เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี ปี 2472-ล้านมาแชร์ - webpra
ล้านมาแชร์ มาโชว์ มาแชร์พระแท้ เพราะ เงินของท่านแท้ พระต้องแท้

หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี ปี 2472

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี ปี 2472 - 1เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี ปี 2472 - 2เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี ปี 2472 - 3เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี ปี 2472 - 4เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี ปี 2472 - 5
ชื่อร้านค้า ล้านมาแชร์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี ปี 2472
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ Line ID: weep9019 เบอร์โทรศัพท์ 099-2542365
อีเมล์ติดต่อ weep293@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 17 ส.ค. 2558 - 16:13.32
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 01 ก.ย. 2563 - 09:06.33
รายละเอียด
หรียญเสมารุ่นแรก หลวงปู่เปลี่ยน วัดไชยชุมพลชนะสงคราม(ใต้) กาญจนบุรี รุ่นสอง ปี 2472 บล็อกหลังยันต์เบี่ยง เนื้อทองแดงกระไหร่ทอง พร้อมเลี่ยมทองยกซุ้ม สภาพผ่านการใช้มาเล็กน้อย สภาพยังพอสวย เหรียญรุ่นนี้สร้างขึ้นเนื้อเดียว แต่มีสองแบบคือ 1.ผิวไฟ 2.กระไหร่ทอง และแบ่งออกเป็นสองบล็อกด้วยกันคือ 1.บล็อกยันต์ตรง 2.บล็อกยันต์เบี่ยง เหรียญรุ่นแรกนี้ ราคาค่อนข้างสูงมากในปัจจุบัน เหรียญรุ่นนี้ประสบการร์มากมาย เด่นมากด้าน แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี มหาอำนาจบารมี กันคุณไสย์คุณคน กันของกันผี เรื่องปืนผาหน้าไม้ไม่ได้กินเลือด ต้องพูดว่าเหนียวสุดยอดครับ.......................ประวัติ พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร ) เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีจอ ตรงกับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2405 ณ บ้านม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี โยมบิดาชื่อ หมื่นพรหม (นิ่ม) โยมมารดาชื่อ คอน บิดามารดาขนานนามท่านว่า เปลี่ยน ต่อมาเมื่อมีธรรมเนียมใช้นามสกุล ก็ได้ใช้นามสกุลว่า พูลสวัสดิ์ เมื่อท่านมีอายุได้ 12 ปี ซึ่งเป็นวัยควรแก่การเล่าเรียน บิดามารดาจึงได้นำไปฝากพระอธิการกรณ์ เจ้าอาวาสวัดชุกะพี้ เพื่อศึกษาหนังสือไทยและขอมอย่างโบราณ เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดใต้ หรือวัดไชยชุมพลชนะสงคราม มี พระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ และพระอธิกรกรณ์ วัดชุกกะพี้ เป็นพระคู่สวด ความตั้งใจเดิมของท่านจะบวชเพียง 7 วันเท่านั้น แต่เมื่อได้อุปสมบทครองผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว พบว่าเส้นทางสายนี้สงบยิ่ง จึงได้ครองเพศบรรพชิตไม่คิดสึกอีกเลย หลวงพ่อเปลี่ยน ได้ร่ำเรียนทั้งหนังสือขอม และหนังสือไทย รวมทั้งวิชาพุทธาคมจาก พระครูวิสุทธิรังษี พระอุปัชฌาย์ ต่อเมื่อ พระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) มรณภาพลง คณะสงฆ์จึงนิมนต์ให้ พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นเพียง พระใบฎีกาเปลี่ยน อินฺทสโร เป็นเจ้าอาวาสวัดสืบไป ทั้งยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระครูวิสุทธิรังษี เช่นเดียวกับพระอุปัชฌาย์ ห้วงระยะเวลาที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัด ไม่เพียงแต่พัฒนาด้านถาวรวัตถุเท่านั้น ในด้านการศึกษาท่านก็ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ถึงกลับสร้างโรงเรียนประจำจังหวัด คือ โรงเรียนวิสุทธิรังษี ขึ้นมาเป็นที่ศึกษาของลูกหลานชาวบ้าน ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัด กล่าวได้ว่า พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่ารูปหนึ่ง ที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีในทางศาสนาถึงกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นพิธีใด หรือในการพุทธาภิเษกพระเครื่อง ปรากฏว่าในการเดินทางเข้าร่วมพิธีถึงกรุงเทพมหานครนั้น ปรากฏหลักฐานจากพัดรอง และย่าม อันได้จากกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นงานพระบรมศพ ร.5 งานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ฯลฯ ในปี พ.ศ.2460 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์จาก พระครูวิสุทธิรังษี เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระวิสุทธิรังษี เมื่อครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศ ได้พระราชทานนามเติมสร้อยต่อท้ายว่า "พระวิสุทธิรังษีชินศาสนโสภีสังฆปาโมกข์" เมื่อครั้งรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสไทรโยค เมืองกาญจนบุรี หลวงพ่อเปลี่ยน อินฺทสโร ในครั้งนั้น พร้อมด้วยคณะสงฆ์ 20 รูป ได้สวดมนต์รับเสด็จที่พลับพลาประทับ ได้รับคำชมเชยจากพระองค์ว่า "สวดมนต์เก่งสวดได้ชัดเจน ลีลาสังโยคน่าฟัง และขับตำนานได้ไพเราะ" จึงพระราชทานสิ่งของแก่ พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) ครั้งยังเป็น พระครูวิสุทธิรังษี แม้เมื่อครั้ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์เมืองกาญจนบุรี ได้เขียนบันทึกชมเชยถึงการปกครองคณะสงฆ์ของ พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) ว่า "หลวงพ่อฉลาดในการปกครอง แม้เมืองกาญจนบุรีจะมีอาณาเขตกว้างขวาง ก็ปกครองด้วยความเรียบร้อย" สำหรับลูกศิษย์ที่ได้รับการสืบทอดวิชาจากท่าน นอกเหนือจากหลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม แล้ว เห็นจะมี พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วัดเจริญสุทธาราม บางคนที สมุทรสงคราม พระครูธรรมวิถีสถิตย์ (โต) วัดคู้บางขันแตก สมุทรสงคราม พระกาญจนวัตรวิบูลย์ (สอน) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี พระครูวัตตสารโศภณ (ก้าน) วัดใต้ กาญจนบุรี พระครูวรวัฒนวิบูลย์ วัดหวายเหนียว กาญจนบุรี พระครูยติวัตรวิบูลย์ (พรต) วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) มรณภาพลงในปี พ.ศ.2490 อย่างสงบด้วยโรคชรา รวมอายุได้ 85

(ขอขอบคุณข้อมูลดีๆๆจาก โจ๊ก_เมืองกาญจน์ ครับ)

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top