ระสมเด็จ พิมพ์ฐานหมอน 3 ชั้น หลวงพ่อยี ปญญภาโร วัดอภัยสุพรรณภูมิ (วัดดงตาก้อนทอง) ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระ-ล้านมาแชร์ - webpra
ล้านมาแชร์ มาโชว์ มาแชร์พระแท้ เพราะ เงินของท่านแท้ พระต้องแท้

หมวด พระสมเด็จทั่วไป

ระสมเด็จ พิมพ์ฐานหมอน 3 ชั้น หลวงพ่อยี ปญญภาโร วัดอภัยสุพรรณภูมิ (วัดดงตาก้อนทอง) ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระ

ระสมเด็จ พิมพ์ฐานหมอน 3 ชั้น หลวงพ่อยี ปญญภาโร วัดอภัยสุพรรณภูมิ (วัดดงตาก้อนทอง) ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระ - 1ระสมเด็จ พิมพ์ฐานหมอน 3 ชั้น หลวงพ่อยี ปญญภาโร วัดอภัยสุพรรณภูมิ (วัดดงตาก้อนทอง) ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระ - 2
ชื่อร้านค้า ล้านมาแชร์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ระสมเด็จ พิมพ์ฐานหมอน 3 ชั้น หลวงพ่อยี ปญญภาโร วัดอภัยสุพรรณภูมิ (วัดดงตาก้อนทอง) ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระ
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระสมเด็จทั่วไป
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ Line ID: weep9019 เบอร์โทรศัพท์ 099-2542365
อีเมล์ติดต่อ weep293@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 21 ก.พ. 2560 - 06:36.26
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 02 ก.ย. 2563 - 11:44.06
รายละเอียด
ระสมเด็จ พิมพ์ฐานหมอน 3 ชั้น หลวงพ่อยี ปญญภาโร วัดอภัยสุพรรณภูมิ (วัดดงตาก้อนทอง) ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก

หลวงพ่อยี ปญญภาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดอภัยสุพรรณภูมิ (ดงตาก้อนทอง) ซึ่งตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 10 ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ผู้อุทิศที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนให้กับชุมชน ให้ลูกหลานชาวบ้านดงตาก้อนทอง และบ้านใกล้เคียงได้เล่าเรียน มาจนปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นคนดีศรีอภัยสุพรรณภูมิอย่างแท้จริง จากคำบอกเล่าต่างๆนั้น ทำให้ได้ทราบว่า หลวงพ่อยี เป็นชาวจังหวัดลพบุรี เมื่อเด็กๆ อายุได้ 8 ขวบ ท่านได้อาศัยอยู่กับพระภิกษุรูปหนึ่ง ไม่ทราบชื่อแน่นอน แต่หลวงพ่อยี เรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่” ได้ธุดงค์ออกป่าหลายแห่งจนอายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระ ได้ออกธุดงค์ไปเรื่อยๆตามป่าเขา ทั้งในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ เคยไปถึงพม่า เวียงจันทน์ และมาลายู หลวงพ่อยีท่านเล่าว่า ท่านได้เดินธุดงค์หาความวิเวกจนมองเห็น นรก สวรรค์ ยามที่ท่านออกโปรดสัตว์ในตอนเช้า จะมีเทวดา นางฟ้ามาตักบาตรให้ตลอดเวลา ได้บวชเป็นพระถึง 28 พรรษา อายุได้ประมาณ 50 ปี เมื่อเล็งเห็นว่าตนยังมีกรรมอยู่จำเป็นต้องลาสิกขาบทออกมาเป็นฆราวาส หลังจากนั้นก็ออกท่องเที่ยวไปหลายจังหวัด ใช้ชีวิตแบบฆราวาสเต็มที่ จนครั้งสุดท้ายได้มาหักร้างถางพง ณ บริเวณที่เป็นวัดดงตาก้อนทองนี้ สมัยนั้นยังเป็นป่ารกชัฎอยู่ มีที่ดินทั้งหมด 565 ไร่ เคยประกอบอาชีพเป็นอาจารย์สัก อยู่ยงคงกระพันชาตรี ให้กับลูกศิษย์ลูกหาอยู่พักหนึ่ง ต่อมาได้ออกบวชอีกเป็นครั้งที่ 2 หลวงพ่อยีได้ตกลงใจยกที่ดินถวายเป็นของสงฆ์เสียส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ให้คนเช่าต่อไป

สิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดของวัดดงตาก้อนทอง คือพระอุโบสถ ใช้เวลาในการสร้างจริงๆ เพียง 1 ปี 6เดือน เท่านั้นแต่ในการรวบรวมปัจจัยมาเป็นค่าวัสดุและแรงงานใช้เวลานานพอสมควรทีเดียว งบประมาณในการก่อสร้างสูงถึง 6-7 ล้านบาท การขนส่งวัสดุอุปกรณ์ต้องใช้ทางเกวียน เพราะสถานที่ในการก่อสร้างนั้นอยู่ไกลมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยบารมีของหลวงพ่อยี งานก่อสร้างสำเร็จเรียบร้อยทุกประการ และ ยังเป็นถาวรวัตถุที่งดงามอยู่มาตราบจนทุกวันนี้ ตัวโบสถ์กว้าง10 วา ยาว 20 วา สูง 12 วาชั้นบนเป็นโบสถ์ ชั้นล่างใช้ทำกิจกรรมทางศาสนาแทนศาลาการเปรียญได้ นับว่าเป็นโบสถ์อเนกประสงค์หลังหนึ่ง สิ่งก่อสร้างอื่นๆภายในวัดนั้นมีปริศนาธรรมอยู่หน้าโบสถ์ คือมีรูปปั้นพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดใหญ่ 1องค์นั่งบังพระพุทธรูปขนาดเล็กไว้ ปริศนาธรรมนี้ผู้พบเห็นก็ขบคิดกันเอาเอง อีกด้านหนึ่งมีรูปปั้นคนขี่ช้าง ถัดมาด้านซ้ายมือเป็นป่ามะม่วงหนาทึบมีพระพุทธรูปในอริยาบทต่างๆ ตั้งเรียงรายเป็นระยะๆ มีรูปเคารพของศาสนาพราหมอยู่หน้ากุฏิพระ มีโรงครัวขนาดใหญ่โต แสดงถึงจำนวนญาติโยมที่มาทำบุญที่วัดนี้ซึ่งเคยรุ่งเรืองในอดีต

โยมผวน โตมา ศิษย์ผู้หนึ่งของหลวงพ่อยีได้เล่าให้ฟังว่า ก่อนจะมาเป็นโบสถ์หลังนี้หลวงพ่อยีได้ปัจจัยในการสร้างโบสถ์มาจากการสร้างอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ช่วยให้ลูกศิษย์มีฐานะร่ำรวยขึ้นแล้วบรรดาลูกศิษย์เหล่านั้นก็นำเงินไปช่วยท่าน ภายหลัง ท่านสามารถเสกกระดาษให้เป็นใบละร้อย เสกดินเป็นทองคำ เสกใบไม้ให้เป็นเงิน หรือแม้แต่เสกใบไม้ให้ เป็นกบนำมาทำอาหารกินอย่างเอร็ดอร่อยก็เคยปรากฏมาแล้วหรือเรื่องการบิณฑบาตรข้าวทิพย์จากเทวดาก็ตามหลวงพ่อท่านออกเดินห่างจากครัว ไม่ถึง 10 เมตร ท่านยืนทำสมาธิที่ต้นมะม่วงใหญ่ ไม่นานนักก็กลับมาพร้อมด้วยข้าวสวยร้อนๆ เต็มบาตร ข้าวทิพย์นี้มีกลิ่นหอมแรงทิ้งไว้ก็ไม่บูดแต่จะแห้งไปเองเหมือนข้าวตาก

ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงพ่อยี เช่นคุณสมหมาย - คุณณรงค์ศักดิ์ ตะละภัฏ คุณบรรยง ณ บางช้าง และลูกศิษย์อื่นๆอีกมากมาย ก็สามารถที่จะยืนยันได้เป็นเสียงเดียวกันว่า หลวงพ่อยีท่านมีอิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์สูงส่งมากเพียงใด

ในระยะที่ผู้คนฮือฮากันถึงเรื่องความมหัศจรรย์ที่หลวงพ่อยีท่านได้กระทำนั้นพระราชมุนี(โฮม โสภโณ)แห่งวัดประทุมวนารามก็เป็นพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งที่ต้องมาพิสูจน์ถึงความเท็จจริงนี้ให้ประจักษ์ หลวงพ่อถาวร ซึ่งในขณะนั้นเป็นศิษย์ใกล้ชิดของพระราชมุนีโฮม ก็ได้ติดตามมาด้วย และภายหลังก็ได้มาที่วัดดงตาก้อนทองอีกหลายครั้งเพื่อศึกษาเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์กับหลวงพ่อยี จนกระทั่งได้ประจักษ์แจ้ง ได้รู้ได้เห็นเป็นที่ยอมรับว่า ทุกสิ่งเป็นจริงทุกประการไม่มีสิ่งใดเคลือบแคลงสงสัยอีกเลย

หลวงพ่อยี มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2515 เก็บศพใส่โลงทองไว้ในกุฏิทางด้านจังหวัดพิจิตร ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ได้สั่งเสียไว้กับศิษย์ใกล้ชิดคือ โยมผวน โตมา ถึงเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับวัดดงตาก้อนทองให้โยมผวน เป็นผู้ดูแลรักษาโบสถ์นี้ไว้อย่าไปอยู่ที่อื่นรอจนกว่าหลวงพ่อที่ 2 จะมารับช่วงต่อ พอต้นปี 2531 หลวงพ่อถาวร ก็มาที่วัดดงตาก้อนทองประกาศว่าจะทะนุบำรุงวัดดงตาก้อนทองซึ่งในขณะนั้นเกือบจะเป็นวัดร้างด้วยการนำพระภิกษุ สามเณรมาจำพรรษาที่นี่

ต่อมาเมื่อวัดดงตาก้อนทอง มีพระภิกษุสงฆ์มาจำพรรษา วัดอภัยสุพรรณภูมิ หรือ วัดดงตาก้อนทอง ได้พัฒนาขึ้นในทุกๆด้าน โดยการนำของพระพิสาลพัฒนาทร หรือหลวงพ่อถาวร จากวัดประทุมวนาราม กรุงเทพมหานครได้ทำการพัฒนาขึ้นมามากอย่างเห็นได้ชัด ในขณะนี้วัดอภัยสุพรรณภูมิมี พระสายันต์ สญญโม เป็นเจ้าอาวาส ในปัจจุบันท่านเจ้าอาวาสได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูอภัยธรรมโสภณ




จุดธูป ๙ ดอก...พระคาถาที่นำมากล่าวในที่นี้ เป็นพระคาถาที่เขียนขึ้นมาจากลายมือของหลวงพ่อในสมุดของท่าน บรรดาญาติโยมของท่าน ได้คัดลอกออกมาเผยแพร่แก่สาธารณะชนทั่วไปที่เคารพในตัวท่าน...

ตั้ง นโม ๓ จบ...

บทที่ ๑.มหาปัญโญ มหาเตโช อุกาสะวันทามิ
ภันเต อาจาริโย ปุณนะยีติ { ภาวนา ๓ จบ}

บทที่ ๒.นะภันทะลัง กัมมัง อะโหสิภุมิมาเต
นะภันเต จะตุนะ ปัจจะ นะมามิ { ภาวนา ๓ จบ}

บทที่ ๓.โอมพระเจ้าอยู่เบื้องตา พระธรรมเจ้าอยู่เบื้องปาก
ตัวกูขอฝากไว้ในดวงจิต เอหิมามะ กะรินิติ พรหมมัสสามิ
จิตกูนิ่งอยู่ที่พุทธัง ตัวกูอยู่ที่พระอรหัง เอหิมามะ {ภาวนา ๑๐๘ จบ}

บทที่ ๔.มะธะนะ ภันธะนัง นิมิตตัง เตมหาภันธะนัง
นะนิมิต ตัสสะ ปุณนะมิ นังกะโรมิ { ภาวนา ๓ จบ}

ควรสวดภาวนาก่อนนอน...ระลึกถึง...หลวงพ่อยี...

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top