หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระขุนแผนพลายคู่ตัดเดี่ยว พิมพ์หน้ามงคลจิ๋ว กรุวัดบ้านกร่าง
ชื่อร้านค้า | ล้านมาแชร์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระขุนแผนพลายคู่ตัดเดี่ยว พิมพ์หน้ามงคลจิ๋ว กรุวัดบ้านกร่าง |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง |
ราคาเช่า | 16,000 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | Line ID: weep9019 เบอร์โทรศัพท์ 099-2542365 |
อีเมล์ติดต่อ | weep293@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 11 มี.ค. 2565 - 17:09.03 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 17 มี.ค. 2565 - 03:30.46 |
รายละเอียด | |
---|---|
พิมพ์นี้หายากสุดครับ วัดบ้านกร่าง อันเป็นแหล่งกำเนิด “พระขุนแผน กรุบ้านกร่าง” อัน เลื่องชื่อนี้ ตั้งอยู่ที่ ตำบล ศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน หรือ แม่น้ำสุพรรณบุรี ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ วัดนี้เป็นวัดโบราณ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเครื่อง กรุวัดบ้านกร่าง แตกกรุจากเจดีย์หลังพระวิหารเก่าในบริเวณ วัดบ้านกร่าง เมื่อราว พ.ศ. 2447 มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนที่พระแตกกรุออกมาใหม่ๆ พวกพระสงฆ์และชาวบ้าน ได้นำพระทั้งหมด มากมายหลายพิมพ์ มาวางไว้ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้วิหาร เด็กวัดในสมัยนั้นได้นำ พระที่วางไว้มาเล่นร่อนแข่งขันกันในลำน้ำสุพรรณบุรี เป็นที่สนุกสนาน เนื่องจากว่า ในสมัยนั้น พระวัดบ้านกร่าง ยังไม่มีมูลค่า และ ความนิยมมากมายเหมือนดังเช่นปัจจุบัน ที่มาแห่งชื่อ “พระขุนแผน” ชื่อ ”พระขุนแผน” ทั้งของเมืองสุพรรณ หรือ ขุนแผน เมืองไหนก็ตาม เป็นการเรียกชื่อ พระของคนสมัยหลัง เพราะคนโบราณ สร้างพระพิมพ์ ไม่เคยพบหลักฐาน ว่ามีการตั้งชื่อพระเอาไว้ด้วย มีแต่คนรุ่นหลังที่ไปขุดพบพระพิมพ์เป็นผู้ตั้งชื่อให้ทั้งสิ้น พระกรุวัดบ้านกร่าง ก็เช่นเดียวกัน เมื่อแตกกรุใหม่ๆ ก็ไม่มีชื่อ คนสุพรรณบุรี ยุคนั้นเรียกกันเพียงว่า “พระวัดบ้านกร่าง” คือถ้าเป็นพระองค์เดียวก็เรียก “พระบ้านกร่างเดี่ยว” ถ้าเป็นพระ 2 องค์คู่ติดกันก็เรียก “พระบ้านกร่างคู่” ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อให้เป็น พระขุนแผน บ้าง พระพลายเดี่ยว บ้าง พระพลายคู่ บ้าง ที่มาของชื่อ พระพิมพ์ ขุนแผน เหล่านี้ เชื่อว่าคนตั้งชื่อคงต้องการให้คล้องจองกลมกลืน กับตัวละครในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ที่โด่งดัง อันมีถิ่นกำเนิดในย่านสุพรรณบุรี คำว่า พระบ้านกร่าง จึงค่อยๆ เลือนหายไป หรืออีกนัยหนึ่ง ชื่อของ พระขุนแผน อาจได้มาจากการที่มีผู้บูชากราบไหว้ หรือ อาราธนานำติดตัวไปไว้ป้องกันอุบัติภัย ต่างๆ แล้วได้ประจักษ์ ความศักดิ์สิทธิ์ ในอำนาจพุทธคุณ ที่มี่คุณวิเศษ เหมือน ขุนแผนในวรรณคดี โดยเฉพาะ ด้านเสน่ห์ เมตตามหานิยม อาจด้วยเหตุนี้ จึงเรียกขื่อว่า พระขุนแผนสืบมา การจำแนกพิมพ์ทรงพระกรุวัดบ้านกร่าง พระกรุวัดบ้านกร่าง เข้าใจว่ามีจำนวนถึง 84,000 องค์ตามคติการสร้าง พระพิมพ์ในสมัยโบราณ เมื่อพระแตกกรุขึ้นมาก็ได้มีผู้แยกแบบ แยกพิมพ์ต่างๆ ตามความแตกต่างของพุทธลักษณะ ซึ่งมีจำนวนกว่า 30 พิมพ์ขึ้นไป บางแบบ ก็เรียกว่า “พระขุนแผน” ซึ่งมีพิมพ์ยอดนิยม เช่น พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็ก พิมพ์ทรงพลใหญ่ พิมพ์ทรงพลเล็ก พิมพ์พระประธาน พิมพ์เถาวัลย์เลื้อย พิมพ์แขนอ่อน ฯลฯ บางแบบก็เรียกว่า “พระพลาย” อันหมายถึงลูกของขุนแผน ซึ่งมีทั้งที่พิมพ์เป็นคู่ติดกัน เรียกว่า “พระพลายคู่” และองค์เดี่ยวๆ เรียกว่า “พระพลายเดี่ยว” ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ยังแบ่งแยกออกไปอีกเป็นสิบๆ พิมพ์ เช่น พลายคู่หน้ายักษ์ หน้ามงคล หน้าฤาษี หน้าเทวดา พลายเดี่ยวพิมพ์ชะลูด พิมพ์ก้างปลา ฯลฯ การที่คนรุ่นเก่า เลือกที่จะตั้งชื่อ พระพิมพ์นั้นว่า ขุนแผน พิมพ์นี้เรียกพลาย คนรุ่นใหม่ คงไม่ทราบหลักเกณฑ์ หรือ ที่มาชัด ซึ่งคงเดาใจว่า คนที่ตั้งชื่อ ขุนแผน คงจะดูรูปร่างศิลปะในองค์พระ ถ้าพระองค์ ใดมีรูปแบบศิลปะสวยงามสะดุดตา ก็เรียกว่า พระขุนแผน ไว้ก่อนส่วนพระพิมพ์ใดหย่อนคุณค่าทางด้านศิลปะความงาม ความอ่อนช้อยก็ตั้งชื่อเรียกว่า พระพลาย เพื่อให้แตกต่างกันไป… อายุการสร้างของ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี เมื่อพิจารณาจากศิลปะแล้ว บอกให้รู้ว่าเป็น พระในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยมีศิลปะที่อ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ที่สำคัญที่สุด คือ ในจำนวนพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่างนี้ มีอยู่พิมพ์หนึ่งนั่นคือ “พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่” มีลักษณะและศิลปะเหมือนกับ “พระขุนแผนเคลือบ” ที่แตกกรุออกมาจากเจดีย์ วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเจดีย์องค์นี้มีบันทึกไว้ในพงศาวดาร ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2135 ตามคำทูลแนะนำของสมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว เพื่อเฉลิมพระเกียรติ แห่งชัยชนะในการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แห่งพม่า พระเจดีย์องค์นี้ชื่อว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” เพราะเป็นเจดีย์ ที่ใหญ่ที่สุดในอยุธยา ซึ่งตามประเพณีมาแต่โบราณว่า เมื่อสร้างพระเจดีย์แล้ว จะสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ถือกันว่าได้กุศลแรง พระขุนแผนเคลือบคงสร้าง เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ วัดใหญ่ชัยมงคลในครั้งนั้น ความคล้ายคลึงกันของพุทธศิลป์ ของ พระขุนแผน เคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคล กับ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี โดยเฉพาะพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่นี้ เมื่อนำพระทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความแตกต่างกันน้อยมาก โดยเฉพาะเส้นสายและลวดลายการแกะของแม่พิมพ์ ทำให้น่าเชื่อว่า ช่างที่แกะสมัยนั้น คงเป็นคน คนเดียวกัน หรือ สกุลช่างศิลปะในสำนักเดียวกัน อายุการสร้างอาจไม่แตกต่างกันมากนัก หรืออาจแกะในคราวเดียวกัน และพิมพ์ในคราวเดียวกัน แต่ได้มีการแยกบรรจุเจดีย์ ต่างกัน ดังนั้น จึงพอที่จะสันนิษฐานได้ว่า พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง คงมีอายุอยู่ในราวรัชกาล สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ ประมาณ 400 ปีล่วงมาแล้ว |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments