เหรียญพระพุทธชินราช วัดสุทัศนฯ รุุ่น อินโดจีน พิมพ์สระจุด เนื้อทองแดง ปี2485-ล้านมาแชร์ - webpra
VIP
ล้านมาแชร์ มาโชว์ มาแชร์พระแท้ เพราะ เงินของท่านแท้ พระต้องแท้

หมวด พระพุทธชินราช ทุกรุ่น

เหรียญพระพุทธชินราช วัดสุทัศนฯ รุุ่น อินโดจีน พิมพ์สระจุด เนื้อทองแดง ปี2485

เหรียญพระพุทธชินราช วัดสุทัศนฯ รุุ่น อินโดจีน พิมพ์สระจุด เนื้อทองแดง ปี2485 - 1เหรียญพระพุทธชินราช วัดสุทัศนฯ รุุ่น อินโดจีน พิมพ์สระจุด เนื้อทองแดง ปี2485 - 2เหรียญพระพุทธชินราช วัดสุทัศนฯ รุุ่น อินโดจีน พิมพ์สระจุด เนื้อทองแดง ปี2485 - 3
ชื่อร้านค้า ล้านมาแชร์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญพระพุทธชินราช วัดสุทัศนฯ รุุ่น อินโดจีน พิมพ์สระจุด เนื้อทองแดง ปี2485
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระพุทธชินราช ทุกรุ่น
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ Line ID: weep9019 เบอร์โทรศัพท์ 099-2542365
อีเมล์ติดต่อ weep293@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 12 ธ.ค. 2556 - 16:39.35
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 01 ก.ค. 2563 - 16:52.10
รายละเอียด
ประเทศไทยประสพปัญหาทางด้านการเมืองซึ่งหลังจากปัญหาต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้วจึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า " พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย " ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคม กับยุวพุทธสาสนิกสมาคม ช่วงนั้นพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยมี พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกสมาคมฯปรารภที่จะสร้างรูปหล่อพระพุทธชินราชขึ้นแต่ยังติดขัดเรื่องภาวการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศจึงยังไม่ได้ดำเนินการสร้าง


ล่วงถึง ปี พ.ศ. 2485ภายหลังสถานการณ์กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสคลี่คลายลงพร้อมสงครามโลกครั้งที่2กำลังเริ่มขึ้นจึงได้มีโอกาสเริ่มดำเนินการจัดสร้างตามความประสงค์จนสำเร็จลุล่วงลงในที่สุดกระนั้นยังคงนิยมเรียกพระพุทธชินราช รุ่นนี้ว่ารุ่นอินโดจีน อยู่ดีตามสถานการณ์ช่วงปรารภจัดสร้างจึงเป็นที่มาของชื่อรุ่นไปโดยปริยายกระทั่งปัจจุบัน

พระพุทธ ชินราชรุ่นอินโดจีนนี้เริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างเนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราวปี พ.ศ.2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงครามและให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชาต่อมาในปีพ.ศ.2485 สงคราม โลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีนขึ้นในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลกแต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททองให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์แทนเนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลกกำลังคุกรุ่นและประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 จึงไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธีจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่มายังวัดสุทัศน์ แทน กำหนดการทำพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น5 ค่ำ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยมี สมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และ ท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ เป็นผู้ดำเนินงานทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัยและได้มอบหมายให้ช่างอีกหลายโรงงานรับช่วงไปดำเนินงานต่อจนเสร็จ
สถานที่ จัดสร้างพระพุทธชินราช จัดพิธีการสร้างขึ้นที่วัดสุทัศน์และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ในวันที่ 21 มีนาคม เสาร์ 5 (วันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำเดือน 5) ปี พ.ศ. 2485 ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากรโดยมีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นองค์ประธานและท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ

ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำราการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ทุกประการนอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่งจึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่งซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยพระเกจิอาจารย์108 รูป ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศเลยทีเดียว พระพุทธชินราชอินโดจีนลอยองค์ปี 2485 แบบตอกโค๊ด พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ(ปีพ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ)เป็นองค์ประธานและท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับของการสร้างพระกริ่ง-พระชัยของวัดสุทัศน์นี้แล้วยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วยจึงนับได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราชเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง


พระชินราชอินโดจีนจากลักษณะพิมพ์ทรงองค์พระที่ปรากฎ สามารถคาดเดาได้ว่ามีหลายกลุ่มฝีมือช่างซึ่งโรงงานที่รับช่วงงานไปทำ มีอยู่สองแหล่งใหญ่ๆ คือ แถวบ้านช่างหล่อ และแถวเสาชิงช้า ดังนั้นพระที่ได้จึงปรากฎความแตกต่างให้เห็นตามกลุ่มฝีมือช่าง ในกลุ่มพิมพ์ต่างๆ

พ.ศ. 2516 พระชินราชอินโดจีนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับทำให้มีผู้แสวงหากันเป็นจำนวนมากทางพุทธสมาคมฯจึงนำพระที่เก็บรักษาไว้ออกให้ประชาชนทั่วไปเช่าบูชาแต่เป็นพระที่ไม่มีการตอกโค๊ดส่วนใหญ่เป็นพระพิมพ์ต้อซึ่งพระที่เปิดให้เช่าครั้งนี้นิยมเรียกว่า รุ่นตกค้างกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2526 พระจึงได้หมดลง

โดยมีราชนามพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก 108 องค์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้

1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์
2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์
3. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
8. หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
10. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
65. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี
75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)




(นะโม 3 จบ) กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสา วา เทวะนะคะเร จักกิวังสัสสะ ปัญจะมะมะหาราเชนะ ชินะราชะพุทธะรูปัง กะตัง นะมามิหัง (3 จบ)

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top