หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
พระกลีบบัว สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน ๒๕๐๗
ชื่อร้านค้า | wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระกลีบบัว สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน ๒๕๐๗ |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 0819460502 |
อีเมล์ติดต่อ | wison41505@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ส. - 31 ก.ค. 2553 - 21:02.56 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 02 ก.ย. 2553 - 16:53.47 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระกลีบบัว สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน ๒๕๐๗ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ญาโณทยมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระประวัติเบื้องต้น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิมว่า อยู่ พระนามฉายาว่า ญาโณทโย ประสูติ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕ ที่เรือนแพหน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี โยมบิดาชื่อ ตรุษ โยมมารดา ชื่อ จันทร์ เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักบิดาผู้เป็นบุรพาจารย์ และต่อมาเมื่อมีพระชนมายุพอสมควร ได้มาอยู่ในสำนักของพระอาจารย์ช้าง วัดสระเกศ ได้ทรงเล่าเรียนสืบมาจนกระทั่งได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร จึงได้ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี ทรงศึกษามูลกัจจายน์ในสำนักของพระอาจารย์ช้าง ต่อมาได้ทรงศึกษาในสำนักของพระธรรมกิติ (เม่น) บ้าง ในสำนักเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (แดง) บ้าง และในสำนักพระยาธรรมปรีชา (ทิม) บ้าง บรรพชาอุปสมบท เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในสำนักพระอาจารย์ช้าง วัดสระเกศ พระนครได้ทรงศึกษาสามเณรสิกขารวมทั้งพระธรรมวินัย ตลอดจนตำราโหราศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีศาสดาราม เป็นครั้งแรก ทรงได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้อีก ๑ ประโยค รวมเป็น ๔ ประโยค ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๗ เมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท ทรงได้รับอุปสมบทที่วัดสระเกศ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมทานาจารย์ (จุ่น) วัดสระเกศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระธรรมกิติ (เม่น) วัดสระเกศ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากได้ทรงอุปสมบทแล้ว ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งสุดท้าย ทรงแปลได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยค เมื่อพระชนมายุ ๒๘ พรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยคองค์แรกในรัชกาลที่ ๕ จึงทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้นำรถยนต์หลวงมาส่งจนถึงพระอารามที่อยู่เป็นพิเศษและนับตั้งแต่นั้นมา ถ้าเปรียญใดสอบได้ ๙ ประโยค ก็ทรงพระกรุณาโปรดให้นำรถยนต์หลวงส่งเปรียญรูปนั้นจนถึงที่ เป็นธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบันนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช นับแต่ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่ประโยคต้น จนถึงประโยคสุดท้าย คือ ประโยค ๙ ไม่เคยแปลตกเลย พระกรณียกิจด้านต่างๆ ในด้านการศึกษา ในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าสำนักเรียนวัดสระเกศ พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์ ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกบาลีและนักธรรมให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป มีภิกษุสามเณรทั้งในวัดและต่างวัดได้มาอาศัยศึกษาเล่าเรียน จนปรากฏว่ามีนักเรียนสอบไล่ได้นักธรรม และบาลีเป็นจำนวนมาก เพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับพระภิกษุที่เป็นเปรียญและนักธรรมในสำนักวัดสระเกศ ที่ได้ออกไปเผยแผ่การศึกษาในต่างจังหวัดจนปรากฏว่าได้รับหน้าที่และดำรงสมณศักดิ์ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์อุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาตั้งแต่เริ่มเปิดการศึกษา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ตลอดมา ในด้านการบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อทรงได้รับพระกรุณาโปรดให้ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ก็ได้ทรงเริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถทั่วทั้งหลัง ได้ต่อหน้าชานพระวิหารให้กว้างใหญ่ขึ้น ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เข้าไปนมัสการพระอัฏฐารส ในพระวิหารเป็นอย่างมาก ได้ทรงปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถนนในวัดให้มีสภาพดีขึ้นกว่าเก่ามาก ได้ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์บรมบรรพตจนสำเร็จเรียบร้อย ได้ทรงสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและหอสมุดของวัดขึ้น นับว่าพระองค์ได้ทรงสร้างถาวรวัตถุไว้เป็นอย่างมาก ในด้านการเผยแพร่พระศาสนา พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมาก และทรงกระทำตามกาลด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงสนับสนุนพระภิกษุผู้สามารถที่จะทำการเผยแพร่พระศาสนาทั้งในและนอกประเทศ ทรงยกย่องพระภิกษุผู้ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ ทรงสนับสนุนองค์การและสมาคมที่ทำงานพระศาสนาด้านนี้ เมื่อพระองค์ทรงได้รับสถาปนาดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกแล้ว พระองค์ทรงบริหารการคณะสงฆ์ โดยมิทรงคำนึงถึงความชราภาพ ทรงทำทุกอย่างเพื่อความสงบสุขของ สังฆมณฑล พระองค์รับสั่งเสมอว่า สังฆราช ไม่ใช่ สังฆราชี ในด้านการติดต่อกับชาวต่างประเทศ พระองค์ทรงปฏิสันถารต้อนรับผู้มาถึงพอเหมาะพอดี เป็นที่สบายใจแก่อาคันตุกะนั้นๆ แม้บางครั้งผู้เข้าเฝ้าเป็นคนต่างศาสนา พระองค์ก็ทรงสามารถปฏิสันถารให้เหมาะแก่ผู้นั้น ซึ่งเรื่องนี้ มีผู้หนักใจกันมาก เพราะพระ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments