เหรียญหล่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เนื้อทองเหลือง ปี 2487 พิมพ์ใบมะยม หายาก-ล้านมาแชร์ - webpra
ล้านมาแชร์ มาโชว์ มาแชร์พระแท้ เพราะ เงินของท่านแท้ พระต้องแท้

หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

เหรียญหล่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เนื้อทองเหลือง ปี 2487 พิมพ์ใบมะยม หายาก

เหรียญหล่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เนื้อทองเหลือง ปี 2487 พิมพ์ใบมะยม หายาก - 1เหรียญหล่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เนื้อทองเหลือง ปี 2487 พิมพ์ใบมะยม หายาก - 2เหรียญหล่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เนื้อทองเหลือง ปี 2487 พิมพ์ใบมะยม หายาก - 3
ชื่อร้านค้า ล้านมาแชร์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหล่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เนื้อทองเหลือง ปี 2487 พิมพ์ใบมะยม หายาก
อายุพระเครื่อง 82 ปี
หมวดพระ พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
ราคาเช่า 3,800 บาท
เบอร์โทรติดต่อ Line ID: weep9019 เบอร์โทรศัพท์ 099-2542365
อีเมล์ติดต่อ weep293@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 11 ต.ค. 2567 - 04:30.20
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 22 ต.ค. 2567 - 08:21.29
รายละเอียด
เหรียญหล่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เนื้อทองเหลือง ปี 2487 พิมพ์ใบมะยม หายาก! + บัตรรับรอง G-Pra

มูลเหตุที่ท่านเจ้าคุณโชติจัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ นั้นสืบเนื่องจากในราวปี 2472 จังหวัดนครปฐมเกิดฝนแล้งไปทั่วจังหวัด ขณะนั้นท่านมีสมณศักดิ์ที่พระเทพสุธี จึงได้จัดสร้างพระพุทธรูปพระคันธารราษฎร์ ปางขอฝนขนาดบูชาขึ้นจำนวน 150 องค์ แจกจ่ายไปยังวัดต่างๆ ทั่วจังหวัด วัดละองค์ เพื่อนำออกมาทำพิธีบวงสรวงในยามที่เกิดฝนแล้ง หรือข้าวยากหมากแพง พร้อมกับจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญหล่อพระคันธารราษฎร์รูปใบเสมา , เหรียญหล่อพระคันธารราษฎร์ใบมะยม และเหรียญหล่อรูปเหมือนของท่านขึ้นในคราวเดียวกันขณะดำรงสมณศักดิ์พระธรรมวโรดม

เหรียญหล่อโบราณนามว่า "เหรียญหล่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ใบมะยม หรือใบมะยมข้างเม็ด" เจ้าคุณธรรมวโรดม (โชติ) ได้จัดทำพิธีพุทธาภิเษกและเทหล่อบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์จำนวน 3 ครั้ง ด้วยกัน ดังนี้

- ครั้งแรก เทหล่อพระและพุทธาภิเษกเมื่อพ.ศ.2484 กระแสเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองแดง รูปเหรียญเป็นรูปใบมะยม มีไข่ปลาโดยรอบขอบเหรียญ เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ ยกพระหัตถ์ขวาขึ้น ประทับอยู่บนดอกบัวกลีบสองชั้น ซึ่งพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาตินี้ได้จำลองแบบมาจากพระร่วงโรจนฤทธิ์ที่ประดิษฐานที่ด้านข้างองค์พระปฐมเจดีย์ ด้านหลังเหรียญมีอักษรขอม อ่านว่า “อะ ระ หัง พุท โธ” ขนาดของเหรียญสูง 4 เซนติเมตร กว้าง 1.9 เซนติเมตร หนา 0.1 เซนติเมตร

- ครั้งที่สอง จัดพิธีเทหล่อพระและพุทธาภิเษก เมื่อพ.ศ.2485 เนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองเหลือง รูปลักษณะเหรียญและขนาดเดียวกันกับเหรียญที่สร้างในครั้งแรก ส่วนด้านหลังเหรียญเป็นรูปองค์พระปฐมเจดีย์

- ครั้งที่สาม จัดพิธีเทหล่อพระและพุทธาภิเษกเมื่อพ.ศ.2487 รูปแบบเหรียญมี 2 แบบ คือ แบบพิมพ์ใหญ่ และแบบพิมพ์เล็ก

แบบพิมพ์ใหญ่ รูปแบบและเนื้อโลหะเช่นเดียวกันกับที่สร้างในครั้งที่สอง เพียงแต่ด้านหลังเหรียญเพิ่มข้อความใต้องค์พระปฐมเจดีย์ ว่า “พระปถมเจดีย์” **และพิมพ์พิเศษพระร่วงโรจนฤทธิ์แบบสองหน้า** ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมที่หายาก

แบบพิมพ์เล็ก มีลักษณะรูปแบบและเนื้อเหมือนพิมพ์ใหญ่ แต่มีขนาดเหรียญเล็กกว่า มีความสูงของเหรียญ 2 เซนติเมตร กว้าง 1.4 เซนติเมตร หนา 0.1 เซนติมเตร เหรียญพิมพ์เล็กนี้สร้างจำนวนน้อยมาก

พระคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกพระร่วงใบมะยมครั้งแรก พ.ศ.2484 มีจำนวนมากดังต่อไปนี้
1. หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม จ.สมุทรสงคราม
2. หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ. นครปฐม
3. พระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้วยจรเข้ จ.นครปฐม
4. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง จ.นครปฐม
5. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
6. หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม
7. หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
8. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
9. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
10. หลวงพ่อวงศ์ วัดทุ่งผักกูด จ.นครปฐม
11. หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม

ส่วนคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 2 พ.ศ.2485 และครั้งที่ 3 พ.ศ.2487 น่าจะเป็นคณาจารย์ชุดเดียวกับครั้งแรก ขาดหายไปเฉพาะเพียงบางรูปที่อาพาธ

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า "พระร่วงใบมะยม หรือ ใบมะยมข้างเม็ด" เป็นพระเครื่องที่มีพุทธานุภาพสูง เมื่อพิจารณาพิธีกรรมในการจัดสร้าง มีการดำเนินการอย่างถูกต้องตามโบราณกาล มีพิธีเทหล่อพระที่วัด อีกทั้งส่วนผสมผสานที่ใช้ในการหล่อหลอมเป็นองค์พระนั้นยังประกอบด้วยแผ่นยันต์ของพระคณาจารย์ ทองชนวนของวัดอื่นที่นำมามอบให้ หรือโลหะจากพระพุทธรูปโบราณเป็นส่วนผสม สถานที่ประกอบพิธีกรรม และคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก รวมถึงมูลเหตุของการสร้าง กล่าวคือเจตนาของผู้สร้างดีและบริสุทธิ์ (มิได้สร้างเพื่อประโยชน์ส่วนตัว)

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top