เหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 M 16 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2513-wison - webpra
VIP
สมัครเล่นครับ เรียนรู้จากของแท้เท่านั้น

หมวด หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง – หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

เหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 M 16 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2513

เหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 M 16 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2513 - 1เหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 M 16 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2513 - 2เหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 M 16 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2513 - 3เหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 M 16 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2513 - 4เหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 M 16 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2513 - 5
ชื่อร้านค้า wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 M 16 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2513
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง – หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 0819460502
อีเมล์ติดต่อ wison41505@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 21 พ.ค. 2556 - 13:51.00
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 24 พ.ย. 2557 - 22:57.55
รายละเอียด
เหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี เหรียญนี้เป็นเนื้อทองแดงนะครับ เหรียญ M16 นี้จัดสร้างไว้ 4 เนื้อได้แก่
เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และ เนื้อทองแดง มีทั้งหมด 4 บล็อก บล็อกทองคำ บล็อกเงิน บล็อกนวโลหะ บล็อกทองแดง แต่ เนื้อทองแดง จะมีบล็อกเงิน และบล็อกนวะด้วย

พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ " พระราชสิงหคณาจารย์ " หรือที่รู้จักกันดีในนาม หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง พระเครื่องของท่านทุกรุ่น ทุกพิมพ์ทรงล้วนมีพุทธคุณสูงเยี่ยมในทุกๆด้าน ผู้ประสบปาฏิหาริย์แห่งความเข้มขลังเป็นที่เลื่องชื่อลือชาอย่างกว้างขวางทั้งชาวไทย ชาวจีน ตลอดจนชาวต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ต่างรู้จักกิตติคุณของหลวงพ่อแพเป็นอย่างดี
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม เหรียญ M-16 จัดสร้าง พ.ศ.2513 มีสามเนื้อคือเงิน นวะ และทองแดง เหรียญนี้เนื้อนวะครับ สวยดูง่าย เรียบร้อยดี ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หายากครับ เป็นเหรียญยอดนิยม ประสบการณ์มากมาย สยบปืน M16 มาแล้ว เลยเรียกกันทับศัพท์ว่าเหรียญ M-16 ครับ

อานุภาพของปืน M-16 รุนแรงเพียงใด คนไม่เคยออกสนามรบไม่มีทางทราบได้ ในสงครามเวียดนามมีผู้บันทึกอานุภาพของปืน M-16 ไว้ดังนี้
“วันที่ 16 มิถุนายน พศ. 2506 หน่วยลาดตระเวนสังกัดกองร้อยที่ 340 ปะทะกับข้าศึกจำนวน 3 นาย ขณะออกปฏิบัติการในป่าลึก ทหารเวียตกง 2 นาย มีอาวุธปืนคาร์บิน ลูกระเบิดขว้าง ระเบิดแสวงเครื่อง ข้าศึกอีก 1 นายใช้อาวุธปืนกลมือ ที่ระยะประมาณ 15 เมตร ทหารเวียตนามใต้ใช้ปืนไรเฟิลจู่โจม เออาร์-15 (ต้นแบบของปืน เอ็ม-16 ) ยิงต่อสู้โดนทหารเวียตกง 3 นัด หนึ่งนัดเด็ดหัวข้าศึกออกจากคอ หนึ่งนัด กระทบที่แขนทำให้แขนหลุด อีกนัด เข้าด้านขวาของลำตัว เกิดเป็นรูบาดแผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ในความเห็นของข้าพเจ้า บาดแผลจากกระสุนเพียงนัดใดนัดหนึ่ง ก็เพียงพอที่จะปลิดชีพข้าศึก ฯลฯ”
..รายงานของนายทหารอเมริกัน ที่ปรึกษากองทัพเวียตนามใต้และสังเกตการณ์ในสงครามเวียดนาม

สำหรับตำนานเหรียญ M-16 ในสมัยที่หลวงพ่อยังอยู่มีทหารพลร่มจากค่ายป่าหวาย ลพบุรี นำเฮลิคอปเตอ มาลงจอดที่หน้าวัดพิกุลทอง เพื่อขอรับวุตถุมงคล ไปแจกทหารสู้รบกับทหารคอมมิวนิส แต่ในคณะที่มาขอวัตถุมงคลนั้นมีทหารนายหนึ่ง เอ่ยขึ้นมาว่าหลวงพ่อแพ แห่งวัดพิกุลทองนั้น มีดีเพียงเมมตตามหานิยมเท่านั้น
เนื่องจากในสมัยนั้น หลวงพ่อแพท่านเป็นที่ลือชื่อเป็นองค์เกจิ แห่งความเมตตามหานิยมและโชคลาภในจังหวัดสิงหบุรี
ทหารนายนั้น จึงไม่เชื่อถือในเหรียญฉลองไตรมาสรุ่นนี้ แต่หลวงพ่อท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่มีทหารอีกคนหนึ่ง นำปืนM-16 ที่ติดตัวมาด้วย ลองยิงเหรียญรุ่นนี้ดู และทุกคนก็ตะลึงเพราะเกิดกฤษดาอภินิหาร ปืน M-16 ยิงออกทุกนัด แต่หัวกระสุนปืนที่ยิงไปนั้น กลับค่อยๆไหลออกมาจากปากกระบอกปืน แล้วร่วงลงบนพื้นราวกลับสายน้ำ ที่หน้าเหรียญไตรมาสของหลวงพ่อแพนั้นเอง
จึงเป็นประจักษ์แก่สายตาทหารเหล่านั้น ใคร ๆ จึงขนานนามเรียกขานเหรียญไตรมาส รุ่นที่ 2 นี้ว่า "เหรียญเอ็ม16" นั่นเอง

หลวงพ่อแพท่านเป็นชาวจังหวัด สิงห์บุรี เกิดในราวปี พ.ศ.๒๔๕๒ ที่บ้านสวนกล้วย ต.ดอนสมอ อ.ท่าช้าง เมื่อบิดามารดาเสียชีวิต จึงย้ายมาอยู่กับบิดามารดาบุญธรรมที่วัดใหม่ อ.ท่าช้าง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพิกุลทอง ตอนเด็กเรียนเขียนอ่านที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน แล้วเข้ากรุงเทพฯ เพื่อบวชเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนด้านพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์เขมร ที่วัดชนะสงคราม ท่านมีความใส่ใจและขวนขวายในการศึกษา อายุเพียง ๑๔ ปีก็สามารถสอบได้เปรียญ ๓ ประโยค

เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระ ภิกษุ ได้รับฉายา "เขมังกโร" แปลว่า ผู้ทำความเกษมแล้ว ท่านเป็นพระภิกษุที่มีจิตมุ่งมั่นที่จะบำเพ็ญตนเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นหลายๆ รูป อาทิ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) พระครูภาวนา สำนักวัดโพธิ์ หลวงพ่อสี ผู้ทรงคุณวิเศษนานัปการ ฯลฯ ท่านจึงมีความเชี่ยวชาญและแตกฉานทั้งด้านคันถธุระ วิปัสสนาธุระ รวมทั้งไสยศาสตร์และวิทยาการต่างๆ

ต่อมาได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระ วันรัต (เฮง เขมจารี) ให้เดินทางกลับบ้านเกิดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามในท้องถิ่นที่ชำรุดทรุด โทรม เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป ท่านจึงเดินทางกลับไปดูแลวัดพิกุลทอง ท่ามกลางความชื่นชมยินดีของชาวบ้าน ด้วยบารมีและกุศลบุญของท่านและหลวงพ่อสี การบูรณะวัดพิกุลทองสำเร็จลุล่วงในเวลาเพียงปีเศษเท่านั้น นอกจากนี้ ท่านยังพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญควบคู่ไปด้วย ชื่อเสียงของท่านเป็นที่ร่ำลือขจรขจาย มีศิษยานุศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาเดินทางมากราบนมัสการอย่างเนืองแน่น หลวงพ่อแพท่านมรณภาพในปี พ.ศ.๒๕๔๒


พระอาจารย์องค์สำคัญอีกองค์ หนึ่งของหลวงพ่อแพก็คือ พระครูวิริยะโสภิต หรือ หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ อำเภอบางระจัน จ.สิงห์บุรี ท่านเป็นพระเถระที่มีคุณธรรมสูง จิตใจสงบเยือกเย็น เมตตาปราณี ใจดีมาก ๆ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความชำนาญในเรื่องอำนาจจิต และพุทธาคมมาก มีวาจาที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าท่านเอ่ยอะไรมักจะเป็นไปตามนั้น จึงมีผู้คนที่นับถือและเกรงกลัวท่านมาก

หลวงพ่อแพ ได้ร่ำเรียนวิชาจากหลวงพ่อศรี เกสโร อย่างไม่ยากเย็นนัก เพราะมีพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว ยังความดีใจแก่หลวงพ่อศรีเป็นอย่างมาก เพราะวิชาของท่านมีผู้สืบทอด ไม่ดับสูญไปพร้อมกับตัวท่าน เมื่อถึงคราวที่จะต้องจากโลกนี้ไป วิชาหนึ่งของหลวงพ่อศรีที่เลื่องลือ และท่านได้นำมาสร้างวัตถุมงคลยุคแรก ๆ เมื่อคราวที่ท่านสร้างพระอุโบสถ วัดพิกุลทอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ก็คือ แหวนหล่อเนื้อโลหะ และพระเครื่องเนื้อโลหะ เมื่อสร้างเสร็จ ปลุกเสกเสร็จ ก็นำไปให้หลวงพ่อศรีดู และปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง

ท่านได้กล่าวว่า “ของที่ท่านแพทำไว้นั้น ใช้ได้แล้ว ฉันไม่ต้องปลุกเสกซ้ำก็ได้ แต่ไหนก็เอามาแล้ว ก็จะสงเคราะห์ให้” ปรากฎว่า ได้รับความศรัทธาจากมหาชนอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะแหวนนั้น หมดลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีผู้นำไปใช้ ต่างได้รับประสบการณ์อย่างมากมายทุกด้าน จนต้องมีการสร้างแหวนขึ้นอีกหลายครั้งหลายครา เมื่อนำไปให้หลวงพ่อศรีท่านปลุกเสกซ้ำ ท่านยังกล่าวอีกว่า

“ดีจริง ๆ มีคนนิยมมาก และเมื่อคนต้องการ ก็ควรสร้างมาก ๆ ให้พอแก่ความต้องการ” ที่ท่านกล่าวเช่นนี้ ก็เพราะว่า ถ้ามีของที่ระลึกในการทำบุญมาก ๆ คนก็จะมาทำบุญกันมาก จะได้เงินมาก ๆ มาสร้างโบสถ์ให้เสร็จโดยเร็ว เพราะค่าใช้จ่ายในการสร้างโบสถ์นั้นสูงมาก บางวัดสร้างเป็นสิบปี ก็ยังไม่แล้วเสร็จ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top