รูปหล่อพระปิดตาพังพระกาฬมหาเวทย์ลอยองค์ อุดผง อาจารย์สุธันย์ สุนทรเสวี. จำนวน ๕๙๙ องค์-บ้านพุทธคุณ - webpra
VIP
  • นาวบ้านพุทธคุณ รับประกันพระแท้ทุกรายการ
    เปิดบริการให้เช่าพระเครื่องมานานกว่า 10 ปี
จัดส่งรวดเร็ว ใส่กล่อง แพ๊คอย่างดีทุกรายการ ส่ง EMS เอกชน KERRY หรือ FLASH เลือกได้ทุกช่องทาง

หมวด จตุคามรามเทพ พ.ศ. 2530 ถึง 2549

รูปหล่อพระปิดตาพังพระกาฬมหาเวทย์ลอยองค์ อุดผง อาจารย์สุธันย์ สุนทรเสวี. จำนวน ๕๙๙ องค์

รูปหล่อพระปิดตาพังพระกาฬมหาเวทย์ลอยองค์ อุดผง อาจารย์สุธันย์ สุนทรเสวี. จำนวน ๕๙๙ องค์ - 1รูปหล่อพระปิดตาพังพระกาฬมหาเวทย์ลอยองค์ อุดผง อาจารย์สุธันย์ สุนทรเสวี. จำนวน ๕๙๙ องค์ - 2รูปหล่อพระปิดตาพังพระกาฬมหาเวทย์ลอยองค์ อุดผง อาจารย์สุธันย์ สุนทรเสวี. จำนวน ๕๙๙ องค์ - 3
ชื่อร้านค้า บ้านพุทธคุณ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง รูปหล่อพระปิดตาพังพระกาฬมหาเวทย์ลอยองค์ อุดผง อาจารย์สุธันย์ สุนทรเสวี. จำนวน ๕๙๙ องค์
อายุพระเครื่อง 20 ปี
หมวดพระ จตุคามรามเทพ พ.ศ. 2530 ถึง 2549
ราคาเช่า 800 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 086-6688248
อีเมล์ติดต่อ trustnow@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 02 มี.ค. 2565 - 14:23.20
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 06 มิ.ย. 2565 - 13:23.25
รายละเอียด
รูปหล่อพระปิดตาพังพระกาฬมหาเวทย์ลอยองค์ อุดผง ขนาดสูง ๓.๕ ซม. จำนวน ๕๙๙ องค์
"มหาราชผู้มีชัยชนะเหนืออุปสรรคทั้งปวงแห่งอาณาจักรศรีวิชัย พระเทวราชโพธิสัตว์ (พังพระกาฬ) ผู้อุดมด้วยเวทย์วิทยาคมเหนือลิขิตแห่งฟ้าและเหนือลิลักษณะและความหมายของพระปิดตาพังพระกาฬแบบลอยองค์
ด้านหน้า
๑.) ลักษณะเป็นพระปิดตานั่งขัดสมาธิเพชรศิลปะศรีวิชัย มีบัวสองชั้นอยู่บนศรีษะและมีพุ่มยอดดอกจันอัน ๘ แฉก ลักษณะคล้ายดอกบัวตูม อันหมายถึงความปรารถนาต่อพระโพธิญาณบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ขององค์พ่อจตุคามรามเทพ พระเทวราชโพธิสัตว์ผู้มีความเมตตามหากรุณาต่อสรรพสัตว์ผู้ตกทุกข์ได้ยากอย่างเท่าเทียม และท่านมีปณิธานอันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์
๒.) ที่พระนาภี (ท้อง) มีตัวนอโม อักขระศรีวิชัยซึ่งเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะของทางศรีวิชัย
๓.) ที่ฝ่าเท้าทั้งสองข้างมีรูปดอกจัน ๘ แฉก อันเป็นลักษณะที่สำคัญแห่งพระปิดตาพังพระกาฬและมีก้นหอยที่หัวเข่าทั้งสองข้าง โดยคงตามสัญลักษณะต่างๆที่มีอยู่ในองค์พระปิดตาพังพระกาฬองค์ต้นแบบ ของเก่าแก่โบราณดั้งเดิมไว้ให้ครบถ้วนเชื่อว่าโบราณจารย์ผู้จัดสร้างต้องแฝงคติความหมายที่มีนัยสำคัญอะไรบางอย่างซึ่งอาจหมายถึงเกษียณสมุทรแห่งทะเลใต้ หรือในทางโหราศาสตร์เป็นทางโคจรแห่งดาวนพเคราะห์ซึ่งมีทิศทางการโคจรทั้งเวียนขวาทักษิณาวรรตและเวียนซ้ายอุตราวรรต อีกความหมายหนึ่งที่สำคัญยิ่ง อาจเป็นสัญลักษณ์แห่งสุริยัน–จันทรา โดยโบราณจารย์ใช้รูปก้นหอยที่เวียนในทางตรงข้ามกันนั่นเอง



๔.) ยอดเศียรผูกด้วยไหม ๗ สี เพื่อเสริมบารมีแห่งนพเคราะห์อีกทางหนึ่งด้วย
ด้านหลัง
๑.) มีรูปพญาราหูอันเป็นตราอาญาสิทธิ์ของดวงตราแห่งเมือง ๑๒ นักษัตรของอาณาจักรศรีวิชัยและมีอุณาโลมอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา
๒.) มีพญางูใหญ่ ๒ ตนเกี้ยวคดกันเป็นเงื่อนพิรอด โดยถือเอามงคลนามแห่งคำว่า “รอด” คือ รอดจากภัย,รอดจากอุปสรรคความขัดข้อง,รอดจากความพินาศ และพญางูใหญ่ทั้ง ๒ ตน ได้แผ่พังพานออกมาทั้งสองข้างอย่างน่าเกรงขาม มีลักษณะคล้ายกับเหรียญพระปิดตาพังพระกาฬของศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยคุณศิริชัย บุลกูล ซึ่งเป็นเหรียญที่มากด้วยประสบการณ์เหรียญหนึ่งปัจจุบันราคาเช่าหากันในหลักหมื่น
นับว่าได้รวมเอาลักษณะเด่นที่สำคัญแห่งพระปิดตาพังพระกาฬรวมเข้ากันไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบอย่างอลังการงานศิลป์อันงดงาม ทั้งยังแฝงด้วยคติความหมายอันลึกซึ้งแห่งโบราณจารย์ชาวชวากะศรีวิชัยผู้จัดสร้างในอดีต
ขิตแห่งดิน"
ชนวนโลหะและมวลสาร
ในครั้งนี้ได้จำลองแบบเป็นศิลปะศรีวิชัยองค์ดั้งเดิมและเหรียญปิดตาพังพระกาฬมารวมกัน โดยจัดสร้างเป็นแบบลอยองค์และเหรียญหล่อ สร้างเฉพาะเนื้อสัมฤทธิเดชผสมชนวนเพียงเนื้อเดียวเท่านั้นเน้นเรื่องชนวนและมวลสารเป็นสำคัญ โดยชนวนที่นำมาหลอมในครั้งนี้ล้วนแล้วแต่เป็นชนวนอันศักดิ์สิทธิ์ทรงมหิทธานุภาพทั้งสิ้น เช่น ชนวนหล่อพระสมเด็จองค์ปฐม ของ อ.ศุภรัตน์ แสงจันทร์ (ลูกศิษย์หลวงปู่ดู่วัดสะแก) และของ อ.สุธันย์ สุนทรเสวี ซึ่งท่านเป็นผู้รวบรวมชนวนสำคัญๆจากทั่วประเทศได้มากที่สุดท่านหนึ่งก็ว่าได้ อาทิเช่น
- ชนวนพระกริ่งสายวัดสุทัศน์หลายรุ่นนับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นต้นมา



- ชนวนพระกริ่ง “บวรรังสี” และ “ปวเรศ” วัดบวรนิเวศวิหาร
- ชนวนพระกริ่ง “สังวรวิมลเถระ” และ “สายฟ้า” หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ชนวนพระกริ่ง “ทักษิณชินวโร” พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
- ชนวนพระกริ่ง “ไตรสรณคมน์” วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
- ชนวนพระกริ่ง “ชินบัญชร” หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง
- ชนวนพระกริ่ง “อรหัง” หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
- ชนวนพระกริ่ง “ไตรลักษณ์” หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
- ชนวนพระกริ่ง “ปรโม” หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี
- ชนวนพระกริ่ง “มหาจักรพรรดิ” หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
- ชนวนพระกริ่ง “สุตาธิการี” หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร
- ชนวนพระกริ่ง “ชินวังโส” หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
- ชนวนพระกริ่ง “นิมานโกวิท” หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง จ.อุตรดิตถ์ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีชนวนที่สำคัญๆในสายจตุคามรามเทพและจากที่สำคัญอีกหลายแห่ง ดังนี้
๑.) ชนวนรูปหล่อองค์จตุคามรามเทพองค์ใหญ่ของวัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่หล่อขึ้นในวันพ็ญเดือน ๑๒ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ได้รับจากโยมอุปัฏฐากหลวงปู่หวล ภูริภัทโท (พระอุปัฌาย์ของพระอาจารย์อติโชติ)



๒.) ชนวนองค์จตุคามรามเทพ “รุ่นเจ้าสัว” จากพระใบฎีกาปราณพ (หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ ชนวนเบ้าเอกรูปหล่อองค์จตุคามรามเทพองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ของวัดนางพระยา ที่หล่อเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ได้รับจากคุณหมออุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์
๓.) ชนวนรูปหล่อบูชาปรก ๓ เศียร รุ่นเกาะทะลุ ปี ๒๕๔๗ ได้รับจากคุณสุรศักดิ์ อัศวขจรกุล ซึ่งหลอมขึ้นโดยมีเหรียญแสตมป์ร้อยกว่าเหรียญและเหรียญปิดตาพังพระกาฬกว่าสิบเหรียญ นอกจากนี้ยังมีชนวนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสายจตุคามรามเทพอีกหลายอย่าง
๔.) ชนวนพระคณาจารย์จากทั่วประเทศรวบรวมโดยคุณสุธันย์ สุนทรเสวี สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม
๕.) ชนวนหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเงินของกองทุนหลวงปู่ปาน โสนันโท จากคุณธนสาร เซ้งรักษา
๖.) ชนวนหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมปางเปิดจักรวาล ของอาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์ (ลูกศิษย์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ)
๗.) ชนวนหล่อแหวนพระพุทธพรหมปัญโญเนื้อเงิน เป็นชนวนของหลวงปู่ดู่ ได้รับจากท่านอาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์
๘.) ชนวนหล่อหลวงปู่ทวด ของวัดเขาแร่ จ.สุโขทัย ได้รับจากคุณวิทยา ปทุมมัง (กองทุนคุณพระ)



๙.) ชนวนอื่นๆอีกหลายรายการ อาทิชนวนพระคณาจารย์ท่านอื่นๆ,ชนวนจากคุณแม่น้อยสมพร โศภนมาศ เป็นต้น
สำหรับแบบลอยองค์นั้น ที่ก้นคว้านรูอุดรผงที่รวบรวมจากมวลสารผงต่างๆทั่วประเทศ ผงมวลสารหัวเชื้อสายจตุคามฯปี ๓๐ ของท่านขุนพันธ์ฯโดยคุณฉันทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช ได้รับจากคุณหมออุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์ , ผงของหลวงหนุ่ยวัดคอหงษ์, ผงพระคณาจารย์สายใต้หลายรูป อาทิ พ่อท่านฉิ้น วัดเมือง จ.ยะลา, พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน จ.นครศรีธรรมราช, รวมถึงผงเก่าที่เคยรวบรวมไว้เคยสร้างเป็นพระเนื้อผงแล้วเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ มวลสารก็มีอัฐิธาตุ, อังคารธาตุ, เกศา, ชานหมาก, ผ้าจีวรของพระอริยสงฆ์ ๑๑๒ รูปอาทิ ครูบาเจ้าศรีวิชัย, หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่ดูลย์, หลวงปู่แหวน, หลวงตามหาบัว, หลวงปู่เหรียญ, หลวงปู่ตื้อ, หลวงปู่คำดี, หลวงปู่อ่อนสา, หลวงปู่จาม, หลวงปู่หล้า, หลวงปู่นิล, หลวงปู่สิม, หลวงปู่หล้าตาทิพย์, ครูบาเทือง, ครูบาชุ่ม, ครูบาชัยวงษาพัฒนา, ครูบาอินทจักร, ครูบาพรหมจักร, หลวงปู่คำแสนเล็ก, หลวงพ่อฤาษีลิงดำ, หลวงปู่บุดดา, หลวงปู่ดู่, หลวงปู่ทิม,หลวงพ่อกวย, หลวงปู่คำน้อย,หลวงปู่คำคะนิง ฯลฯ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระคณาจารย์สายกรรมฐานสายวัดป่าและทางภาคเหนือ,ภาคกลาง)
ชนวนต่างๆดังกล่าวนั้น ก่อนที่จะนำมาหลอมผสมในพระปิดตาพังพระกาฬในครั้งนี้ใช้ชนวนเช่นเดียวกันกับเหรียญรุ่น “เทวราชโพธิสัตว์มหาปาฏิหาริย์” โดยได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและเทวาภิเษกอีกหลายครั้งหลายหนดังนี้
๑.) พิธีพุทธาภิเษกรุ่น “มรดกพ่อ” วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๗
๒.) พิธีมหาจักรพรรดิพุทธาภิเษก “พระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคล” วัดชะเมา จ.นครศรีธรรมราช วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๘
๓.) พิธีพุทธาภิเษกรุ่น “เมตตามหาบารมี” ที่วัดพระบรมธาตุฯ จ.นครศรีธรรมราช วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๘
๔.) พิธีพุทธาภิเษกรุ่น “เจ้าสัว” วัดคอหงษ์ จ.สงขลา วันที่ ๒๑-๒๓ มีนาคม ๒๕๔๘
๕.) พิธีบวงสรวงครบรอบ ๑ ปี ปรก ๕ เศียร เกาะทะลุ ที่บ้านคุณสุรศักดิ์ อัศวขจรกุล วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๘
๖.) พิธีพุทธาภิเษก “อยุธยามหามงคล” วัดกษัตราธิราชวรวิหาร วันที่ ๙ กรกฏาคม ๒๕๔๘
๗.) พิธีพุทธาภิเษกรุ่น “จตุคามสะท้านฟ้า” วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๔๘
๘.) พิธีพุทธาภิเษกศาลหลักเมืองจ.ประจวบคีรีขันธ์ วันที่ ๑๓-๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ โดยพลตำรวจโท สรรเพ็ชญ ธรรมาธิกุล เป็นเจ้าพิธี
๙.) พิธีพุทธาภิเษกเหรียญมหาจักรจตุคามรามเทพ รุ่น “กฐินรวมใจ สามัคคี สันติสุข” ที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
๑๐.) พิธีมหาจักรพรรดิเทวาภิเษกรุ่น “สองแผ่นดิน” ที่วัดนางพระยา จ.นครศรีธรรมราช วันที่ ๑-๔ ธันวาคม ๒๕๔๘
๑๑.) พิธีเททองหล่อรุ่น “มหาราชมหาบารมี” วัดใหญ่ชัยมงคล จ.นครศรีธรรมราช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๘
๑๒.) พิธีพุทธาภิเษกรายนามพระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์ อธิษฐานจิตในงานนี้ จำนวน ๘ รูป วันเสาร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ เวลา ๑๘.๐๙ น. นั่งปรกชนวนทั้งหมดที่ใช้ในการเททอง
๑. พระครูสุภัทรธรรมโสภณ (หลวงปู่ทรง) วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง
๒. พระครูพิชิตธีรคุณ (หลวงปู่ธีร์) วัดจันทราวาส จ.บุรีรัมย์
๓. พระครูสิริชยาภรณ์ (หลวงพ่อทวี) วัดอ้อมใหญ่ จ.นครปฐม
๔. พระครูศิริธรรมรัต (หลวงพ่อหล่ำ) วัดสามัคคีธรรม จ.กรุงเทพฯ
๕. พระครูประโชติธรรมวิจิตร (หลวงพ่อเพิ่ม) วัดป้อมแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา
๖. พระอธิการเกษม (หลวงปู่อั๊บ) วัดท้องไทร จ.นครปฐม
๗. พระอาจารย์วิชา รติยุทโต วัดชอนทุเรียน จ.นครสวรรค์
๘. พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) วัดพุทธพรหมปัญโญ จ.เชียงใหม่
ทำการเททองหล่อนำฤกษ์ในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ ที่วัดอ้อมใหญ่ จ.นครปฐม เวลา ๑๕.๐๙ น. พร้อมกับพระของกองทุนหลวงปู่ปาน โสนันโท โดย ครูสมร รัชชนะธรรม ผู้เททองพระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม,พระกริ่งอรหัง หลวงปู่แหวน,พระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ,พระกริ่งปรโม หลวงพ่อเริ่ม ฯลฯ และพระกริ่งดังๆอีกมากมายหลายรุ่น มีพระคณาจารย์นั่งปรกดังนี้
๑. พระสุนทรธรรมานุวัตร (หลวงพ่อเอียด) วัดไผ่ล้อม จ.พระนครศรีอยุธยา
๒. พระครูสุวรรณศีลธิคุณ (หลวงพ่อพูน) วัดบ้านแพน จ.พระนครศรีอยุธยา
๓. พระครูวิบูลสิริธรรม (หลวงพ่อเพี้ยน) วัดตุ๊กตา จ.นครปฐม
๔. หลวงปู่ผล วัดนางหนู จ.ลพบุรี
๕. พระครูสังฆรักษ์อวยพร (หลวงพ่ออวยพร) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
๖. พระอาจารย์ชาญ สุมังคโล วัดถ้ำพระธรรมามาสน์ จ.พิษณุโลก
๗. ครูบาอริยชาติ วัดพระธาตุดงสีมา จ.เชียงราย
๘. พระอาจารย์ชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี
รูปหล่อพระปิดตาพังพระกาฬลอยองค์ อุดผง ขนาดสูง ๓.๕ ซม. จำนวน ๕๙๙ องค์

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top