เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้าเลี่ยมทองคำ-วิวัฒน์พระเครื่อง - webpra
ซื่อสัตย์ จริงใจ ตรงไปตรงมา ลูกค้าสะบายใจ 089-7274025

หมวด หลวงปู่ทวด ทั่วไป วัดอื่นๆ

เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้าเลี่ยมทองคำ

เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้าเลี่ยมทองคำ - 1เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้าเลี่ยมทองคำ - 2เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้าเลี่ยมทองคำ - 3
ชื่อร้านค้า วิวัฒน์พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญเม็ดแตงสมเด็จเจ้าพะโคะหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เนื้ออัลปาก้าเลี่ยมทองคำ
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ หลวงปู่ทวด ทั่วไป วัดอื่นๆ
ราคาเช่า 5,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 089-7274025
อีเมล์ติดต่อ wiwatmuang.2527@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 30 ก.ย. 2567 - 10:21.31
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 30 ก.ย. 2567 - 10:21.30
รายละเอียด
ประวัติวัดพะโคะ
(วัดพระราชประดิษฐาน)

ต้นกำเนิด หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
วัดพะโคะ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

เดิมวัดนี้ปรากฏว่าพระชินเสนเป็นผู้สร้างราวปีพ.ศ.500 (สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันอายุราว 2050 ปี ) ตั้งอยู่เนิน เขาพะโคะ หรือที่เรียกกันว่า เขาพิเพชรสิงห์บ้าง เขาพิพัทธสิงห์บ้าง เขาบรรพตพะโคะบ้าง เขาพระพุทธบาทบ้าง (เพราะมีรอยพระพุทธบาทเหยียบไว้ที่แท่นหินใหญ่ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน) ชื่อเดิมว่าวัดพระราชประดิษฐาน ได้ฝังวิสุงคามสีมา พ.ศ. 840 พระยาธรรมรังคัลเจ้าเมืองพัทลุง (สทิงพระรานสี) เป็นศาสนูปถัมภ์สร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง เพราะเห็นความสำคัญของวัดพระพุทธบาท หรือวัดพระราชประดิษฐาน ครั้นต่อมา ระหว่าง พ.ศ. 2091 ถึง พ.ศ.2111 พระยาดำธำรงกษัตริย์ (บางแห่งกล่าวว่าพระยาธรรมรังคัล) ได้นิมนต์ พระมหาอโนมทัสสี พระณไสยมุยและ พระธรรมกาวา ให้ไปเอากระบวนพระมหาธาตุเมืองลังกา และมาสร้างเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ สูงหนึ่งเส้นห้าวา ทำพระวิหารธรรมศาลา ทำอุโบสถ สร้างกำแพงสูงหกศอก ระหว่างเขตสังฆาวาสที่พักสงฆ์อาศัยคือส่วนลาดต่ำทางทิศตะวันตกของพื้นที่วัดส่วนที่เป็นเนินสูงราบเป็นชั้นๆ พื้นที่วัดทางทิศตะวันออกพุทธาวาสสถานที่ปลูกสร้างปูชนียวัตถุโบราณสถาน เช่น พระวิหารพระพุทธไสยาสน์(พระพุทธโคตมะ) พระเจดีย์(สุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ) อุโบสถ ธรรมศาลา เป็นต้น การสร้างพระพุทธไสยาสน์ ชื่อว่าพระพุทธโคตมะ ตามความนิยมของชาวบ้านเรียกชื่อวัดตามชื่อพระว่าวัดพระโคตมะ ชื่อวัดพระราชประดิษฐานเดิมไม่นิยมใช้เรียกกัน ครั้นต่อมาวัดพระโคตมะ เรียกเพี้ยนเป็นวัดพะโคะ ในกาลครั้งนั้นกษัตริย์หัวเมืองพัทลุง (สทิงพระ) และคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ทำ ฏีกาเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอที่กัลปนาต่อพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานกัลปนาแก่วัดวาอารามต่างๆ ในเขตหัวเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองพัทลุง ที่เป็นกัลปนา (เป็นเลนทุบาทโลกเลขา) อาณาเขตของวัด ทิศเหนือ จด หัวตะลุมพุก (แหลมตะลุมพุก),ทิศใต้ จดหัวเขาแดง , ทิศตะวันออก จด อ่าวไทย , ทิศตะวันตก จด ทะเลสาบสงขลา

ตั้งแต่ พ. ศ. 2151 ถึง พ. ศ. 2155 ในสมัยพระราชมุนีรามคุณูปรมาจารย์ (สมเด็จเจ้าพะโคะ ) ได้ปกครองวัดพะโคะเจริญรุ่ง เรืองมาก เนื่องจากได้รับการพระราชอุปถัมภ์จาก พระเจ้าอยู่หัวสละพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ให้ทางวัดได้ทำการสร้างถาวรวัตถุขึ้นหลายอย่าง เช่น พระวิหาร พระเจดีย์ อุโบสถ ธรรมศาลา โดยเฉพาะบูรณะพระเจดีย์ศรีรัตนธาตุสูง 1 เส้น 5 วา ยอดพระเจดีย์หล่อด้วยเบ็ญจะโลหะยาว 3 วา 3 ศอก และปรากฏว่า สมเด็จเจ้าพะโคะได้นำดวงแก้วที่พญางูให้เมื่อครั้งเป็นทารก บรรจุไว้ที่ยอดเจดีย์ จึงได้ชื่อว่า สุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ
ครั้นต่อมาหลังจากสมเด็จเจ้าพะโคะ จากวัดพะโคะไปแล้ว ฟ้าผ่ายอดเจดีย์ดวงแก้วตกลงมาอยู่ใกล้ๆเจดีย์ ภายหลังเด็กๆเล่นสะบ้า (ลูกเกย) กระเด็นเข้าไปในป่าที่ดวงแก้วตกอยู่ เด็กเห็นเป็นลูกแก้วประหลาด จึงนำไปบ้านเพื่อมอบให้แก่พ่อแม่ เมื่อถึงประตูชัยไม่สามารถจะออกจากวัดไปได้ เพราะเกิดมีงูใหญ่ขัดขวางไว้ และประตูวัดมืดมิดไปหมด เด็กก็นำลูกแก้วเข้าไปคืนให้แก่เจ้าอาวาส
ปรากฏว่าดวงแก้วนั้นเป็นปูชนียวัตถุศักดิ์สิทธิ์ของวัดพะโคะชิ้นหนึ่ง ต่อมาดวงแก้วถูกคนขโมยไป 3 ครั้งแต่ก็เกิดความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ผู้นำไปทุกครั้ง และได้นำกลับมาคืนไว้ ณ วัดพะโคะทุกครั้ง และครั้งล่าสุด ราว พ. ศ. 2471 มีนายจีนฯ บ้านท่าคุระเป็นคนเสียสติลักพาดวงแก้วไป ที่ บ้านท่าคุระ ขณะที่นายจีนนำดวงแก้วไปนั้นตาก็มองเห็นว่ามีงูใหญ่ไล่ตามมา นายจีนต้องการให้ดวงแก้วพาเหาะ แต่ก็ไม่สามารถแหะได้ นายจีนจึงโกรธมากเลยเอาดวงแก้ววางลง แล้วเอาหินขนาดใหญ่ทุ่มทับลงบนดวงแก้ว ทำให้ดวงแก้วแตกร้าว มีชาวบ้านไปพบจึงเอาดวงแก้วมามอบให้แก่เจ้าอาวาสวัดพะโคะดังเดิม
ส่วนนายจีน ซึ่งอวดดีว่าตนสามารถทุบดวงแก้วแตก ได้ไปจับช้างเถื่อนที่คลองนายเรียมและถูกช้างจับแทงฟัดจนลำตัวแขนขาขาดออกเป็นท่อนๆ ถึงแก่ความตาย ซึ่งชาวบ้านจึงเชื่อว่าเป็นผลกรรมจากการกระทำ ของนายจีนที่ทำให้ดวงแก้วเสียหายนั้นเอง
ดวงแก้วที่แตกถูกประสานรอยร้าวไว้ด้วยลวดทองแดง ในปี พ. ศ. 2484 พระอาจารย์แก้วพุทธมุนี วัดดีหลวงและพระชัยวิชโย วัดพะโคะ จะนำดวงแก้วไปให้ช่างหล่อทำใหม่ แต่สมเด็จเจ้าพะโคะเข้าประทับทรง บอกห้ามไม่ให้หล่อทำใหม่ สำหรับดวงแก้วดังกล่าวนี้ ต่อมาประชาชนได้ทำบุญสมโภชดวงแก้วทุกๆวันพฤหัสบดีเสมอมา
หลังจากสมเด็จเจ้าพะโคะ จากวัดพะโคะไปแล้ว ก็ได้มีพระเถระปกครองวัดสืบต่อกันมาหลายรูปหลายยุค โดยเฉพาะในยุคพระอาจารย์เขียว ปุญญผโล (พระครูสุนทรสิทธิการย์) เป็นเจ้าอาวาส ได้มีการพัฒนาปรับปรุงบูรณะปฏิสังขรณ์ ศาสนสถาน จนวัดพะโคะเจริญขึ้นเรื่อยๆ
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลา 2050 ปี ที่ผ่านมาวัดพะโคะคือศูนย์รวมจิตใจประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ รวมถึงชาวต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะด้วยบุญฤทธิ์และพระบารมีของสมเด็จเจ้าพะโคะ หรือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
วัดพะโคะปัจจุบันมีพระครูสมุห์วิชาญชัย กตปุญโญ เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นพระนักพัฒนาอีกรูปหนึ่งที่จะสืบสานเจตนารมณ์ตามที่สมเด็จเจ้าพะโคะ และเจ้าอาวาสที่ผ่านๆมาตั้งปณิธานไว้

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top