หมวด พระเกจิสายนครปฐม
พระขุนแผนหน้าตะโพน หลวงพ่อแช่ม อินทสโร วัดตาก้อง นครปฐม 2470
ชื่อร้านค้า | ล้านมาแชร์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระขุนแผนหน้าตะโพน หลวงพ่อแช่ม อินทสโร วัดตาก้อง นครปฐม 2470 |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิสายนครปฐม |
ราคาเช่า | 4,500 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | Line ID: weep9019 เบอร์โทรศัพท์ 099-2542365 |
อีเมล์ติดต่อ | weep293@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 12 มิ.ย. 2565 - 09:26.24 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 23 ก.ค. 2565 - 08:05.55 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระขุนแผนหน้าตะโพน หลวงพ่อแช่ม อินทสโร วัดตาก้อง นครปฐม 2470 พระขุนแผนหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จัดเป็นพระที่น่าใช้มาก ที่มาชัดเจน เพียงแต่สร้างจำนวนมาก แต่ถ้าเป็นพิมพ์ใหญ่หนาแบบองค์นี้จะไม่มีให้พบเห็นได้บ่อยๆ สมควรเก็บไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง พระขุนแผนหลวงพ่อแช่มรุ่นนี้พิมพ์ทรง เนื้อหา วรรณะเป็นเอกลักษณ์ ด้านหลังปั๊มโค๊ต สภาพสวยมาก คมชัดลึก ประสบการณ์เป็นเอกด้านเมตตา มหานิยม ว่ากันว่า เพราะดินหน้าตะโพนติดอยู่หน้ากลองอันเป็นเครื่องดนตรีที่เสียงดังที่สุด จึงเหมาะแก่ผู้ที่ต้องการมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รักเมตตาของมหาชนจำนวนมากๆ เช่นนักแสดง นักการเมือง แม้แต่พ่อค้าแม่ค้า ก็จะทำให้ค้าขายดีเป็นเทน้ำเทท่าไปด้วย วัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่มที่ท่านสร้างและปลุกเสกนั้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรล้วนแต่มีประสบการณ์กับผู้ใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งไม่ใช่เป็นเพราะว่า ท่านเก่งทางคาถาอาคมอย่างเดียว แต่ท่านยังมีอำนาจทางพลังจิตสูงด้วย เล่ากันว่า หลวงพ่อแช่มท่านสำเร็จ "กสิณ" ซึ่งผู้ใดที่สำเร็จกสิณจะสามารถแสดงฤทธิ์ได้แบบที่คนธรรมดาทำไม่ได้ ในเรื่องของวิชาอาคมหรือไสยศาสตร์นี้ ถ้าหากปราศจากพลังอำนาจทางจิต การนำเอาวิชาอาคม หรือไสยศาสตร์มาใช้ก็ไม่ได้ผล แต่สำหรับผู้ที่มีพลังอำนาจจิตแล้วจะสามารถนำเอาวิชาเหล่านี้มาใช้ได้ผลเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ตามที่ตำราบอกเอาไว้จริงๆ ในบรรดาวัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่มก็มี "พระขุนแผนดินหน้าตะโพน" อีกอย่างหนึ่งที่เป็นของดีน่าใช้ และราคาก็ไม่แพงด้วย แต่เมื่อดูถึงขั้นตอนของวิธีการสร้างแล้วพระขุนแผนดินหน้าตะโพนของหลวงพ่อ แช่มเป็นของดีที่ไม่อาจมองข้ามไปได้เลย เหตุที่เรียกพระเครื่องพิมพ์นำหน้าว่า "พระขุนแผน" นั้น ก็เนื่องมาจากหลวงพ่อแช่มท่านสร้างพิมพ์โดยเลียนแบบมาจาก "พระขุนแผนพิมพ์พลายเดี่ยว กรุวัดบ้านกร่าง จ. สุพรรณบุรี" แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ส่วนด้านหลังเป็นยันต์คล้ายตัว "อุณาโลม" กดเป็นร่องลึก ส่วนที่เรียก "ดินหน้าตะโพน" ตามหลังก็เนื่องมาจากว่า หลวงพ่อแช่มท่านนำเอาดินที่ปิดหน้ากลองตะโพนมาสร้าง "ตะโพน" เป็นกลองชนิดหนึ่ง มีลักษณะหัวสอบ ท้ายสอบ ขึงด้วยหนังทั้งสองข้าง มีขารอง ใช้ตีด้วยฝ่ามือ ที่หนังกลองทั้งสองข้างนิยมเอาดินละเอียดกับข้าวสุกมาคลุกให้เข้าด้วยกันแล้วปิดเอาไว้ ซึ่งจะทำให้เมื่อตีแล้วมีเสียงทุ้มไพเราะน่าฟัง ในการละเล่นสมัยก่อนจะมีกลองตะโพนเป็นเครื่องดนตรีประกอบเอาไว้ด้วยเสมอๆ สมัยก่อนดินที่นำมาผสมกับข้าวสุกเพื่อปิดหนังหน้ากลองตะโพนนั้น นิยมเอาไปให้อาจารย์ที่มีความรู้ทางวิชาอาคม ผสมของดีทางเมตตามหานิยม และปลุกเสกให้โดยเชื่อกันว่า เมื่อเอาดินผสมข้าวสุกและของดีและปลุกเสกแล้วมาปิดที่หนังหน้ากลองตะโพน เวลาตีจะทำให้มีเสียงไพเราะทำให้คนได้ยินได้ฟังเกิดความหลงใหล และอยากจะดูการละเล่นนั้นๆ เล่ากันว่า สมัยก่อนเมื่อมีการละเล่นจะต้องมีการบรรเลงเครื่องดนตรีเป็นการโหมโรงก่อน เสียงจากการโหมโรงซึ่งมีเสียงกลองตะโพนประกอบอยู่ด้วยนั้น เมื่อใครได้ยินแล้วจะร้อนรุ่มอยู่บ้านไม่ได้ต้องมาดูการละเล่นนั้นๆ หลวงพ่อแช่มท่านก็มีคนมาขอให้ท่านปลุกเสกดินที่จะนำไปติดที่หน้ากลองตะโพนอยู่เสมอๆ แม้แต่กลองตะโพนใบใหญ่ของวัดตาก้อง หลวงพ่อแช่มท่านก็เอาดินชนิดนี้ไปปิดที่หน้ากลองด้วย ซึ่งกลองใบนี้ทางวัดจะใช้ตีเวลาทางวัดมีงานหรือตรงกับวันพระ พอตีแล้วเสียงกลองนี้จะได้ยินไปไกล ชาวบ้านพอได้ยินเสียงกลองก็จะพากันมาทำบุญที่วัดกันหลายๆ คน แต่ดินที่ใช้ปิดหน้ากลองตะโพนนี้ เมื่อผ่านไปหลายๆ วันก็จะแห้งและแตกหลุดออกมาจะต้องทำใหม่ปิดอยู่เรื่อยๆ ซึ่งหลวงพ่อแช่มท่านก็รู้ถึงเคล็ดลับทางเมตตามหานิยมของดินหน้าตะโพนชนิดนี้ดี ครั้นเมื่อดินหน้าตะโพนแห้งต้องทำใหม่ ท่านก็จะเก็บของเก่าสะสมเอาไว้เรื่อยๆ จนมีจำนวนมากเพียงพอแล้ว จึงนำเอาดินหน้าตะโพนนั้นมาสร้างเป็นพระเครื่องพิมพ์ขุนแผนโดยหวังอานิสงส์ทางเมตตามหานิยมเป็นหลัก เมื่อได้ดินหน้าตะโพนมาจำนวนมากเพียงพอต่อการสร้างพระเครื่องแล้ว หลวงพ่อแช่มท่านยังได้นำเอามวลสารอีกหายอย่างผสมเข้าไปด้วย ซึ่งก็มี ผงวิเศษ ว่าน ดินอุดรูปู ดินตีนท่า ดินโป่ง ฯลฯ เมื่อคลุกเคล้าเนื้อหามวลสารจนเข้ากันดีแล้ว จึงกดพิมพ์เป็นพระเครื่องโดยมีลูกศิษย์หลายคนช่วยกันกด ระหว่างนั้นก็ตกอยู่ในราว ปี พ.ศ. 2470 กว่า ๆ ว่า ไปแล้วพระขุนแผนดินหน้าตะโพนของหลวงพ่อแช่มมีการสร้างก่อนเหรียญรูปเหมือนท่านตั้งหลายปี พระเครื่องชุดนี้เมื่อกดพิมพ์เสร็จแล้วก็ได้จำนวนพระเครื่องหลายองค์ คิดว่า เป็นหมื่นๆ องค์ เสร็จแล้วหลวงพ่อแช่มก็ปลุกเสกเดี่ยวก่อนนำแจก เนื่องจากจำนวนของพระเครื่องมีมาก จึงทำให้มีของเหลืออยู่ที่วัดอีกหลายปี เมื่อท่านมรณภาพไปแล้วของก็ยังเหลืออยู่ที่วัด แต่ปัจจุบันของได้กระจัดกระจายไปทั่ว หมดจากวัดนานแล้ว ลักษณะของพระขุนแผนดินหน้าตะโพนของหลวงพ่อแช่มนั้น จะทำพอเป็นรูปร่าง รายละเอียดไม่ค่อยลึก และคมชัดนัก หย่อนความสวยงามไปบ้าง สีสันวรรณะออกไปทางสีเทาเข้ม ส่วนของปลอมเท่าที่เห็นจะมีขนาดเล็กกว่าของแท้ และรายละเอียดก็จะยิ่งตื้นเบลอกว่าของแท้เสียอีก สีก็ค่อนข้างจาง ถ้าได้เห็นของแท้บ่อยๆ ก็สามารถแยกความแตกต่างได้ไม่ยาก พูดถึงประสบการณ์ของพระขุนแผนดินหน้าตะโพน หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เท่าที่ได้รับฟังมาคือ ดีทางเมตตามหานิยม และมหาเสน่ห์ เป็นหลัก และตามมาด้วยแคล้วคลาดกับคงกระพัน ประวัติของหลวงพ่อแช่มท่านเป็นลูกศิษย์ของ "หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก" ซึ่งหลวงพ่อทาท่านนี้ก็จัดว่า เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าทางกสิณ และวิทยาคมเป็นที่นับถือของคนนครปฐมแต่อดีตมาก นอกจากนี้หลวงพ่อแช่มท่านยังมีความนับถือ และชอบพอเป็นพิเศษกับ "หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว" แม้ว่าหลวงปู่บุญท่านจะมีฐานะเป็นเจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี ส่วนหลวงพ่อแช่มเป็นพระสงฆ์ที่อยู่ในการปกครองดูแลของหลวงปู่บุญ และมีอาวุโสอ่อนกว่าหลวงปู่บุญหลายปี แต่หลวงปู่บุญก็ยังนับถือในคุณวิเศษของหลวงพ่อแช่ม และได้เล่าถึงอภินิหารของหลวงพ่อแช่มให้ลูกศิษย์ท่านอื่นๆ ฟังเสมอๆ ..หลวงพ่อแช่มท่านเป็นพระสงฆ์ที่ค่อนข้างจะร้อนวิชาอยู่สักหน่อย ซึ่งพระสงฆ์ที่ร้อนวิชานี้เขาว่า มักจะแสดงวิชาหรือฤทธิ์ให้ชาวบ้านและลูกศิษย์เห็นอยู่เสมอๆ ตอนที่มีพิธีปลุกเสกเหรียญหล่อคันธารราษฎร์ของวัดพระปฐมเจีดย์เมื่อปี พ.ศ. 2472 หลวงพ่อแช่มก็ได้รับนิมนต์ร่วมปลุกเสกพร้อมกับพระเกจิอาจารย์อื่นๆ อีกหลายท่าน เมื่อเสร็จพิธีแล้วมีคนไปขอวัตถุมงคลจากพระเกจิอาจารย์ท่านต่างๆ ที่มาร่วมปลุกเสกกัน ซึ่งหลวงพ่อแช่มก็มีคนไปขอวัตถุมงคลจากท่านเช่นกัน เล่ากันว่า พอมีคนไปขอหลวงพ่อแช่ม ท่านจะเอาวัตถุมงคลโยนเข้าไปในกองไฟที่กำลังลุกโชน จากนั้นก็เอามือล้วงหยิบวัตถุมงคลจากกองไฟ ออกมาแจกให้โดยที่ไม่มีแสดงอาการปวดแสบร้อน และมือท่านก็ไม่โดนไฟลวกไหม้ด้วย ที่เล่ากันมากคือว่า ท่านสามารถย่นระยะทางได้ สำหรับเรื่องการย่นระยะทางของหลวงพ่อแช่มเป็นเรื่องที่มีการเล่าขานกันมากทีเดียว ศิษย์หลวงพ่อแช่ม นอกจากหลวงพ่อเต๋ คงทอง ยังมีหลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร อ.เมือง นครปฐม ซึ่งท่านสืบทอดวิชามามาก ทำกุมารทอง รักยม นางกวัก ตะกรุด สีผึ้ง ตำรวจนครปฐม นับถือมาก หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ช่วงที่เดินธุดงค์ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ได้พบกับหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อแช่มได้ถ่ายทอดวิชาบางประการให้แก่หลวงพ่อแดงครับ แต่ไม่ค่อยเป็นที่ทราบกันเท่าไหร่ นอกจากใครไปอ่านประวัติของหลวงพ่อแดง แล้วจะเจอ หลวงพ่อแช่มเป็นชาวตาก้องโดยกำเนิด เกิดประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยท่านเองก็จำไม่ได้ว่าเกิดวันเดือนอะไร เป็นบุตรนายกลัด แม่ชื่อนางเหม ท่านมักจะตอบญาติโยมที่ถามถึงอายุว่า “ เกือบร้อย ” เมื่ออุปสมบทได้ศึกษาวิชาความรู้ชั้นสูงทั้งพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน คาถาอาคมกับเกจิชื่อดังยุคนั้นหลายท่าน เช่น ทำผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ และ ผงปถมัง กับพระครูปริมานุรักษ์ (คด ) วัดริมจวน จ. นครปฐม ด้านคงกระพันชาตรีกับพระอาจารย์จันทร์ วัดพระงาม ด้านมหาอุด และแคล้วคลาดกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ. สุพรรณบุรี หลวง พ่อแช่ม อินทโชโต พระเกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อีกรูปหนึ่งที่เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้-ไกล ท่านเป็นผู้ทรงวิทยาคมและพุทธาคมเป็นเลิศ เจ้าของฉายาว่า "เหรียญปืนไขว้" เป็นพระเกจิอาจารย์สมัยเดียวกับพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายๆ รูป อาทิ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อจาด หลวงพ่อจง หลวงพ่อคง หลวงพ่ออี๋ และพระครูบาศรีวิชัย เป็นต้น ตั้งแต่เยาว์วัยได้ศึกษาร่ำเรียนอักขระทั้งภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอาจารย์จ้อย วัดดอนเจดีย์ ผู้เรืองวิทยาคม พระอาจารย์เห็นถึงคุณวิเศษและความใฝ่ใจของหลวงพ่อแช่ม จึงประสิทธิ์ประสาทวิทยาการด้านพุทธเวทพร้อมเคล็ดลับต่างๆ ให้โดยไม่ปิดบัง ซึ่งท่านก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างแตกฉาน ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ท่านจึงเดินทางกลับมาอุปสมบท ณ บ้านเกิด ที่วัดตาก้อง ได้รับฉายา "อินทโชโต" มุ่ง มั่นศึกษาด้านคันถธุระ วิปัสสนาธุระ และฝึกฝนวิทยาการที่ได้ร่ำเรียนมาจนเกิดความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ ยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมจากพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของ จ.นครปฐม ในสมัยนั้นอีกด้วย อาทิ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ฯลฯ จนเป็นที่กล่าวขวัญเลื่องลือกันว่าท่านสำเร็จกสิณถึงขั้นอภิญญาทีเดียว ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.๒๔๙๐ สิริอายุ ๘๖ ปี พรรษา ๖๖ คาถากำกับคือ อุทิสะ วิยะ ปิอะยะ ตัญจะ กะโลถะ วิถะ ตัญจะ อะปิตัญจะ สุวิตัญจะ สุปะวายิตัญจะ สุวิเลขขิตัญจะ สุวิตัจฉิตัญจะ กะโลถะ สะหับอุต สะหับอัด อัปเปนามะมะ อะยัมปิดปิด จะ อิมัสมิง |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments