สมเด็จว่านชานหมาก(ว่านอุดมมงคล) ปี2538 ญาท่านสวน วัดนาอุดม-wison - webpra
VIP
สมัครเล่นครับ เรียนรู้จากของแท้เท่านั้น

หมวด พระเกจิภาคอีสานเหนือ

สมเด็จว่านชานหมาก(ว่านอุดมมงคล) ปี2538 ญาท่านสวน วัดนาอุดม

สมเด็จว่านชานหมาก(ว่านอุดมมงคล) ปี2538 ญาท่านสวน วัดนาอุดม - 1สมเด็จว่านชานหมาก(ว่านอุดมมงคล) ปี2538 ญาท่านสวน วัดนาอุดม - 2สมเด็จว่านชานหมาก(ว่านอุดมมงคล) ปี2538 ญาท่านสวน วัดนาอุดม - 3สมเด็จว่านชานหมาก(ว่านอุดมมงคล) ปี2538 ญาท่านสวน วัดนาอุดม - 4สมเด็จว่านชานหมาก(ว่านอุดมมงคล) ปี2538 ญาท่านสวน วัดนาอุดม - 5
ชื่อร้านค้า wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง สมเด็จว่านชานหมาก(ว่านอุดมมงคล) ปี2538 ญาท่านสวน วัดนาอุดม
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานเหนือ
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 0819460502
อีเมล์ติดต่อ wison41505@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 22 ธ.ค. 2552 - 21:38.13
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 10 พ.ค. 2553 - 09:11.16
รายละเอียด
สมเด็จว่านชานหมาก(ว่านอุดมมงคล) ปี2538 ญาท่านสวน วัดนาอุดม
สภาพไม่สวย แต่เข้มขลังในพุทธคุณ เพราะ..........
หลวงปู่ปลุกเสกนานมากถึง ๙ ปี(๓๘-๔๖) หายากมากๆในขณะนี้ พุทธคุณสุดๆครับ
องค์นี้พิเศษเก่าได้ยุค มวลสารจัดมีพระธาตุขึ้นแล้ว

พระอาจารย์ชิง ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดไตรมิตร อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า..
.... ท่าน(พระอาจารย์ชิง) ได้นำพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ รุ่นปฐวีธาตุ ไปให้หลวงปู่ญาท่านสวนปลุกเสกให้ หลังจากพูดคุยกันสักพักพระอาจารย์ชิง จึงได้นำพระทั้งหมดมาจัดวางไว้ตรงหน้าหลวงปู่ญาท่านสวน พร้อมโยงด้ายสายสิญจน์มาให้หลวงปู่ญาท่านสวน
เมื่อ หลวงปู่ฯได้รับสายสิญจน์แล้วท่านจึงมองมาที่วัตถุมงคลทั้งหมดแล้วค่อยๆเข้า สู่สมาธิ พระอาจารย์ชิงเล่าว่า หลวงปู่ญาท่านสวนท่านนั่งนิ่งมาก นิ่งจนขนาดที่ทำให้พระอาจารย์ชิงอยากรู้ว่าหลวงปู่ท่านปลุกเสกอย่างไร
พระ อาจารย์ชิงท่านจึงได้เข้าสมาธิเอาจิตตามเข้าไปดูว่าท่านปลุกเสกอย่างไร แต่ยังไม่ทันได้เข้าไปก็โดนรัศมีของหลวงปู่ญาท่านสวนเหวี่ยงกระเด็นออกมา ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอขมาและขออนุญาตเข้าไปดูใหม่ ก็สามารถดูได้

“............. อาตมา ได้เห็นลำแสงพวยพุ่งออกจากฝ่ามือของท่าน แล้ววิ่งไปตามเส้นด้ายสายสิญจน์ สว่างเหมือนลำแสงของหลอดไฟนีออนและวิ่งไปสปาร์คที่กองพระกริ่งพระชัยวัฒน์ เกิดเป็นแสงสว่างไสวมากและคุมอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานานเกือบครึ่งชั่วโมง ......”

หลังเสร็จสิ้นการอธิษฐานจิต หลวงปู่ญาท่านสวนได้มองเล็งมายังท่านพร้อมกับอมยิ้มแล้วพูดกับท่านว่า
“เป็นพระหนุ่มนี่ ใจร้อนเน๊อะ...”

พระอาจารย์ชิง ท่านได้แต่ยิ้มรับและยังไม่ทันที่จะได้ตอบอะไร หลวงปู่ญาท่านสวนท่านได้พูดกระแทกตรงใจท่านอีกว่า
“ถ้าอยากทำเป็น ก็หมั่นฝึกเอาทำเอา ไม่นานเดี๋ยวก็เป็นเอง..”

หลวงปู่ญาท่านสวน ฉันทโร วัดนาอุดม
ศิษย์เอกพระอาจารย์กัมมัฏฐานแพง วัดสิงหาญ จ.อุบล ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

ท่านมีนามเดิมว่า “สวน แสงเขียว” เกิดเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2453
ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ
ที่บ้านนาทม ต.คำหว้า อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี
บิดาชื่อ “คูณ” เป็นชาวบ้านสำโรง มารดาชื่อ “ผุย”
เป็นชาวบ้านนาทม ประกอบอาชีพทำนา มีพี่น้องท้องเดียวกันรวม 8 คน
ชีวิตตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่นเป็นผู้ที่มีจิตใจสุขุมเยือกเย็น มีใจโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนฝูง
และมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากกว่าคนรุ่นราวคราวเดียวกัน
เมื่ออายุครบ 20 ปีได้ขอบิดามารดาเข้าอุปสมบทที่วัดนาอุดม (บ้านนาทม) อ.ตาลสุม เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2473
โดยมีเจ้าอธิการพรหมมา วัดบ้านระเว ต.ทรายมูล (ปัจจุบัน ต.ระเว) อ.พิบูลมังสาหาร เป็นพระอุปัชฌาย์
พระดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า “ฉนฺทโร”
เมื่ออุปสมบทแล้วได้เรียนสวดมนต์และปาติโมกข์อยู่ในสำนักของเจ้าอธิการสวน เจ้าอาวาสวัดนาอุดมในขณะนั้น
ประมาณ 3 ปีจึงย้ายไปศึกษาต่อเพิ่มเติมที่วัดบ้านนาหว้า อ.ตาลสุม เป็นเวลา 3 เดือน
แล้วไปเรียนต่อที่วัดบ้านสำโรงใหญ่ ต.สำโรง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของโยมบิดา

ขณะนั้นมีอาจารย์หม่อน แสงเขียว เป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2478
ต่อมาปี พ.ศ.2480 อาจารย์หม่อนได้อาพาธด้วยโรคเหน็บชาและมรณภาพลง
พระแก้ว ธมฺมฐิติ ได้รับการแต่งตั้งให้ปกครองวัดสืบแทนเพราะมีอาวุโสที่สุด
ในช่วงนั้นหลวงปู่สวนได้ช่วยเหลือพระแก้วพัฒนาวัด สร้างศาลาการเปรียญขึ้น แต่ยังไม่สำเร็จพระแก้วได้ลาสิกขาเสียก่อน
ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสำโรงใหญ่แทน และได้สร้างศาลาจนเสร็จลุล่วง
ในปี พ.ศ.2517 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูอาทรพัฒนคุณ” ปี พ.ศ.2525
เลื่อนสมณศักดิ์จากเจ้าคณะตำบลชั้นตรี เป็นชั้นโท ในราชทินนามเดิม

ในด้านพระเวทวิทยาคมนั้นได้ร่ำเรียนมาจากสำเร็จลุน และญาท่านกรรมฐานแพง อดีตเกจิอาจารย์จอมขมังเวทย์แห่งลุ่มน้ำโขง
โดยท่านได้มองการณ์ไกลไปข้างหน้าว่า พระเวทวิทยาคมที่ท่านศึกษาอยู่นี้จะเป็นประโยชน์มากแก่การทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา
และจะได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยมและผู้เดือดร้อนในอนาคต
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านมีความขยันหมั่นเพียรศึกษาทางด้านการเจริญสามธิเพิ่มพูนพลัง จิต ควบคู่กับการเรียนวิชาอาคมต่างๆ
ส่งผลให้ท่านมีความจำแม่นยำเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีการทดสอบจากผู้เป็นอาจารย์จนเป็นที่พอใจ
โดยเฉพาะญาท่านกรรมฐานแพง ได้มีเมตตาถ่ายทอดสุดยอดวิชาและเคล็ดลับต่างๆ ให้ท่านจนหมดสิ้น
ทั้งนี้ วิชาที่ท่านได้ศึกษากับ 2 ปรมาจารย์ดังคือ การสร้างเครื่องรางของขลังต่างๆ
เช่น การลงตะกรุด เท่าที่รวบรวมได้มีดังนี้ ตะกรุด 5 กษัตริย์ มีผลทางมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพัน
,ตะกรุดสายรกพระพุทธเจ้า,ตะกรุดโทน,ตะกรุดกับระเบิด,ตะกรุดอุปคุต,ตะกรุดสาลิกาตอมเหว่
,ตะกรุดหนังกลองแตก เป็นสุดยอดของตะกรุดเมตตา,ตะกรุดไก่ขึ้นรถลงรา (มีผลทางด้านเมตตาค้าขายดีนักแล)
,ตะกรุดเข้าตา ทำจากเงินปากผีเผาวันอังคาร ใส่เข้าใต้เปลือกตาได้เพราะมีขนาดเล็กมาก,ตะกรุดคลอดลูกง่าย
นอกจากนี้ ยังมีวิชาการทำผ้ายันต์ เสื้อยันต์ การสร้างลูกปะคำโทน(ลูกอม)
สร้างรูปนางกวัก,ปลัดขิก,ราหูอมจันทร์,สีผึ้งมหาเสน่ห์,วิชาการเรียกสูตร ลบผงอิทธิเจ ผงปถมัง และผงวิเศษอื่นๆ
,การทำน้ำพระพุทธมนต์ซึ่งมีเคล็ดลับพิสดารมากมาย,วิชาหมากินใจ (หมากินความคิด) เป็นสุดยอดแห่งวิชาเมตตาอีกวิชาหนึ่ง
และอีกหนึ่งวิชานั่นคือ “การฝังเข็มดำ” ซึ่งเป็นวิชาสุดยอดทางด้านคงกระพัน ป้องกันศาสตราวุธต่างๆ
ซึ่งน้อยคนนักที่จะมีวาสนาได้เรียนและเรียนได้สำเร็จ
ญาท่านสวนเป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาบารมี บุ.ลักษณะของท่านน่าเลื่อมใสศรัทธา
ใบหน้าเอิบอิ่มยิ้มแย้ม ใครมีทุกข์มาหาจะไม่เคยปฏิเสธ และไม่เลือกชนชั้นวรรณะ
อีกทั้งยึดมั่นเคารพในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีศีลาจารวัตรงดงาม
ชอบบำเพ็ญกุศล ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
ให้ความเป็นธรรมแก่ศิษยานุศิษย์เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ภิกษุสามเณรถือปรนิบัติตาม
จึงทำให้มีลูกศิษย์จำนวนมาก และปรากฏผลงานการสร้างสรรค์ของท่านอยู่ในหลายสถานที่
สำหรับเรื่องพุทธคุณดีทั้งทางเมตตาค้าขาย และแคล้วคลาดปลอดภัย ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ลูกหาประสบกันมาอย่างน่าอัศจรรย์

เมื่อคราวที่หลวงปู่ญาท่านสวน ฉันทโร ได้รับกิจนิมนต์ไปร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคล
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
เมื่อถึงกำหนดเวลา เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปกราบนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทุกรูป โดยมีหลวงปู่ญาท่านสวนนั่งอยู่ด้านหน้า
เจ้า หน้าที่ได้เดินนำหลวงปู่เข้าไปในพระอุโบสถ พระรูปที่สองที่เดินตามท่านมาก็คือ หลวงปู่ทิม อัตตสันโต วัดพระขาว จ.อยุธยา ซึ่งท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติปฏิบัติชอบที่ได้รับการกล่าวขานจาก ศานุศิษย์ว่าท่านเป็น "เทพเจ้าแห่งความเมตตา"
เจ้าหน้าที่ได้จัดอาสนะสำหรับพระที่มาร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกที่ระเบียงด้านขวา
เมื่อหลวงปู่ญาท่านสวนเดินไปถึงและเจ้าหน้าที่ได้กราบนิมนต์ท่านนั่งหัวแถวรูปแรก
แต่ท่านไม่ยอมขึ้น เจ้าหน้าที่กราบนิมนต์ท่านขึ้นนั่ง ๓-๔ ครั้ง ท่านก็ไม่ยอมขึ้น ท่านยืนรอหลวงปู่ทิม ที่เดินตามท่านมา
เมื่อหลวงปู่ทิมเดินมาถึง หลวงปู่ญาท่านสวนจึงได้นิมนต์หลวงปู่ทิมขึ้นนั่งหัวแถวก่อน...
ส่วนหลวงปู่ทิมท่านก็ไม่ยอมขึ้นนั่ง.. ท่านนิมนต์ให้หลวงปู่ญาท่านสวนขึ้นก่อน...
ต่างคนต่างยิ้มให้เกียรติกันและกัน จนในที่สุดหลวงปู่ญาท่านสวนท่านจึงจำใจขึ้นนั่งก่อนและตามด้วยหลวงปู่ทิมเป็นรูปที่สอง
หลัง จากเสร็จพิธีมหาพุทธาภิเษก ลูกศิษย์ชาวกรุงเทพฯ ได้พากันถามหลวงปู่ทิมว่า "ทำไมหลวงปู่ไม่ขึ้นไปนั่งก่อน..ทำไมถึงให้หลวงปู่รูปนั้นขึ้นไปนั่งก่อน หลวงปู่ ...ไม่รู้ว่าอยู่วัดไหน...พวกกระผมไม่เคยเห็นและไม่เคยรู้จัก"
หลวงปู่ทิมได้เมตตาตอบลูกศิษย์ของท่านว่า " จะให้เราไปนั่งก่อนพระอรหันต์ได้อย่างไรล่ะ ก็ต้องให้ท่านขี้นนั่งก่อนสิ"
บัด นี้ลูกศิษย์พวกนั้น คงจะได้ทราบชื่อหลวงปู่รูปนั้นแล้วว่าท่านคือ "หลวงปู่ญาท่านสวน ฉันทโร" แห่งวัดนาอุดม อำเภอตาลสุม จ.อุบลราชธานี แล้วกระมัง...

วันที่ 14 มี.ค. 2549 วงการสงฆ์เมืองอุบลราชธานีได้สูญเสียพระครูอาทรพัฒนคุณ
หรือที่เรียกขานกันว่า “ญาท่านสวน ฉนฺทโร” เจ้าอาวาสวัดนาอุดม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี
ท่านมรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อเวลาประมาณ 6 โมงเช้า สิริอายุได้ 95 ปี
หลวงปู่เกลี้ยง วัดโนนแกดท่านกล่าวว่า “ตอนนี้ท่านได้เป็นพระอรหันต์แล้วนะ”
แม้แต่เส้นเกศาหรือชานหมาก เมื่อตอนท่านยังไม่ละสังขารก็ยังกลายเป็นพระธาตุ
ท่านเป็นศิษย์สายสำเร็จลุน และญาท่านกรรมฐานแพง 2 ปรมาจารย์ผู้มีพลังจิตอันลึกล้ำ
มีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย เป็นที่เลื่องลือแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือแถบลุ่มแม่น้ำโขงในอดีต

ขอบคุณข้อมูลจาก เซียนย่ามขาว : http://apichoke.com/index.php?topic=6538.0

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top