หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
พระสังกัจจายน์หล่อโบราณ วัดสังข์กระจาย ปี 2495 เนื้อทองผสม ก้นกลวง หล่อดินไทย
ชื่อร้านค้า | ชมรมพระเครื่องวรพรทองดีเลิศ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระสังกัจจายน์หล่อโบราณ วัดสังข์กระจาย ปี 2495 เนื้อทองผสม ก้นกลวง หล่อดินไทย |
อายุพระเครื่อง | 71 ปี |
หมวดพระ | พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | tongdeelert@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 09 ก.พ. 2560 - 21:56.28 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 09 ก.พ. 2560 - 21:56.28 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระสังกัจจายน์หล่อโบราณ วัดสังข์กระจายวรวิหาร ท่าพระ กรุงเทพฯ สร้างประมาณปี 2495 เนื้อทองผสม ก้นกลวง หล่อดินไทย ขนาดประมาณ 2 x 2.5 ซม. สภาพผิวหิ้งเดิม ๆ รับประกันว่าเป็นของแท้แน่นอน ท่านที่สนใจติดต่อสอบถามได้นะคะ Tel. 0819410767 Line id : jowtongdeelert ประวัติวัดสังข์กระจาย เรื่องราวของวัดสังข์กระจาย ที่กล่าวถึงมูลเหตุของการสร้างวัดนี้ เท่าที่พบในตำนานปรากฏไม่ค่อยละเอียดย่นย่อเกินไป เคราะห์ดีที่มีบันทึกเกี่ยวกับประวัติของวัดบางตอนของท่านเจ้าคุณพระอริยศี ลาจารย์ (วรรณ ป.3) อดีตเจ้าอาวาส ประกอบกับได้อาศัยคำชี้แจงของผู้สูงอายุบางท่านที่น่าเชื่อถือได้ มากลั่นกรองใคร่ครวญประกอบเป็นตำนานโดยยึดข้อเท็จจริงที่น่าจะเป็นหลัก ก็ทำให้รู้เรื่องราวได้พิสดารออกไปกว่าเดิม ตามบันทึก ท่านเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์เผยว่า ได้ฟังมาจากท่านเจ้าคุณพระสังฆวรานุวงศ์เถระ (เอี่ยม) พระอุปัชฌาย์ของท่านเองอีกต่อหนึ่ง ท่านบอกว่า ตำแหน่งที่วัดตั้งอยู่นี้แต่เดิมเป็นที่ลุ่มราบผู้เฒ่าผู้แก่ก่อน ๆ ท่านก็รับสมอ้างว่าจริง น่าจะเป็นด้วยอยู่ริมคลองน้ำขึ้นท่วมถึงได้ บริเวณก็รกร้างทึบ มีต้นไม้ขนาดคนสามคนโอบ เช่น ต้นไทร ต้นตะเคียน ต้นยาง ยืนต้นเคียงแข่งกันแลดูครึ้มทะมึนวังเวง ไม้เครือเถาต่าง ๆ ก็ขึ้นไต่ต้นไม้สูง ๆ ระโยงรยางค์ยั้วเยี้ยไม่ผิดกับป่าลึกดงร้าง นี่น่าจะเป็นมาตั้งแต่ครั้งที่ยังไม่ได้สร้างวัดเสียอีก ต้นไม้เหล่านี้ส่วนมากได้ตัดเสียครั้งท่านเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์ (เอี่ยม) ในรัชกาลที่ 5 ในสมัยท่านเจ้าคุณวรรณก็ยังเป็นดงอยู่มาก แต่ละต้นสูงใหญ่เงื้อมฟ้าทั้งนั้น กล่าวกันว่า เคยมีนกแร้งมาอาศัยออกไข่ทำรัง ปัจจุบันยังมีเหลืออยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยสูงเหมือนก่อน เพราะได้โค่นลงเสียมากต่อมากนัก ในทำเนียบพระอารามหลวง แจ้งว่า ก่อนสร้างวัดขึ้นใหม่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้ วัดสังข์กระจายเป็นวัดโบราณมาก่อน เห็นจะราว ๆ ยุคปลายกรุงศรีอยุธยาคาบเกี่ยวกับยุคต้นกรุงธนบุรี ได้สอบถามผู้หลักผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียงวัดนี้ และเคยพบเห็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยเจ้าคุณวรรณ ชี้แจงให้ฟังน่าจะมีเค้าสมจริง เพราะได้เคยขุดพบลูกนิมิตหลายลูกฝังอยู่ทางด้านนอกกำแพงแถบเหนือพระอุโบสถ เดี๋ยวนี้อยู่ถัดหลังวัดวิหารออกมา แต่ก็คงจะเป็นวัดเล็ก ๆ ภายหลังที่บ้านเมืองอยู่ในยุคทมิฬติดพันด้วยศึกพม่า ไร้ผู้คนและพระสงฆ์จะอยู่จึงร้างโรยราไป ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวัดที่ไม่ใหญ่โตอะไร จึงไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้จับหลักฐานได้มากนัก อีกประการหนึ่งก็คงจะถูกถอนเสียในคราวเริ่มสร้างใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นี่เอง ตำนานของวัดสังข์กระจายมีหลักฐานทราบได้แน่นอน ก็ตกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเรื่องเล่ากันมาว่า ในปลายสมัยกรุงธนบุรี มีสัปบุรุษผู้หนึ่ง เป็นสัมมาจารีบุคคล เคร่งครัดในการให้ทานบำเพ็ญกุศลและสดับธรรม สมาทานศีลอุโบสถอยู่เป็นนิจ เป็นสัปบุรุษที่มีจริยาวัตรน่าเลื่อมใสของวัดราชสิทธาราม สัปบุรุษผู้นี้เป็นข้าราชการตำแหน่งนายสารบบ (ในกรมพระสุรัสวดี) ชื่อนายสังข์ ตั้งบ้านเรือนอยู่บนฝั่งห่างจากปากคลองบางวัวทองลึกเข้าไปประมาณ 7 เส้นเศษ จำเนียรกาลมา นายสังข์ได้มีจิตศรัทธาดำริจะสร้างวัดขึ้นใหม่ในที่ดินแดนนี้ จึงได้ไปปรึกษากับนายพลับผู้ชอบพอคุ้นเคยกัน เพื่อขอไม้ซุงมาสักต้นหนึ่ง นายพลับเมื่อได้ทราบดังนี้ ก็อนุโมทนาพลอยยินดีด้วย และอนุญาตให้ซุงต้นหนึ่งตามความประสงค์ เมื่อตอนล่องซุงในคลองบางวัวทอง นายสังข์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ เดชะ ด้วยอำนาจบุญญปณิธาน หากซุงที่ข้าพเจ้าปล่อยให้กระแสน้ำพัดล่องไปตามลำคลองนี้ลอยไปติด ณ ที่ใด ข้าพเจ้าก็จักจัดการสร้างวัดขึ้นตรงนั้น” ซึ่งเป็นธรรมดาของคนโบราณย่อมถือในเรื่องอำนาจบุญดลบันดาลและเทพาบันดาลหนุน ด้วยอำนาจเสี่ยงสัตยาธิษฐานซุงก็ได้ลอยมาติดตรงหน้าวิหารปัจจุบันนี้เป็น อัศจรรย์ มีทำเลพอเหมาะพอดีควรแก่การสร้างวัดนัก นายสังข์จึงเลยตกลงสร้างวัดตรงนี้ แต่การสร้างวัดนั้นเป็นเรื่องใหญ่โต ต้องค่อยทำค่อยไปตามกำลังทรัพย์และเวลาจะเกื้อหนุนให้ หนแรกนายสังข์ได้คิดสร้างกุฏิวิปัสสนาขึ้นก่อน จึงได้เลื่อยซุงท่อนนั้นออกเป็นเครื่องบน กุฏิวิปัสสนานี้ ก่ออิฐถือปูนขาว กว้าง 2 วา ยาว 3 วา 1 คืบ สูง 2 วา 1 คืบ เท่านั้น ไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ มีประตูหน้าต่างอย่างละหนึ่งบาน ซ้ำทำไว้เล็ก ๆ อีกด้วย ข้างในทำเป็นแท่นก่อปูนสำหรับนั่งนอนหรือใช้เป็นที่บำเพ็ญวิปัสสนาเหมาะ เฉพาะเพียงคนเดียว ต่อมาเจ้าจอมแว่น หรือที่เรียกขานกันว่าคุณเสือ เป็นชาวเมืองเวียงจันทร์ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ส่งข้าหลวงสนิทคนหนึ่งเป็นหญิงมดชื่อจ่ายให้ไปเฝ้าสวนของตนซึ่งมี เนื้อที่ติดกับที่ของนายสังข์ นางจ่ายคนนี้น่าจะมีอะไรแปลก ๆ เป็นแน่จึงเรียกกันว่าแม่มด และเจ้าจอมแว่นคงจะเห็นเหมาะที่จะเฝ้าสวนจึงได้ส่งมา ภายหลังไม่นานนางจ่ายกับนายสังข์มีความสนิทชอบพอกันมาก จึงดำริร่วมใจกันที่จะสร้างวัดนี้ต่อไป นางจ่ายถึงกับขันอาสาไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าจอมแว่น ในที่สุดความปรารถนาของทั้งสองก็สมประสงค์ เจ้าจอมแว่นได้มอบทุนให้มาจำนวนหนึ่ง ครั้งหลังก็ได้สร้างเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง คือ สร้างกุฏิขึ้น 4 คณะ ทางมุมด้านใต้เป็นกุฏิตึกถือปูนทั้งหมด แต่ละคณะก็มีกุฏิ 4 หลัง หลังหนึ่ง ๆ มี 2 ห้อง กุฏิเจ้าอาวาสปลูกอยู่ทางทิศตะวันออกของคณะ ได้สร้างถนนผ่านระหว่างช่องกุฏิ แล้วก่อกำแพงอิฐล้อมรอบสูง 1 วา มีประตูเข้าออกทั้ง 4 ทิศ บริเวณที่หมู่กุฏินี้ตั้งอยู่ บัดนี้กลายเป็นเขตบ้านเช่าไปหมดแล้ว ครั้นแล้วเสร็จ เมื่อจะขอพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นตอนที่จะเชิดหน้าชูตาผู้สร้าง ก็เกิดทะเลาะเบาะแว้งเป็นปากเสียงเกี่ยงแย่งกันจะเอาชื่อ นางจ่ายก็อยากจะขอพระราชทานในนามของตนเพราะตัวอุตส่าห์วิ่งหาเงินหาทองมาส ร้าง ฝ่ายนายสังข์ก็ไม่ยอม ปรารถนาจะขอในนามของตนเหมือนกัน เพราะตนก็สละหยาดเหงื่อและแรงกายทุ่มเทมาตั้งแต่แรกเริ่มแทบล้มแทบตาย จึงเมื่อต่างมาเกิดแตกคอกันขึ้นในเรื่องนี้ นางจ่ายจึงวิ่งเข้าหาเจ้าจอมแว่นนายตน เล่าความเป็นมาให้ทราบ โดยฐานะที่เจ้าจอมแว่นเป็นที่พระสนมเอก พระเจ้าอยู่หัวโปรดปรานมาก จะทูลอะไรก็ทูลได้ ครั้นเมื่อได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอให้พระราชทานวิสุงคามสีมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสว่า วัดที่นายสังข์นางจ่ายสร้างขึ้นนั้น ไม่สวยสมเกียรติกับพระสนมเอกเช่นเจ้าจอมแว่น ทรงรับจะสร้างพระราชทานใหม่ จึงโปรดเกล้าให้กรมหมื่นไกสรวิชิตมาเป็นนายงานควบคุมสร้างพระอุโบสถขึ้น ให้หันหน้าไปทางคลองบางวัวทองอยู่เคียงกับกุฏิสงฆ์ของเดิม พร้อมกับได้สร้างกุฏิขึ้นใหม่อีกหมู่หนึ่งตรงมุมพระอุโบสถด้านใต้อีกด้วย เล่ากันว่า แรกขุดพระอุโบสถนั้น พบพระกัจจายน์องค์หนึ่ง กับสังข์ตัวหนึ่ง เฉพาะสังข์ชำรุดเพราะแรงจอบเสียมที่ขุด ส่วนพระกัจจายน์ที่ขุดได้ครั้งนั้นให้เก็บรักษาไว้เป็นพระคู่อาราม พอสร้างสำเร็จเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงถือเอานิมิตเหตุอันนี้พระราชทานนามว่า “ วัดสังข์กระจาย” นึกคิดดูแล้วก็น่าแปลก วัดนี้นายสังข์กับนางจ่ายเป็นผู้ริเริ่มสร้าง เมื่อนำเอาชื่อของคนทั้งสองมาเข้าคู่กันเป็น “ สังข์- จ่าย” ก็รู้สึกว่าฟังใกล้เคียงกับคำว่า “ สังข์กระจายน์” นามที่พระราชทานเป็นที่สุด. #อ้างอิงจาก หนังสือประวัติวัดสังข์กระจาย พ.ศ.2533 |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments