รางวัลที่ 2 พระฝักไม้ขาว กรุวัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก-วาสนา-พระเครื่อง - webpra
VIP
พระแท้...ราคาสมเหตุสมผล...โทร.089-4611699

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

รางวัลที่ 2 พระฝักไม้ขาว กรุวัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

รางวัลที่ 2 พระฝักไม้ขาว กรุวัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก - 1รางวัลที่ 2 พระฝักไม้ขาว กรุวัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก - 2รางวัลที่ 2 พระฝักไม้ขาว กรุวัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก - 3รางวัลที่ 2 พระฝักไม้ขาว กรุวัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก - 4
ชื่อร้านค้า วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง รางวัลที่ 2 พระฝักไม้ขาว กรุวัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า 38,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 089-4611699 เวลาที่สะดวก 10.00 น. ถึง 21.00 น.
อีเมล์ติดต่อ Line : 0894611699
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 25 ก.ย. 2563 - 13:54.41
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 19 พ.ค. 2567 - 17:42.31
รายละเอียด
พระฝักไม้ขาว กรุวัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

ขนาดโดยประมาณ กว้าง 2 ซ.ม. สูง 3 ซ.ม.

"พระกรุบางระกำ" กำเนิดในยุคสมัยที่ พระครูพุทธิสุนทร (หรุ่น ติสฺสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดสุนทรประดิษฐ์ หรือ วัดบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก โดยพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ พระอาจารย์ถีร์ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดละครทำ ธนบุรี ได้ล่องเรือตามลำคลองมายังตลาดบางระกำ พร้อมกับพระพิมพ์บรรจุในไห จุดมุ่งหมายเพื่อนำไปมอบให้หลวงพ่อขำ วัดฝักไม้ดำ (โพธิ์เตี้ย) อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร แต่แล้วด้วยมีอุปสรรคในการคมนาคม จึงแวะที่ตลาดบางระกำ แล้วฝากพระในไหไว้ที่บ้าน นายอู่ไช้ แซ่ลิ้ม คหบดีในตลาดบางระกำ

เมื่อวันเวลาได้ผ่านไปแรมปี ต่อมานายอู่ไช้ได้ขายบ้านหลังดังกล่าวนั้นให้กับนายละม่อม และนางกิมเอ็ง เนตรแก้ว โดยไม่ได้มีการเคลื่อนย้ายพระในไหแต่อย่างใด คงไว้ดังเดิม เจ้าของบ้านคนใหม่พบเห็นเข้า จึงนำพระไปไว้ในโบสถ์วัดบางระกำ โดยวางไว้ด้านหลังหลวงพ่อนฤมิต พระประธานในอุโบสถ อีกทางหนึ่งก็ว่า นายอู่ไช้เป็นผู้เคลื่อนย้ายพระในไหจากบ้านมายังโบสถ์ดังกล่าวด้วยตนเอง

หลัง พ.ศ.๒๔๘๕ ได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่หลายจังหวัด รวมทั้ง จ.พิษณุโลก ด้วย วัดสุนทรประดิษฐ์ ซึ่งอยู่ในที่ลุ่มและริมฝั่งแม่น้ำยม ก็ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดังกล่าวนี้ด้วย น้ำได้ไหลบ่าเข้าไปในโบสถ์ พระพิมพ์ที่ซุกซ่อนอยู่หลังพระประธานจมอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน เมื่อน้ำลดจึงมีคราบตะกอนดินติดอยู่ที่ผิวพระ จนบางท่านเข้าใจว่าเป็นพระกรุ หรือบางท่านเข้าใจถูกแล้วแต่ด้วยธรรมชาติขององค์พระเฉกเช่นเดียวกับพระกรุ จึงเรียกเช่นนั้นต่อๆกันมา

สมัยนั้นทางวัดมิได้สนใจกับพระพิมพ์ดังกล่าวนี้เลย ใครจะหยิบฉวยไปอย่างไร จำนวนเท่าไร ก็ไม่ว่า โดยเฉพาะเด็กวัดหยิบเอามาเล่นทอยกองกันอย่างสนุกสนาน จนในที่สุดพระก็ไม่มีเหลืออยู่เลย

พระพิมพ์จากวัดบางระกำ หรือวัดสุนทรประดิษฐ์ มี ๒ แบบ คือ พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ และพิมพ์สมเด็จฝักไม้ดำ-ฝักไม้ขาว

พระฝักไม้ขาว มีพุทธคุณเด่นทางมหาอุด และคงกระพันชาตรี เคยมีเรื่องเล่าลือกันว่า สมัยก่อนบรรดาจอมพลต่างแขวนห้อยคอกันแทบทั้งนั้น รวมทั้งสั่งให้ลูกน้องเสาะหามาใช้เช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน และน่าจะด้วยเหตุผลนี้นี่เอง จึงทำให้พระพิมพ์กรุบางระกำกลายเป็นตำนานหนึ่งของพระเครื่องเมืองไทยไปแล้วในขณะนี้

อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า

สมัยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างพระเจดีย์ ๒ องค์ ไว้ที่ วัดละครทำ ต.ช่างหล่อ ธนบุรี (อยู่ใกล้วัดระฆัง) เพื่อบรรจุพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ และท่านได้สร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วย

โดยพระพิมพ์ที่ท่านสร้างไว้นั้น ได้ซ่อนปริศนาธรรมเอาไว้ (พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ) กาลเวลาต่อมาพระเจดีย์องค์หนึ่งได้พังทลายลง พระอาจารย์ถีร์ได้นำพระพิมพ์ที่แตกกรุออกมาจากพระเจดีย์บรรจุลังไม้เก็บไว้ และนำอิฐจากพระเจดีย์มาปูทางเดินในวัด

ต่อมาพระอาจารย์ถีร์ ต้องการนำพระพิมพ์มามอบให้ หลวงพ่อขำ ที่วัดปรักไม้ดำ (วัดโพธิ์เตี้ย) ต.ลานกระบือ อ.พาน จ.กำแพงเพชร (จึงน่าจะเป็นที่มาของชื่อ พระฝักไม้ดำและพระฝักไม้ขาว) เพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่หลวงพ่อขำได้สร้างไว้หน้าโบสถ์ ๒ องค์

แต่ระหว่างทาง แถวพิษณุโลก เรือเกิดเสีย จึงนำพระพิมพ์ทั้งหมดขึ้นฝากไว้ที่บ้าน นายอู๋ใช้ แซ่ลิ้ม ที่ อ.บางระกำ จากนั้นพระอาจารย์ถีร์ได้เดินทางกลับ โดยไม่ได้กลับไปหานายอู๋ใช้อีกเลย

ต่อมานายอู๋ใช้ได้ขายบ้านหลังนั้นให้คนอื่นไป และเจ้าของบ้านคนต่อมาได้นำพระพิมพ์ทั้งหมดมามอบให้วัดบางระกำ ในสมัยหลวงพ่อหรุ่นเป็นเจ้าอาวาส พระพิมพ์บางระกำเริ่มเป็นที่รู้จักกัน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๘๖ เป็นต้นมา

พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ กรุบางระกำ มีขนาดกว้างประมาณ ๓ ซ.ม. สูงประมาณ ๔.๕ ซ.ม. ด้านหน้าเป็นพระปางลีลาหันพักตร์ไปทางซ้าย เดิมชาวบ้านจะเรียกกันว่า “ฝักไม้ดำ” ลักษณะเป็นพระพิมพ์ใหญ่ เนื้อผง มีหลายสี ทั้งสีดำ น้ำตาล ขาว เขียว

ด้านหน้าเป็นพระประธานแสดงปางลีลา ล้อมรอบด้วยอักขระอ่านว่า “นะ มะ พะ ทะ” ด้านหลังด้านบนมีอักขระอ่านว่า “มะ อะ อุ” ตอนกลางมีพระประทับนั่ง ๓ องค์ ปางสมาธิ ปางมารวิชัย และปางนั่งพนมมือ ถัดมามีอักขระอ่านว่า “นะ ปะ ทะ อะ ระ หัง” ล่างสุดเป็นรูปสิงห์ป้อนเหยื่อให้เสือ อันเป็นที่มาของฉายา "สิงห์ป้อนเหยื่อ"

พุทธคุณ เจริญรุ่งเรือง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี แม้ราชสีห์ที่ว่าโหดร้าย ยังศิโรราบต่อเมตตาธรรม ยอมป้อนเหยื่อให้กับเสือที่เป็นศัตรูกัน จึงนับว่าเป็นที่แสวงหาของนักนิยมพระเครื่องเป็นอย่างมาก

ซึ่งท่าน จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังนำพระสิงค์ป้อนเหยื่อ มาบรรจุตลับทองฝังเพชรและอาราธนาติดตัวตลอด และในสมัยก่อนนั้นเหล่าบรรดานายทหารต่างแขวนขึ้นคอกันแทบทั้งนั้น รวมทั้งสั่งให้ลูกน้องเสาะหามาแขวนห้อยติดตัวไว้ เช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน

และน่าจะเป็นเหตุผลนี้นี่เอง จึงทำให้พระพิมพ์กรุบางระกำหลุดเข้าสู่สนามพระน้อยเต็มที จนแทบจะกลายเป็นตำนานหนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย.

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top