เหรียญกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ปี 2481-วาสนา-พระเครื่อง - webpra
VIP
พระแท้...ราคาสมเหตุสมผล...โทร.089-4611699

หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ปี 2481

เหรียญกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ปี 2481 - 1เหรียญกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ปี 2481 - 2เหรียญกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ปี 2481 - 3
ชื่อร้านค้า วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ปี 2481
อายุพระเครื่อง 86 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ Line : 0894611699
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 03 ส.ค. 2565 - 13:12.54
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 02 มิ.ย. 2567 - 11:12.08
รายละเอียด
เหรียญพิมพ์ ชส ข้างนาค พ.ศ.2481 นี้ เป็นเหรียญปั๊มกะไหล่ทองยุคเก่า ตัดขอบเหรียญโดยการใช้เลื่อย (ที่มักเรียกกันว่าเหรียญข้างเลื่อย)

ด้านหน้าเป็นพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ประทับนั่งขัดสมาธิบนอาสน์ มีพระนามย่อ ช.ส. ประกอบด้านข้าง อยู่ภายในกรอบพญานาค ๒ ตัว หันหัวออกทั้ง ๒ ข้าง

ด้านหลังเป็นยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ และมีข้อความว่า ที่ระลึกในงานฉลองพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (ขนาดใหญ่) ๔ - ๕ มีน ๒๔๘๑ อมราภรณ์ ตึกดิน

สันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึก ในงานฉลองสมโภชพระรูปใหญ่ เมื่อวันที่ ๔ - ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑

หลังจากที่ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๔๘๐ มีการสร้างวัตถุมงคล เนื่องในสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯรวมทั้งสิ้น ๕ ครั้ง

#ครั้งที่ ๑
โดยท่านเจ้าคุณศรีสุรสงคราม ดิถีตรงกับวันประสูตรของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ คือวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
ในการสร้างครั้งที่ ๑ มีพระรูปขนาดเล็กขนาด ๒ เซ็นต์ จำนวน ๑,๐๐๐ องค์เศษ พระรูปขนาดเล็กขนาด ๒ เซ็นต์ เป็นพระที่หล่อและปั๊มจากโลหะผสมสีเหลืองอมแดง รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วไม่มีหูสำหรับร้อยห่วง ด้านหลังเป็นพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ประทับนั่งขัดสมาธิบนตั่งมีแท่นรองรับภายในซุ้มเรือนแก้ว มีคำว่า " ชินวร " ที่หน้าตั่งและตัวเลข ๒๔๘๐ ที่หน้าแท่น ด้านหน้าเป็นพระแก้วมรกต
มีพระอาจารย์ ๙ รูป ร่วมพิธีที่พระอุโบสถวัดราชบพิธฯดังนี้
๑.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส
๒.พระศาสนโศภน (แจ่ม) วัดมกุฎกษัตริยาราม
๓.พระปริยัติโกศล (สอน) วัดราชสิทธาราม
๔. พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) วัดใต้
๕. พระเทพสิทธินายก (เลียบ) วัดเลา
๖. พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน) วัดบางนมโค
๗. พระอาจารย์เผือก วัดกิ่งแก้ว
๘. พระปลัดมา วัดราชบูรณะ
๙. พระอาจารย์สุดใจ วัดปากน้ำ

#ครั้งที่ ๒
พระหล่อและปั๊มจากโลหะผสมสีเหลืองอมแดง รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีหูในตัว ด้านหลังเป็นพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธ ด้านหน้าเป็นพระแก้วมรกต และมีคำว่า " พระแก้วมรกฎ " ประกอบด้วยลายกนกข้างองค์พระ
(จะต่างกับครั้งที่ ๑ ด้านหลังจะไม่มีตัวอักษร และลายกนกข้างองค์พระ ) จำนวนสร้าง ๖,๐๐๐ องค์
การสร้างครั้งที่ ๒ มีพระอาจารย์ ๒๖ รูป ร่วมพิธี เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ พระอาจารย์นั่งปรกบริกรรมผลัดเปลี่ยนกันตลอดคืน รุ่งเช้าวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เททองพระรูปใหญ่และพระรูปขนาดเล็ก ๒ เซ็นต์ แล้วทำลายหุ่นพระรูปขนาดเล็ก ๒ เซ็นต์
รายนามพระเกจิอาจารย์ ๒๖ รูป
๑. สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์
๒. สมเด็จกรมพระวชิรญาณวงศ์ (ชื่น) วัดบวรฯ
๓. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดพระเชตุพน
๕. พระศาสนโสภณฯ (แจ่ม) วัดมกุฎฯ
๖. พระพรหมมุนี (อ้วน) วัดบรมนิวาส
๗. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (นาค) วัดอรุณราชวราราม
๘. พระพิมลธรรม (เฮง) วัดมหาธาตุ
๙. พระธรรมเจดีย์ (อยู่) วัดสระเกศ
๑๐. พระธรรมปาโมกข์ (ภา) วัดราชบพิธ
๑๑. พระวินัยมุนี (แปลก) วัดราชบพิธ
๑๒. พระปริยัติโกศล วัดราชสิทธาราม
๑๓. พระพุทธวิริยากร วัดโสมนัสวิหาร
๑๔. พระสังฆนิจคุณ วัดตรีทศเทพ
๑๕. พระปัญญาพิศาลเถระ วัดปทุมวนาราม
๑๖. พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) วัดใต้ กาญจนบุรี
๑๗. พระธรรมทานาจารย์ วัดระฆัง
๑๘. พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน) วัดบางนมโค อยุธยา
๑๙. พระครูรัตนรังสี (พุ่ม) วัดบางโคล่
๒๐. พระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง) วัดบางปะกอก
๒๑. พระอาจารย์สุดใจ วัดปากน้ำ
๒๒. พระเทพสิทธินายก (เลียบ) วัดเลา
๒๓. พระปลัดมา วัดราชบูรณะ
๒๔. พระอาจารย์พา วัดระฆัง
๒๕. พระอาจารย์เผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ
๒๖. พระอาจารย์จุ้ย วัดลานบุญ ลาดกะบัง.....
***#ข้อสงสัยของบางท่าน ารสร้างวัตถุมงคลครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๐ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒ - ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๘๐
ทำไม? วันของครั้งที่ ๒ จึงก่อนครั้งที่ ๑
ตอบ... ก็เนื่องจากในสมัยก่อน ประเทศไทยจะเปลี่ยนปี พ.ศ. ในเดือนเมษายน ไม่ใช่เดือนมกราคม เหมือนในปัจจุบันนี้ ดังนั้นเดือนเมษายน คือเดือนแรกของปี แลเดือนมีนาคมคือเดือนสุดท้ายของปี ดังนั้นเดือนธันวาคม จึงมาก่อนเดือน มีนาคม

#ครั้งที่ ๓
ประกอบพิธีในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ตรงกับวันวิสาขบูชา โดยมีพระอาจารย์ ๒๓ รูป ร่วมพิธี ครั้นถึงวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ จึงได้ประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่สร้างทั้งหมดพร้อมกับพระรูปใหญ่ ๒ พระรูป
การสร้างครั้งนี้ใช้โลหะที่เหลือจากการสร้างครั้งที่ ๒ นำมาหลอม,รีด แล้วปั๊มเป็นวัตถุมงคลโดยไม่ต้องทำพิธีหล่อเสียก่อนอย่างการสร้างครั้งก่อนๆวัตถุมงคลที่จัดสร้างมี ๔ ชนิดเช่นเดียวกับครั้งที่ ๒

#ครั้งที่ ๔
เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๑ มีพระมหาเถราอาจารย์เจ้าที่มีสมณศักดิ์ นับจากสูงสุดในสยามตามลำดับลงมา ๑๒ รูป คือ
๑. สมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์
๒. สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศ
๓. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทร์
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดพระเชตุพน
๕. พระพรหมมุนี วัดบรมนิวาส
๖ พระศาสนโสภณ วัดมกุฎกษัตริย์
๗. พระพิมลธรรม วัดมหาธาตุ
๘. พระธรรมวโรดม วัดราชาธิวาส
๙. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดอรุณราชวราราม
๑๐. พระธรรมเจดีย์ วัดสระเกศ
๑๑. พระธรรมปิฎก วัดพระเชตุพน
๑๒. พระธรรมโกษาจารย์ วัดเบญจมบพิตร
ซึ่งได้อาราธนาลงอักขระในแผ่นทองแดง มาประกอบในพิธีครั้งนี้ด้วย เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว พระอาจารย์ผู้ทรงวุฒิ ซึ่งอาราธนาให้ลงอักขระในแผ่นทองมาร่วมพิธีด้วยเช่นเดียวกัน จำนวน ๑๒ รูป คือ
๑. พระโพธิ์วงศาจารย์ วัดอนงคาราม
๒. พระธรรมทานาจารย์ วัดระฆังโฆสิตาราม
๓. พระวิสุทธิรังสี วัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) กาญจนบุรี
๔. พระพุทธิวิหารโสภณ วัดวงฆ้อง อยุธยา
๕. พระครูประศาสน์สิกขกิจ วัดบางปะกอก
๖. พระอาจารย์เลียบ วัดเลา
๗. พระอาจารย์มา วัดราชบูรณะ
๘. พระอาจารย์เผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ
๙. พระอาจารย์เหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา
๑๐. พระครูสิทธิสารคุณ วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี
๑๑. พระอาจารย์รุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
๑๒. พระอาจารย์คง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม
จะได้นั่งประจำที่บริกรรม กำกับ พระพิธีธรรมสวดภาณวาร และพุทธาภิเษกตามอย่างพระราชพิธีผลัดเปลี่ยนประจำกำกับและสวด ตลอดไปจนถึงวันรุ่งขึ้นที่ ๑๗ ธันวาคม เวลา ๙.๒๖ น. ปฐมฤกษ์เททอง พระมหาเถราอาจารย์เจ้าพร้อมกับพระพิธีกรรมจะได้สวด ชัยมงคลคาถา ประสิทธิ์ประสาทความศักดิ์สิทธิ์ แก่วัตถุมงคล
โลหะที่ประกอบในพิธีกรรมครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากการสร้างครั้งที่ ๑ ซึ่งมีโลหะเหลือเบ้าจาก พิธีของวัดต่างๆ เศษทองพระชัยวัมน์ของหลวง แร่ธาตุพิเศษที่ประกอบขึ้นด้วยการแปรธาตุของผู้ชำนาญ และแร่อันนิยมว่ามีคุณภาพวิเศษ พร้อมยังได้ร่วมกับทองแดงซึ่งอาจารย์ ๙๕ รูป กรุณามาลงอักขระและปลุกเสกจนสุดสามารถ แล้วนำมาประกอบพิธีการหล่อครั้งที่ ๔ นี้ ได้ความมั่นใจว่า ต้องดีแน่ เพียงแต่พระอาจารย์บางองค์ประกอบขึ้นก็ยังเป็นที่นับถือลือชา

#ครั้งที่ ๕
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ๒๔๘๒ นับเป็นครั้งสุดท้าย มีพระรูปขนาดเล็ก ๒ เซ็นต์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทำจากโลหะเนื้อขาวเพื่อให้แตกต่างจากครั้งก่อนๆ
มีพระอาจารย์ ๒๑ รูปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ที่พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ เช่น
หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา
พระอาจารย์คง วัดบางกะพ้อม
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง เป็นต้น.

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top