หมวด พระเกจิภาคกลางตอนล่าง
พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อร้านค้า | วุฒิ รัตตัญญู - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคกลางตอนล่าง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 081-2994954 |
อีเมล์ติดต่อ | Wut.pu@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 17 ธ.ค. 2561 - 17:29.56 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 26 ก.ค. 2562 - 11:49.53 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน พิมพ์ใหญ่ เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา หลวง ปู่ยิ้ม ท่านเริ่มจัดสร้างพระตั้งแต่ปี 2460 และสร้างตลอดมา เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ท่านบรรจุในฐานชุกชี ๘๔,ooo องค์ ตามพระธรรมขันธ์ อีกจำนวนหนึ่งท่านบรรจุตามพระเจดีย์รอบพระอุโบสถ (เวลาท่านลงพระอุโบสถ เช้า-เย็น ท่านจะยืนอธิฐานจิตร ทุกวัน) วัดปฏิบัติของท่านเป็นที่น่าเลื่อมใสของชาวบ้าน และผู้ที่พบเห็น **หลังจากกท่านหยุดสร้างพระแล้วได้นำพระทั้งหมดทำพิธีปุกเสก ปี ๒๔๗๔ มี หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เป็นประธานในพิธี พร้อมพระเกจิอาจารย์อีกกว่า ร้อยรูป ** หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดในท่านเป็นเกจิอาจารย์ สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระสหายธรรมกับ หลวงพ่อปาน บางนนโค ,หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, วัดทั้งสามท่านอยู่ไม่ไกลกัน มากนักทั้งสามท่าน เป็นที่เคารพ และศัทธาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และใกล้เคียง ทั้งสามท่านจึงได้รับฉายาว่า " สามเสือแห่งกรุงเก่า" (พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาไหลหลงหลวงปู่ยิ้ม) หลวงปู่ยิ้มสิริโชติ เป็นคนดี ศรีอยุธยา เลือดคุ้งน้ำเจ้าเจ็ด?นามเดิม ยิ้ม กระจ่าง เป็นบุตรนายอ่วม นางสุด กระจ่าง ท่านเกิดที่ตำบลเจ้าเจ็ดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดที่บ้านสาลี หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแถว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๑๘ (จันทรคติ วันเสาร์ -- ค่ำ เดือน ? ปีกุน จ.ศ. ๑๒๓๗ ) มีพี่น้องร่วมบิดา มารดารวม ๓ คน คือ ๑. นายจ่าง กระจ่าง ๒. พระครูพรหมวิหารคุณ (ยิ้ม สิริโชติ) ๓. นายโชติ กระจ่าง โยมที่บ้านมีอาชีพทางกสิกรรม ทำไร่ ทำนาบรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่อายุได้ ๑๒ ขวบ พ.ศ. ๒๔๓๐ อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ณ พัทธสีมา วัดเจ้าเจ็ดนอก มีพระอาจารย์สิน วัดโพธิ์ เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จาดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สุ่มเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา ศึกษาพระคัมภีร์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เขียนอักขระเลขยันต์ ลบผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ผู้สืบสานวิชาอาคมมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า?คือพระอาจารย์จาด และพระอาจารย์จีน สำนักวัดเจ้าเจ็ดใน ( พระอาจารย์จีน เป็นพระอาจารย์สอนอักขร สมัยให้กับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ในครั้งนั้นด้วย ) พออายุ ๑๘ ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่วัดกระโดงทอง ภายใต้การปกครองของหลวงพ่อบุญมี สำเร็จยันต์นะ ปัดตลอด และสามารถเขียนยันต์ผงทะลุแผ่นกระดานชนวนได้อย่างอัศจรรย์ ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ดใน ต่อจากพระอุปฌาย์ ปั้น ในสมัยนั้นวัดเจ้าเจ็ดใน ได้แบ่งออกเป็น ๓ คณะ โดยมีหลวงปู่ยิ้ม เป็นเจ้าคณะเหนือ หลวงปู่โฉม เป็นเจ้าคณะใต้ และหลวงปู่คำ เป็นเจ้าคณะตะวันออก และหลวงปู่ยิ้มยังเป็นเจ้าคณะตำบลเจ้าเจ็ด เป็นพระครูกรรมการศึกษาและเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็น พระครูพรหมวิหารคุณ พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอบางซ้าย มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ รวมอายุได้ ๘๒ ปี ครั้งเมือหลวงปู่ยิ้ม ยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระที่อุดมด้วย ศีลลาจารวัตร ตลอดชีวิตของหลวงปู่ เป็นพระที่อารมณ์เย็น เคร่งครัด แต่มีเมตตาธรรมสูง พูดน้อย และมีผู้คนไปกราบนมัสการหาสู่ท่านมิได้ขาด พระเกจิอาจารย์ดังแห่งกรุงศรีอยุธยา, ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามอินโดจีน หลวงปู่ยิ้ม มีพระสหธรรมมิกที่ร่วม ครู-อุปัชฌาย์ อาจารย์องค์เดียวกันในยุคนั้นคือ หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ยิ้ม ๓ ปี อีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเกิดปีเดียวกับหลวงปู่ยิ้ม มีญาติโยมที่เป็นนักเลงสมัยนั้นได้ตั้งสมญานามให้ดูน่ากลัวว่า ? สามเสือแห่งกรุงเก่า ? หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านจึงเป็นพระอาจารย์อาวุโส มรณภาพเมื่อปี ๒๔๙๙ (อายุ ๘๑ ปี) หลังหลวงพ่อปาน ๑๘ ปี ( ๒๔๙๙ - ๒๔๘๑ ) แต่ก่อนหลวงพ่อจงราว ๘ ปี ( ๒๔๙๙ ? ๒๕๐๗ ) วัดของท่านเหล่านี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ท่านเป็นสหธรรมมิก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนชาวอยุธยาเรียกกันติดปากว่า ? พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาไหลหลง หลวงพ่อยิ้ม? หลวงพ่อทั้ง ๓ มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งนัก ต่างคนต่างผลัดไปมาหาสู่ต่อวิชา ซึ่งกันและกันที่วัดของแต่ละองค์ ครั้งละหลายๆ วันชาวกรุงเก่าที่รู้ซึ้ง จึงกระซิบต่อๆ กันว่า พระเครื่องของทั้ง ๓ องค์นี้พุทธคุณขลังเหมือนกัน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี เมื่อต่างองค์ต่างสร้างพระเครื่องฯ เพื่อสืบทอดพระศาสนาต่างก็มานั่งปรกพุทธาภิเษก แทบทุกๆครั้งไป?.. เหตุการณ์สำคัญ อธิเช่นการปลุกเสกทราย และขึ้นเครื่องบินโปรยลงสถานที่สำคัญๆ ในประเทศไทย เมื่อครั้งสมัยสงครามอินโดจีนฯ ช่วง พ.ศ. ๒๔๘๕ ฝรั่งเศสที่ต้องการจะยึดดินแดนของไทยเป็นประเทศใน อานานิคม มีผลร้ายแรง พอๆ กับ สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นเรื่องของความสามัคคี เพื่อให้สถาบันชาติอยู่ได้ สถาบันศาสนาอยู่ได้ และสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ได้ และสืบต่อพระศาสนา ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป. ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลครับ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments