หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปางไสยาสน์ หลังยันต์สาม
ชื่อร้านค้า | เว็บพระแท้2 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปางไสยาสน์ หลังยันต์สาม |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | gt540@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 24 ก.ค. 2557 - 23:15.44 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 24 ก.ค. 2557 - 23:35.52 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ปางไสยาสน์ หลังยันต์สาม สภาพสวยมาก ประวัติความเป็นมาของพระกรุวัดท้ายตลาด-ซึ่งเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำเลที่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่หลังพระราชวังเดิม ในอดีตสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี บริเวณดังกล่าวนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า “ท้ายตลาด” หรือ “ท้ายพระราชวังเดิม” จึงนิยมเรียกขานวัดนี้กันว่า "วัดท้ายตลาด" และในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องทุกยุคทุกสมัยก็มักเรียกพระเครื่องจากกรุพระเจดีย์วัดนี้กันติดปากว่า "พระวัดท้ายตลาด" เช่นกัน ย้อนไปในสมัยกรุงธนบุรี วัดท้ายตลาดนับเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดฯให้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และยังคงมีความสำคัญต่อเนื่องจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรียังทรงมีความผูกพันกับวัดท้ายตลาดมาโดยตลอด อาทิเช่น รัชกาลที่1 ทรงโปรดฯอาราธนาสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายตลาด รัชกาลที่2 ทรงพระราชทานนามวัดท้ายตลาดว่า"วัดพุทไธศวรรยาวาส”หรือ"วัดพุทไธศวรรย์" ต่อมาพระราชทานนามใหม่เป็น"วัดโมลีโลกยาราม"จนถึงปัจจุบันและพระราชโอรสในพระองค์ เมื่อทรงพระเยาว์ก็เสด็จไปศึกษาอักขระสมัยเบื้องต้นกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)ที่วัดนี้รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 3 เมื่อคราวท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)พระราชกรรมวาจาจารย์ของ พระองค์มรณภาพลง ทรงโปรดฯให้หล่อพระรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)2รูป“รูปเล็ก”บูชาอยู่ใน หอพระเจ้า ส่วน“รูปใหญ่”ทรงโปรดฯให้สร้างหอเพื่อเป็นที่ประดิษฐานไว้ที่วัดโมลีโลกยา รามหรือวัดท้ายตลาด โดยเป็นการหล่อในโอกาสเดียวกับรูปหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชพระญาณ สังวร(สุก)สังฆราชไก่เถื่อน ที่วัดพลับ มาถึงสมัยรัชกาลที่4 และรัชกาลที่5 ก็ยังมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามอย่างสม่ำเสมอ และในคราวที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จฯพระราชทานพระกฐิน จะทรงเสด็จฯไปสักการะพระรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)ทุกครั้ง พระวัดท้ายตลาดมีการค้นพบเมื่อครั้งกรุพระเจดีย์แตก ได้ปรากฎพระพิมพ์เนื้อผง จำนวนมากมายถึง 89,000 องค์และมีหลายแบบหลายพิมพ์ มากกว่า 50 พิมพ์ เช่น 1.พระพิมพ์สมาธิบัวสองชั้น 2.พระพิมพ์พระแม่ธรณีบีบมวยผม ใหญ่-เล็ก 3.พระพิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร 4.พระพิมพ์ซุ้มปราสาท(เก๋งจีน) 5.พระพิมพ์พระเจดีย์ 6.พระพิมพ์ปรกโพธิ์ ใหญ่-เล็ก 7.พิมพ์มารวิชัยข้างเม็ด 8.พิมพ์มารวิชัยข้างเส้น 9.พระพิมพ์พุทธกวัก(ปางรับผลมะม่วง) 10.พระพิมพ์นางกวัก 11.พระพิมพ์สังกัจจายน์ 12.พระพิมพ์สมาธิแหวกม่าน 13.พระพิมพ์เล็บมือ 14.พระพิมพ์หยดแป้ง 15.ปางรำพึง 16.ปางถวายเนตร 17.ปางป่าเลไลย์ ใหญ่-เล็ก 18.ปางนาคปรก ใหญ่-เล็ก 19.ปางไสยาสน์ 20.ปางอุ้มบาตร 21.ปางห้ามสมุทร 22.พระปิดตานะหัวเข่า 23.พระปิดตานั่งยอง 24.พระปิดตายันต์เฑาะว์ 25.พระปิดตาสมาธิเพชร-สมาธิราบ ฯลฯ ปางต่างๆ ดังกล่าว ล้วนเป็นคติการสร้างพระพุทธรูปซึ่งเกิดใหม่ในสมัยรัชกาลที่3ทั้งสิ้น นอกจากนี้พุทธลักษณะองค์พระนับเป็นการออกแบบที่ได้สัดส่วนงดงามและประณีต ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นฝีมือการสร้างในระดับ“ช่างหลวง”ที่สำคัญ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเหมือนอย่างโบราณ กษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยการสร้างพระพิมพ์ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนา จึงทรงโปรดฯให้สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพระพุทธอิริยาบถปางต่างๆในพระพุทธประวัติ(นับรวมกับแบบเดิม8ปาง เป็น40ปางประดิษฐานไว้ในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)จึงสันนิษฐานได้ว่าพระวัดท้ายตลาด น่าจะสร้างขึ้นโดยรัชกาลที่3 และด้วยเหตุผลประการสุดท้าย คือการจะสร้างพระได้จำนวนมากมายถึง8หมื่นกว่าองค์นั้น สามัญชนคนธรรมดาทั่วไปคงจะเป็นไปได้ยากมากแน่นอน ในช่วงแรกๆที่กรุแตกนั้น พระวัดท้ายตลาดยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก จนเมื่อคราวเกิดสงครามอินโดจีน ได้มีการนำพระซึ่งมีจำนวนมากส่งไปยังกระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายไปยังเหล่าทัพต่างๆเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ด้วยพุทธคุณเป็นที่ปรากฏประจักษ์แก่สายตาผู้ที่เข้าร่วมทัพ และบอกเล่าต่อเนื่องกันปากต่อปาก ทำให้พระวัดท้ายตลาดได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์เนื้อผงยอดนิยมสำหรับวงการนักนิยมสะสมพระเครื่อง พระบูชาไทยไปแล้ว ข้อสังเกตที่จะฝากไว้ในการพิจารณา“พระวัดท้ายตลาด”ประการหนึ่ง คือนอกจากพระที่นำมาแจกจ่ายเมื่อคราวสงครามอินโดจีนแล้ว ยังมีการนำพระบางส่วนไปบรรจุในกรุพระเจดีย์ตามวัดต่างๆ อาทิ วัดตะล่อม วัดนางชี และวัดบางสะแก จ.สมุทรสงคราม เป็นต้น ดังนั้นจากสภาพแวดล้อมและสภาวะภายในกรุแต่ละกรุที่แตกต่างกัน องค์พระจึงมีลักษณะพื้นผิวที่ต่างกันด้วยเช่น พระที่นำไปบรรจุไว้ที่วัดตะล่อม ซึ่งจะบรรจุใต้ฐานชุกชีคลุกอยู่กับปูนขาว ทำให้เวลานำองค์พระออกมา ผิวขององค์พระจึงถูกปูนขาวจับอยู่โดยทั่วไป แลดูไม่เข้มขลังเหมือนกับพระที่ออกจากกรุวัดท้ายตลาด ความนิยมจึงลดหลั่นแตกต่างกันไป ข้อมูลคัดลอกจาก เอสซีพระเครื่อง |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments