หมวด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ – หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม – หลวงปู่แผ้ว วัดรางหมัน
เหรียญฉลองกุฏิอนุสรณ์ อายุ 98 ปี ลาภ ผล พูน ทวี หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดรางหมัน
ชื่อร้านค้า | วุฒิ รัตตัญญู - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญฉลองกุฏิอนุสรณ์ อายุ 98 ปี ลาภ ผล พูน ทวี หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดรางหมัน |
อายุพระเครื่อง | 4 ปี |
หมวดพระ | หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ – หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม – หลวงปู่แผ้ว วัดรางหมัน |
ราคาเช่า | 8,000 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 081-2994954 |
อีเมล์ติดต่อ | Wut.pu@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ส. - 17 ต.ค. 2563 - 12:47.44 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 05 ก.ค. 2567 - 22:06.34 |
รายละเอียด | |
---|---|
หลวงปู่แผ้ว ปวโร พระเถราจารย์ชื่อดังแห่งวัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ได้รับการขนานนามว่า เทพเจ้าแห่งเมืองกำแพงแสน องค์หลวงปู่เป็นพระเถระผู้ถือครองเพศบรรพชิตแบบเรียบง่าย สมถะ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านไม่มีตำแหน่งทางปกครองคณะสงฆ์ ด้วยท่านไม่มีความปรารถนาในลาภยศตำแหน่งใด ๆ ทั้งสิ้น ด้านวัตถุมงคลของท่านก็เป็นที่กล่าวขานร่ำลือกันว่า มีพุทธคุณเข้มขลังที่สุด มีประสบการณ์แก่ผู้ที่บูชามากมาย ถึงขนาดมีคำกล่าวกันว่า “วัตถุมงคลรุ่นใดหรือวัดใด หากไม่นิมนต์หลวงปู่แผ้วไปนั่งปรก จะได้รับความนิยมน้อยกว่ารุ่นที่หลวงปู่แผ้วไปนั่งปรก” ล่าสุดวัตถุมงคลของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ปรารถนาในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมวัตถุมงคล คือ เหรียญพิทักษ์แดนใต้, เหรียญระฆังที่ระลึกอายุ 87 ปีหลวงปู่แผ้ว เป็นต้น ปัจจุบัน หลวงปู่แผ้ว สิริอายุได้ 87 พรรษา 67 (เมื่อปี พ.ศ. 2553) ตลอดระยะเวลากว่าชั่วชีวิตในการครองเพศบรรพชิต นอกจากปฏิบัติในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ท่านยังศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า แผ้ว บุญวัฒน์ ชื่อเล่น แกละ เกิดเมื่อวันแรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ตรงกับวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2466 ณ หมู่บ้านหลักเมตร ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายพาน และนางจุ้ย บุญวัฒน์ ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ฐานะพอเลี้ยงตัวได้สบายโดยไม่เดือดร้อน เมื่ออายุได้ 2 ขวบ ครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จากนั้นท่านจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 3 จากโรงเรียนวัดหนองม่วง ต.เตาอิฐ อ.บางแพ จ.ราชบุรีในช่วงวัยเยาว์ ท่านเป็นเด็กค่อนข้างเงียบขรึม ใจเย็น ไม่เที่ยวเตร่ เกเร ชีวิตส่วนใหญ่จะผูกพันอยู่กับวัด ด้วยโยมพ่อโยมแม่เป็นคนใจบุญสุนทาน ทุกวันพระจะพาลูกไปทำบุญที่วัด สมาทานศีลฟังเทศน์ฟังธรรมและสนทนาธรรมมิได้ขาด เมื่อมีอายุประมาณ 8 ขวบ โยมพ่อได้พาบุตรชายไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อหงส์ วัดหนองม่วง ต.เตาอิฐ อ.บางแพ จ.ราชบุรี เพื่อเรียนหนังสือ และศึกษาพระธรรมวินัยครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เกิดความศรัทธาประสงค์จะบวชเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา เพื่อแทนคุณของโยมบิดา-มารดา ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหนองปลาไหล ต.ทุ่งกระพังโหม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2486 โดยมี พระครูสุกิจธรรมสร (หลวงพ่อหว่าง ธัมมสโร)วัดกำแพงแสน เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปาน อารักโข วัดหนองปลาไหล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์สนั่น วัดหนองปลาไหล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ปวโร” หลังครองเพศบรรพชิต ท่านตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง หมั่นพิจารณาคำสอนของครูบาอาจารย์อย่างถ่องแท้ ได้ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะอุทิศกายถวายชีวิตอยู่ในบวรพระพุทธศาสนาตลอดไปช่วงแรกบวช ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดหนองปลาไหล เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นได้จาริกไปจำพรรษาที่วัดหนองม่วง 8 พรรษา ท่านมีหน้าที่สอนนักธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรภายในวัดต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ท่านได้ย้ายมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม จำพรรษาอยู่ที่วัดปลักลายไม้ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ในปี พ.ศ. 2497 หลวงปู่ได้ย้ายไปสอนพระปริยัติธรรม และจำพรรษาที่วัดสว่างชาติประชาบำรุง ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม อย่างไรก็ตาม ทั้งสองวัดเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง พระภิกษุสามเณรและชาวบ้านต่างต้องการให้หลวงปู่ดำรงตำแหน่งแทน แต่ท่านไม่ประสงค์ที่จะรับตำแหน่งทางปกครองคณะสงฆ์แต่อย่างใดพ.ศ. ๒๕๐๒ หลวงปู่เริ่มสนใจที่จะศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างจริงจัง ท่านจึงย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดกำแพงแสน ต.ห้วยหมอนทอง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ศึกษาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมกับหลวงพ่อหว่าง ธัมมสโร อย่างมุ่งมั่นจริงจังจนแตกฉาน เมื่อปี พ.ศ. 2524 หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ พระกัมมัฏฐานสายพระอาจารย์มั่น ได้เดินทางมาพักอยู่จำพรรษา ณ วัดกำแพงแสน ทำให้หลวงปู่แผ้ว ได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับหลวงปู่ดุลย์ และได้รับความเมตตาถ่ายทอดแนวทางการปฏิบัติกัมมัฏฐานให้ด้วย ตลอดเวลา หลวงปู่แผ้ว ได้สร้างคุณูปการสืบสานจรรโลงพระพุทธศาสนาอย่างรอบด้าน อาทิ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ทั้งในเขตอำเภอกำแพงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง ท่านจะอุดหนุนด้วยการสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก เพื่อให้ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาได้สมทบทุนปัจจัยนำไปใช้เพื่อการสาธารณ ประโยชน์ แม้วัยที่ล่วงเลยกว่า 87 ปี แต่หลวงปู่แผ้ว ยังคงรับกิจนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่เป็นประจำหลวงปู่แผ้ว เคยกล่าวปรารภไว้ว่า “ญาติโยมที่เขานิมนต์ให้เราไปร่วมพิธีนั่งปรก ก็เพราะเขาเชื่อว่าเราไปนั่งปรกแล้ววัตถุมงคลจะเข้มขลัง เราจะปฏิเสธไม่ได้” ส่วนวิทยาคมอันเข้มขลังที่หลวงปู่แผ้วใช้นั่งบริกรรมระหว่างนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคล ล้วนแต่เป็นวิทยาคมของหลวงพ่อหว่าง ธัมมสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพงแสน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจาก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกอีกทอดหนึ่ง ในช่วงที่ หลวงพ่อหว่าง ธัมมสโร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกำแพงแสน ท่านมีความเชี่ยวชาญเรื่องยาสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณ วัตถุมงคลของท่านก็เข้มขลังเป็นที่นิยม ทั้งนี้ หลวงปู่แผ้วได้ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อหว่างจนกระทั่งท่านได้มรณภาพ เมื่อได้รับกิจนิมนต์นั่งปรก จึงนำวิชาของหลวงพ่อหว่างใช้รวมกับวิชาวิปัสสนากรรมฐานที่ได้เรียนมาที่วัดมหาธาตุฯ สนามหลวง มาใช้บริกรรมคาถา เพื่อให้เกิดความเข้มขลัง สำหรับคาถาเสกวัตถุมงคลเข้มขลัง หลวงปู่แผ้ว บอกว่า มีบทเดียว แต่สร้อยของคาถามีหลายแบบ เช่น อาจจะบริกรรมว่า “พุทธังหลีก ธัมมังหลีก สังฆังหลีก” บ้างก็บริกรรมว่า “พุทธังแหวก ธัมมังแหวก สังฆังแหวก” หรืออาจจะบริกรรมว่า “พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด” ท่านกล่าวแนะนำว่า “ตำราคาถาของวัดและสำนักต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นของเดิมที่สืบทอดจากครูบาอาจารย์ในอดีต หลายคนท่องคาถาถูกต้องตามอักขระชัดเจน แต่เหนือสิ่งอื่นใดจิตต้องนิ่งเป็นสมาธิ คาถาจึงมีความเข้มขลัง ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาส ถ้าจิตนิ่งเป็นสมาธิ บริกรรมคาถาบทใดก็เข้มขลัง ที่ขาดไม่ได้ คือ ต้องตั้งอยู่ในศีลมั่นอยู่ในธรรม” เมื่อช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 หลวงปู่แผ้ว ได้ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) จ.นครปฐม วัตรปฏิบัติยังคงดำเนินชีวิตดุจเดิมด้วยความมักน้อยสันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในลาภสักการะทั้งหลายทั้งปวง เคร่งครัดในศีลาจารวัตร ทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือของศิษยานุศิษย์ตลอดทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไป |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments