หมวด พระเกจิภาคอีสานเหนือ
พระปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
ชื่อร้านค้า | เว็บพระแท้1 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคอีสานเหนือ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | gt540@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 30 ส.ค. 2553 - 15:45.42 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 17 มี.ค. 2567 - 21:18.46 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระรูปเหมือนปั๊ม รุ่นแรก หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ประวัติ หลวงปู่มหาโส กัสโป พระอริยสงฆ์สายศิษย์หลวงปู่มั่น แห่งจังหวัดขอนแก่น วัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น หลวงปู่มหาโส กัสโป เกิดวันจันทร์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พศ.2458 เกิดที่เมืองนักปราชญ์ถิ่นดอกบัวนามว่า อุบลราชธานี หนึ่งในจังหวัดภาคอีสานใต้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นถิ่นอุบัติชีวิตขึ้นมาในสายพระกรรมฐาน เช่น พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชา พระธรรมเจดีย์(จูม) ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปปมาจารย์(สิริจันโท จันทร์) พระบูรพาจารย์เหล่านี้ล้วนเป็นผู้มีถิ่นกำเนิดในจังหวัดอุบลฯเช่นเดียวกับหลวงปู่มหาโส ครอบครัวของท่านมีพี่น้อง 9 คน หลวงปู่เป็นคนที่ 6 คุณพ่อชื่อ เคน ดีเลิศ คุณแม่ชื่อ คำ ดีเลิศ อยู่ที่หมู่บ้านก่อ ตำบลหนองนกไข่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุได้ 19 ปี หลวงปู่ได้บวชเป็นสามเณร ที่วัดบ้านก่อ เมื่อพศ.2477 โดยมีหลวงพ่ออ่อน วัดบ้านก่อ เป็นพระอุปฌาย์ ผู้ให้การบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อบวชได้ 1 พรรษาจึงได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านก่อโดยมีหลวงพ่ออ่อน เป็นพระอุปฌาชย์และพระอาจารย์สุ่นเป็นพระกรรมวาจา ในสังกัดคณะสงฆ์ในฝ่ายมหานิกาย เมื่อบวชได้ไม่นาน มีพระอาจารย์เพชร มาชวนหลวงปู่ไปเรียนหนังสือที่วัดโพธิ-สมภรณ์ ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี แต่เนื่องจากวัดโพธิ-สมภรณ์ นั้นเป็นวัดในสังกัดฝ่ายธรรมยุติ และหลวงปู่เป็นพระฝ่ายมหานิกาย เป็นเรื่องยุ่งยากในการร่วมทำสังฆกรรม จึงได้ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุติ ก็ได้มาพบกับพระครูปราโมทย์ธรรมธาดา(หลวงปู่หลอด ปโมทิโป)ขณะนั้นหลวงปู่หลอดได้บวชอยู่วัดธาตุหันเทาว์ จ.อุดร เป็นวัดฝ่ายมหานิกายเช่นกัน ต่างได้ชักชวนกันไปเปลี่ยนญัตติกับพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล)เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พศ.2479 ในการเปลี่ยนญัตติครั้งนั้น ได้เข้าไปเรียนฝ่ายปริยัติจบนักธรรมชั้นเอกและสอบได้เปรียญ 3 ประโยค ในขณะนั้นหลวงปู่ได้ยินชื่อเสียงท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตเคร่งในธรรมปฎิษัติ เกิดความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ตั้งใจว่าจะติดตามท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อปฎิษัติธรรมตามแนวทางการสั่งสอนของท่านพระอาจารย์มั่น แต่ก็ได้ยินได้ฟังว่าท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเทศน์เก่ง รู้ถึงจิตใจผู้มาฟังท่านเทศน์ และท่านเข้มงวดกวดขันยิ่งนักในเรื่องระเบียบวินัยและมารยาท จนเป็นที่เข้าใจกันว่าท่านพระอาจารย์มั่นดุ ความที่ว่าเข้าใจท่านพระอาจารย์มั่นดุ เกิดความเกรงกลัวเลยไม่กล้าไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น.... จึงได้เดินทางออกธุดงค์ สู่ป่าใหญ่กว้างที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ช้างป่า เสือ งูพิษหลากชนิด หลวงปู่กลับไม่ได้หวาดหวั่นหรือกริ่งเกรงสิ่งเหล่านั้น หลวงปู่ได้เดินธุดงค์จากอุดรธานีจนมาพบกับ หลวงปู่อ่อน ญาณศิริ และหลวงปู่บุญมา ซึ่งเป็นศิษย์สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่อ่อนและหลวงปู่บุญมา ได้อบรมกรรมฐานเพิ่มเติมในการปฎิษัติธรรมและวิธีนั่งกรรมฐาน การเจริญสมาธิภาวนา และพระอาจารย์อีกท่านหนึ่งของหลวงปู่ คือ พระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน หลวงปู่มหาโสท่านมีศักดิ์เป็นหลานแท้ๆ ก็ได้กราบเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน พระอาจารย์มหาสีทนได้ฝึกกรรมฐานกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตและพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ท่านเป็นพระรุ่นพี่ที่คอยแนะนำการปฏิบัติที่สำคัญรูปหนึ่งในสายพระกรรมฐาน พระอาจารย์มหาสีทน มีศิษย์สำคัญ 2 องค์ คือ หลวงมหาปู่โส และ หลวงปู่สิงห์ สุขปัญโญ (พระวิจิตรธรรมภาณี) จ.อุบลฯ หลวงปู่มีพระสหธรรมมิกที่สนิทอยู่คือหลวงพ่อผาง จิตคุตโตและหลวงปู่หลอด ปโมทิโต หลวงปู่ท่านได้ปฎิษัติตามคำสอนหลวงปู่อ่อน หลวงปู่บุญมาและพระอาจารย์มหาสีทน เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปลีกวิเวกตามป่าเขาเรื่อยมา ในราวปีพศ.2497 หลวงปู่ได้เดินทางมาถึงที่ภูเม็งในเขตบ้านคำแคนเหนือ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ในสมัยนั้นภูเม็งเป็นป่ารกมีต้นไม้ใหญ่น้อยหนาทึบ ซึ่งเป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่ามากมาย มีชาวบ้านที่ปลุกไร่ข้าวโพดเดือดร้อนจากช้างป่าโขลงหนึ่ง ชอบลงมากินไร่ข้าวโพดที่ปลุกไว้ประจำ ชาวบ้านได้มาขอพึ่งบารมีหลวงปู่ช่วยปัดเป่า หลวงปู่ก็ได้ช่วยสงเคราะห์ปัดเป่าไล่โขลงช้างไม่ให้มากินทำลายพืชผลชาวบ้านอีกต่อไป การเดินทางอยู่บนภูเม็งไข้ป่ายังชุกชุมมาก หลวงปู่เป็นไข้ป่าแทบจะเอาตัวไม่รอด ชาวบ้านได้พร้อมใจกันนิมนต์หลวงปู่ลงมารักษาตัวจนหายไข้ป่า หลวงปู่คิดจะขึ้นไปปฏัติธรรมบนเขาอีก แต่ทนความรบเร้าของชาวบ้านที่ศรัทธาในตัวหลวงปู่ ขอให้ปักหลักที่ชายเขาภูเม็งอย่าได้ขึ้นไปอีกเลย ไม่สะดวกกับชาวบ้านในการเดินทางขึ้นไปหา ด้วยความเมตตาหลวงปู่ไม่อยากจะขัดศรัทธา ก็เลยปักหลักพำนักที่ชายเขาปัจจุบันเป็นวัดป่าคีรีวัน(วัดป่าคำแคนเหนือ)ที่หลวงปู่อยู่ เมื่อปีพศ.2502 หลังจากที่ขึ้นไปปฎิษัติธรรมบนเขาภูเม็งเป็นเวลา 6 ปี ในจังหวัดขอนแก่นถ้านับพระสายฝ่ายธรรมยุติ หลวงปู่มหาโส ท่านเป็นพระที่อวุโสที่สุด ทุกครั้งงานใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น จะนิมนต์หลวงปู่ให้เป็นองค์ประธานในพิธี โดยปกติแล้วหลวงปู่จะไม่รับกิจนิมนต์งานต่างๆไม่ว่าจะใกล้หรือไกล จะมีบ้างบางครั้งเช่นงานของจังหวัดขอนแก่น เพราะปฏิปทาของท่านชอบบำเพ็ญหาความสงบทางจิตมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว วัดป่าคำแคนเหนือตั้งอยู่ในพื้นชายเขาภูเม็ง นับว่าเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะกับการปฎิษัติธรรม การเดินทางไปที่วัดถนนเส้นทางเป็นลักษณะดินลูกรัง ดังนั้นเป็นเหตุผลหนึ่งที่หลวงปู่ไม่ยอมรับกิจนิมนต์ต่างๆ เรื่องความเมตตาลูกศิษย์ที่ได้เข้ากราบหลวงปู่มหาโส จะรู้ดีว่าหลวงปู่เปี่ยมล้นด้วยสุดยอดความเมตตา ปัจจุบันหลวงปู่อายุได้ ๙๕ ปี นับว่าชราภาพมากแล้วแต่สุขภาพก็ยังแข็งแรงดีอยู่ ที่อยู่อย่างเป็นทางการชื่อวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ส่วนตัวผมเองก็ได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่มหาโส หลายครั้งและได้เคยนำผ้าป่าไปทอดที่วัดป่าคำแคนเหนือ ช่วงที่ได้ไปกราบหลวงปู่ หลายต่อหลายครั้งก็จะได้รับความเมตตาแสดงธรรมเกือบจะทุกครั้งหลวงปู่เน้นปฎิษัติเจริญวิปัสนากรรมฐาน มีความเมตตาสูง ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านพื้นที่หรือจากต่างแดนไกล ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลจะด้วยเหตุผลประการใดก็แล้วแต่ หลวงปู่ท่านไม่เคยจะขัดศรัทธาทุกราย เพราะหลวงปู่ไม่ได้ให้ความสนใจและยึดติดกับวัตถุมงคลเป็นพื้นฐานแนวทางพระปฎิษัติสายกรรมฐานอยู่เดิม ดังนั้นเพื่อนนักสะสมวัตถุมงคลสายหลวงปู่ขอให้ศึกษาข้อมูลก่อนสะสม ด้วยความปรารถนาดีจากใจจริง |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments