หมวด พระสมเด็จวัดระฆัง - วัดบางขุนพรหม - วัดเกษไชโย
พระเครื่องที่มีแต่ในตำนานของหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร
ชื่อร้านค้า | wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระเครื่องที่มีแต่ในตำนานของหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระสมเด็จวัดระฆัง - วัดบางขุนพรหม - วัดเกษไชโย |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 0819460502 |
อีเมล์ติดต่อ | wison41505@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 08 ก.ค. 2553 - 21:37.10 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 27 ก.ค. 2564 - 23:20.02 |
รายละเอียด | |
---|---|
"พระลีลาสองพี่น้อง" พระเครื่องในตำนาน แห่งหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร พระพิมพ์นี้ น้อยคนนักจะรู้จัก พระพิมพ์นี้ ยิ่งน้อยคนลงไปอีก เมื่อนับคนที่เคยเห็น พระพิมพ์นี้ จะมีใครครอบครองไว้...สักกี่คน พระพิมพ์นี้ จึงสมควรขนานนามว่า "พระเครื่องในตำนาน" เมื่อเยาว์วัยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ (โต) ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารอยู่ในสมัยนั้น ตามหลักฐานท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) มีความใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จดี ได้เคยกล่าวกับพระยาทิพโกษาฯ ว่า ถ้าอยากรู้ประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ก็ไปดูภาพฝาผนังโบสถ์ที่วัดอินทรฯ ได้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านมักจะสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่โต สมกับชื่อเพื่อเป็นพุทธบูชา (อุเทสิกเจดีย์) ไว้เป็นที่สักการะบูชา และปริศนาธรรมควบคู่ไปด้วย ที่วัดอินทรวิหาร สร้างพระศรีอริยเมตไตรย์ (พระยืนอุ้มบาตร) หมายถึงท่านหัดยืน ณ ที่นั้น ดังนั้นที่วัดอินทรวิหาร จึงมีพระพิมพ์ลีลาสองพี่น้อง ซึ่งมุ่งหมายให้เป็นรูปบูชาของ พระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์คือ พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระศรีอริยเมตไตรย ควบคู่กันนั่นเอง ภาพตัวอย่างพระพิมพ์ "ลีลาสองพี่น้อง" หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร(ภาพล่างสุด) ข้อมูลสำคัญมาจากหนังสือ"ยอดพระเครื่องกรุงเทพฯ ฉบับพิเศษ " เนื้อหาโดยอาจารย์ ประชุม กาญจนวัฒน์ สำนักพิมพ์ 99 มีเดีย แอนด์ พลับลิชชิ่ง (ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์) ในหนังสือดังกล่าวได้รวบรวมภาพพระเครื่องของหลวงปู่ภู ไว้จำนวนหนึ่ง หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นพระพิมพ์ลีลาสองพี่น้อง พิมพ์ทรงเหมือนกับพระองค์นี้ เหมือนกันอย่างกับ "แกะ" ออกมาจากแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน ดังนั้น ถ้าข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ไม่ผิดพลาด พระพิมพ์นี้เป็นของหลวงปู่ภูจริง พระองค์นี้ก็ต้องเป็นพระของท่านด้วยเช่นกัน (พิมพ์ใช่) "คราบน้ำปูนบนผิวพระ" ข้อมูลเพิ่มเติมมาจากหนังสือวงการพระเครื่องฉบับพิเศษ ตระกูลพระสมเด็จหลวงปู่ภู-หลวงปู่เงิน เรียบเรียงโดย ทรงชัย กิตติพิชัย กล่าวถึงคราบน้ำปูนบนผิวพระหลวงปู่ภู ว่าต้องมีทุกองค์ จะมากหรือน้อย บางคนไม่ทราบก็จะนึกว่าเป็นแป้งโรยพิมพ์ สภาพนี้เกิดจากเนื้อพระของท่านผสมปูนมาก และยิ่งมากขึ้นในช่วงยุคปลายๆ โดยหากผสมน้ำมากเนื้อพระเหลว ก็จะเกิดคราบน้ำปูนลอยขึ้นบนผิวหน้าพระมากยิ่งขึ้น ใครมีหนังสือรวมภาพพระหลวงปู่ภู ลองสังเกตดูว่ามีทุกองค์ ยิ่งองค์ไหนเนื้อหนาๆ ยิ่งมีมาก เช่น พิมพ์หลวงพ่อโตยืนอุ้มบาตร ยกเว้นก็แต่องค์ที่ผ่านการใช้มามาก หรือโดนล้างผิวอาจจะไม่พบคราบนี้ ความรู้ใหม่นี้สอดคล้องกันกับสภาพของพระองค์นี้ เพราะปรากฏคราบน้ำปูนหนามากบริเวณด้านหน้าพระเท่านั้น ไม่มีให้เห็นด้านหลังองค์พระเลยแม้แต่น้อย ตามภาพที่สี่และห้า ที่ขยายให้เห็นเม็ดมวลสาร และเม็ดพระธาตุด้านหลังพระ จะเห็นว่าไม่มีคราบน้ำปูนเลยแม้แต่น้อย จึงเป็นข้อบ่งชี้อีกประการหนึ่ง ว่าพระองค์นี้ถูกสร้างขึ้นตามกรรมวิธีของสำนักหลวงปู่ภู วัดอินฯ อย่างแน่นอน(เนื้อใช่) พระลีลาสองพี่น้ององค์นี้เป็นพระมีอายุไม่น้อย ผู้รู้ได้ให้เหตุผลว่า ให้ดูจากสภาพพระมีหลุม โพลงที่เกิดขึ้นจากการแห้งหดตัวของเนื้อพระที่มีให้เห็นทั้วทั้งองค์ องค์พระค่อนข้างหนา มีสภาพที่เกิดจากการตัดขอบด้วยตอกเกิดเนื้อปลิ้น เป็นขอบขึ้นมาให้เห็นเรียกว่า "เนื้อปลิ้นตัดตอก" แผลตัดมีรอยฟันเลื่อย และไม่เป็นเหลี่ยมมุมที่สวยงาม การตัดโบราณแบบนี้ของปลอมทำไม่ได้ครับ หรือทำได้ก็จะดูไม่เป็นธรรมชาติ สภาพของเส้นครอบแก้วแบบผ่าหวาย มีการหดตัวในลักษณะ "ม้วนขอบ" มีให้เห็นหลายแห่ง นอกจากนั้นเนื้อพระองค์นี้มีอายุ แบบที่เราเรียกกันว่าเนื้อจัด มีมวลสารเม็ดดำ แดง เนื้อพระหนึกนุ่ม ค่อนข้างสะอาด มีอายุ เป็นเครื่องยืนยันว่าเป็นพระที่มีอายุ ทันยุคของหลวงปู่ภูได้สบายๆ(อายุได้) วัดอินทรวิหาร สถานที่สำคัญเเห่งการกำเนิดพระเครื่องของหลวงปู่ภู เเต่เดิมวัดนี้ชื่อว่า วัดอินทาราม หรือ วัดบางขุนพรหมนอก การสร้างพระเครื่องของท่านมีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ยิด แขนหักศอก พิมพ์แซยิดแขนกลม พิมพ์เจ็ดชั้น พิมพ์หูติ่ง พิมพ์แปดชั้นแขนหักศอก พิมพ์แปดชั้นแขนกลม พิมพ์สามชั้นหูบายศรี พิมพ์ลีลา พิมพ์ปิดตา พิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งมีทั้งแบบข้างเม็ดและพิมพ์ห้าเหลี่ยม พิมพ์ไสยาสน์ และพิมพ์ห้าเหลี่ยม เป็นต้น การจำแนกพิมพ์ จากการที่พระหลวงปู่ภู เป็นพระที่มีการสร้างหลายแบบ ดังที่กล่าวมาแล้ว จึงทำให้ยากต่อการกำหนดพิมพ์ที่สร้างขึ้นมาให้แน่นอนลงตัวได้ คงจะพอจำแนกพิมพ์ที่เป็นที่นิยมเล่นหากันจริงๆ เท่านั้น เพื่อเป็นสังเขปต่อการศึกษา จดจำพิมพ์ทรงเนื้อหาพระจะมีความคล้ายคลึงกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต มีส่วนผสมของผงวิเศษหลายอย่างทั้งปูนหอย กล้วยหอม เกสรดอกไม้ต่างๆว่านต่างๆเนื่องจากพระเครื่องของท่านที่สร้างขึ้นมาไม่พร้อม กันทุกพิมพ์เนื้อจึงเเตกต่างกันมากก็มี เนื้อใกล้เคียงกันก็มีหลายพิมพ์ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments