หมวด พระพุทธชินราช ทุกรุ่น
เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน พิมพ์นิยม
ชื่อร้านค้า | วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน พิมพ์นิยม |
อายุพระเครื่อง | 82 ปี |
หมวดพระ | พระพุทธชินราช ทุกรุ่น |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | Line : 0894611699 |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 15 เม.ย. 2564 - 13:41.18 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 22 ธ.ค. 2567 - 11:40.41 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พ.ศ.2485 พิมพ์สระอะจุด ขนาดโดยประมาณวัดรวมกรอบ กว้าง 2.7 ซ.ม. สูง (รวมหู) 4.2 ซ.ม. ในปี พ.ศ. 2485 พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการสร้างพระเครื่องชุดนี้ขึ้น โดยยึดเอาพระพุทธลักษณะจากองค์พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เป็นองค์ต้นแบบ มีการสร้างแบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ประกอบด้วย 1. พระบูชา สร้างด้วยวิธีการหล่อเป็นพระพุทธรูปขัดเงา มีซุ้มเรือนแก้วเหมือนพระพุทธชินราชองค์ปัจจุบัน การจัดสร้างในครั้งนั้นจัดสร้างตามจำนวนผู้สั่งจอง โดยผู้ที่สั่งจองจะต้องส่งเงินจำนวน 150 บาท ไปยังคณะกรรมการเพื่อเป็นทุนจัดสร้างเท่านั้น (ต่อ 1 องค์) และมีการแจกจ่ายให้กับจังหวัดทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 องค์ ทั่วประเทศ 2. พระเครื่อง แบ่งการสร้างเป็น 2 ชนิด คือ แบบรูปหล่อและเหรียญ พระรูปหล่อมีพุทธลักษณะเหมือนพระพุทธชินราชเป็นรูปลอยองค์ ประกอบด้วย พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และพิมพ์ต้อ 3. เหรียญ สร้างด้วยวิธีการปั๊ม มีลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธชินราชประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้านหลังของเหรียญจะเป็นรูปอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สถานที่จัดสร้าง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน จัดพิธีการสร้างขึ้นที่วัดสุทัศน์ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ในวันที่ 21 มีนาคม เสาร์ 5 (วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5) ปี พ.ศ. 2485 ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากร โดยมีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำราการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ทุกประการ นอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่ง จึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศเลยทีเดียว ดังมีรายนามดังต่อไปนี้ 1.สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ 2.ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) 3.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา 4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก 5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง 6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู 7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว 8.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง 9.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง 10.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว 11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด 12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ 13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง 14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ 15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา 16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ 17.หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก 18.พระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทร์ 19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก 20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส 21.สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) วัดบวรนิเวศ 22.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงค์ฯ 23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยาฯ 24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ 25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ 26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค 27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ 28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ 29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี 30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง 31.สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ 32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม 33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม 34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ 35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน 36.หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน 37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด 38.หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก 39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ 40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ 41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ 42.หลวงพ่อนาค วัดอรุณ 43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง 44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน 45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ 46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ 47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ 48.หลวงพ่อมา วัดราษฎร์บูรณะ 49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม 50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์ 51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ 52.หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา 53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก 54.หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน 55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ 56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน 57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส 58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง 59.หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน 60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม 61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม 62.หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง 63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก 64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ 65.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง 66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ 67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว 68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง 69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า 70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง 71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา 72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง 73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า 74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี 75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ 76.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม 77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม 78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์ 79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว 80.หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง 81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง 82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร 83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ 84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ 85.หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก 86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ 87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา 88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ 89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม 90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา 91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม 92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์ 93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง 94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม 95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง 96.หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง 97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร 98.หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร 99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ 100.หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด 101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย 102.หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ 103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ 104.พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง 105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา 106.หลวงปู่รอด วัดเกริ่น 107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ 108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดง มาร่วมพิธี). |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments