรหิต พระโยคี พระฤาษี ชีพราหมณ์ พระภิกษุสามเณรผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ และมีความเพียรกล้า ศรัทธาปรารถนาเพื่อการหลุดพ้นจากกิเลส จึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรวิปัสสนากรรมฐานอย่างสม่ำเสมอ จนสำเร็จฌานในขั้นต่าง ๆ ที่ได้บรรลุแล้วนั้น เมื่อสิ้นอายุขัย จะนำตนไปเกิดยังเทวโลก และพรหมโลก ครั้นเมื่อไปเกิดยังพรหมโลกแล้ว ไม่มีความเดือดร้อนใด ๆ ไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนกับโลกภายนอก ไม่ต้องขับขถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะอันลามก มีแต่ความสุขสบาย เสวยพรหมสมบัติ วิมารนทิพย์ ปราสาททิพย์ กายทิพย์ หูทิพย์ ตาทิพย์ เสวยอาหารทิพย์ เป็นเวลานานแสนนานตราบสิ้นอายุขัยของพระพรหม ในพรหมโลกสรีระร่างกายของพระพรหม เป็นรูปทิพย์ที่งามสง่า อวัยวะร่างกาย ข้อศอก แขน ขา เข่า ไหล่ ไม่มีรอยต่อ มีลักษณะกลมเกลี้ยงสวยงาม มีรัศมีกายรุ่งโรจน์ประภัสสร เจิดจ้างดงามยิ่งกว่า แสงพระอาทิตน์ และพระจันทร์ สำหรับท้าวมหาพรหมณ์ คือพระพรหมที่สถิตอยู่บนพรหมโลกชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ ซญึ่งเป็นประมุขแห่งพระพรหมในชั้นปฐมฌาน มหาพรหมาภูมิมีพระพรหมอยู่เป็นจำนวนนับล้านองค์ แต่ท้าวมหาพรหมที่รู้จักกันในศาสนาพราหมณ์นั้น มีเพียงไม่กี่องค์ ได้แก่ พระพรหมธาดา ท้าวกบิลพรหม ท้าวพกาพรหม เป็นต้น ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และมีอานุภาพมากมายนานาประการ การสร้างเทวรูปของท้าวมหาพรหมณ์ นิยมสร้างสี่หน้า สี่มือ หรือแปดหน้า แปดมือถือของต่าง ๆ กันเช่น ช้อนตักไขเนยลงในไฟ หม้อน้ำสำหรับใส่น้ำจากแม่น้ำคงคา คัมภีร์พระเวท เทพศาสตรา คทาอาญาสิทธิ์ ศรและลูกธนู พรศอคล้องประคำ พรกายสีแดงหรือสีขาว ปัจจุบันนิยมสร้างมีกายเป็นสีทอง มีม้าหรือหงส์เป็นพาหนะการกำหนดอายุพระพรหมในพรหมโลกแต่ละชั้นไม่เท่ากัน มีอายุยืนยาวนานเป็นกัลป์ อสงไขยกัลป์ อันตรกัลป์ ภัทรกัลป์ และมหากัลป์ แต่ได้ประมาณเอาไว้ว่า 1 กัลป์เท่ากับ 12,000,000 ปีสวรรค์ และ 1 ปีสวรรค์ เท่ากับ 360 ปีมนุษย์โลก
ลักษณะความเชื่อ
ชาวไทยมีความเชื่อถือศรัทธาท้าวมหาพรหม เชื่อว่าเป็นผู้กำหนดชีวิตมนุษย์ให้เป็นไปต่าง ๆ นานา หรือที่เราเรียกกันว่า “พรหมลิขิต” ว่าสามารถกำหนด หรือบันดาลความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ได้ ความเลื่อมใสศรัทธานี้เองจึงมีการสร้างเทวสถาน เทวาลัย หรือศาลท้าวมหาพรหมขึ้นหลายแห่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางการเคารพบูชา บนบานศาลกล่าว ขอให้ช่วยเหลือคุ้มครองอยู่เป็นประจำมิได้ขาด ถวายเครื่องสักการบูชา เครื่งเซ่นสังเวย ให้ช่วยประทานพร หรือเมื่อกระทำการใด ๆ สำเร็จในสิ่งที่พึงปรารถนาแล้ว จึงมาแก้สินบนตามที่ได้ตั้งจิตอธิฐานไว้
ข้อมูลอ้างอิง : http://www.watphananchoeng.com/watphananchoeng/index.php?option=com_content&view=article&id=34:2011-07-11-18-50-53&catid=4:god&Itemid=47