หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
เหรียญหล่อหลวงปู่ชู วัดนาคปรก พิมพ์หลวงพ่อโต หลังจาร เนื้อสัมฤทธิ์เงิน สวยแชมป์
ชื่อร้านค้า | ไททั้น พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญหล่อหลวงปู่ชู วัดนาคปรก พิมพ์หลวงพ่อโต หลังจาร เนื้อสัมฤทธิ์เงิน สวยแชมป์ |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | avatitan@hotmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 25 พ.ค. 2560 - 08:48.05 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 20 พ.ค. 2563 - 15:31.05 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญหล่อหลวงปู่ชู พิมพ์หลวงพ่อโต หลังจาร มะ อะ อุ เนื้อสัมฤทธิ์เงิน สวยแบบแชมป์ๆ เดิมๆ และสวยที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา.... สำหรับพระองค์นี้ หล่อได้ติดชัดเจนมากๆ ฟอร์มเต็ม ช่างแทบไม่ต้องตะไบตกแต่งอะไรมากเลย ^_^ ------- ย้อนไปในวัยเด็กของกระผม ตั้งแต่จำความได้ ก็ยังนึกถึงภาพความสนุกสนานที่ได้วิ่งเล่นกับเพื่อนๆอยู่ที่หน้าลานวัดนาคปรก หรือไม่ ก็พากันไปว่ายน้ำเล่นใต้ชั้นล่างของมณฑปหลวงปู่ชู (ชั้นล่างของมณฑปเดิมเป็นบ่อน้ำเลี้ยงเต่าปลา ต่อมาได้ถมที่และปรับเป็นห้องโถงโล่ง ภายในแบ่งเป็นช่องเก็บอัฐิบรรพบุรุษของตระกูลต่างๆ) ... ด้วยเหตุนี้กระผมจึงได้กราบไหว้รูปเหมือนหล่อ ที่ประดิษฐานภายในมณฑปของท่านอยู่เป็นนิจ หลวงปู่ชู ท่านจึงเป็นพระเกจิอาจารย์อีกองค์หนึ่งที่สถิตอยู่ในหัวใจของผมเสมอมา.. เกร็ดความรู้ ...... หลวงพ่อโตและหลวงพ่อเบิ้ม แห่งวัดนาคปรก (พระสองพี่น้อง) (การสร้างพระครั้งที่1)หลวงพ่อโตหลวงปู่ชู คงชูนาม อดีตเจ้าอาวาสวัดนาคปรก ได้ทำพิธีหล่อหลวงพ่อโตขึ้นเมื่อ พ.ศ.2465 โดยหล่อด้วยเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ พร้อมกันทั้ง 2 องค์ หลวงปู่ตั้งใจสร้างเป็นพระพุทธซ้อน ปัจจุบันเหลือเพียงองค์เดียว อีกองค์นำไปถวายที่จังหวัดกำแพงเพชร ส่วนโลหะทองเหลืองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธซ้อนในครั้งนั้น ท่านได้นำมาสร้างเป็นเหรียญพระพุทธซ้อนขนาดเล็ก เพื่อบรรจุในไหโบราณ (เมื่อ พ.ศ.2516 ทางวัดได้นำมาให้ประชาชนได้บูชา เพื่อหารายได้พัฒนาวัด) หลวงปู่ท่านได้อธิฐานไว้ว่า "ผู้ใดได้กราบไหว้หรือมีพระพุทธพุทธซ้อน เพื่อสักการะบูชา ให้แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี ป้องกันศาสตราวุธ" (การสร้างพระครั้งที่2) "หลวงพ่อเบิ้ม" หลวงปู่ชู คงชูนาม หล่อขึ้นจากปณิธานความตั้งใจให้เป็นพระพุทธรูปที่องค์ใหญ่ที่สุดในวัด ประดิษฐานเป็นที่สักการะของศาสนิกชนทั่วไป ได้ทำการหล่อเมื่อวันอาทิตย์ที่ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนเมษายน พ.ศ. 2472 เมื่อการหล่อเสร็จสิ้นแล้ว ท่านได้ถวายชื่อที่เป็นสามัญชาวบ้านว่า " หลวงพ่อเบิ้ม " ตามพุทธลักษณะที่ใหญ่โตน่าเกรงขาม ส่วนโลหะทองเหลืองที่เหลือจากการหล่อหลวงพ่อเบิ้ม หลวงปู่ชูท่านได้ทำการสร้างเป็นพระรูปหล่อหลวงพ่อโตองค์หลายเนื้อ อาทิ เนื้อสัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตะกั่ว และเนื้อดิน โดยบรรจุไว้ในหลวงพ่อเบิ้มองค์ใหญ่ การณ์ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2516 ทางวัดได้นำมาให้ประชาชนได้บูชา(เพื่อหารายได้พัฒนาวัด) หลวงปู่ท่านได้อธิฐานไว้ว่า "ผู้ใดได้มาขอพรหลวงพ่อเบิ้ม (โต) ขอให้มีอำนาจวาสนายิ่งใหญ่ ฐานะความเป็นอยู่ใหญ่โต เมื่อทำการใหญ่ใดๆ ให้ประสบสมหวัง มีเมตตามหานิยม" -ประวัติการสร้างเหรียญหล่อพระหลวงพ่อโต วัดนาคปรกนั้น พระอธิการชู คงชูนาม (หลวงปู่ชู) อดีตเจ้าอาวาสวัดนาคปรก ท่านได้สร้างเมื่อคราวทำพิธีหล่อองค์พระหลวงพ่อโตทั้งสององค์สองครั้ง โดยสร้างหลวงพ่อโตองค์เล็กครั้งแรกในปี พ.ศ.2465 และสร้างหลวงพ่อโตองค์ใหญ่เป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ.2472 เพื่อประดิษฐาน ณ วิหารหลวงพ่อโต วัดนาคปรก เพื่อให้ประชนผู้เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้ในองค์หลวงพ่อโต พระหลวงพ่อโต วัดนาคปรก เนื้อทองเหลืองแตกกรุสองครั้งคือ ครั้งแรกแตกเมื่อมีโขมยใจบาปมาแอบตัดเศียรองค์หลวงพ่อโต แต่ก็เกิดสิ่งอัศจรรย์ในคราวนั้นเมื่อขโมยไม่สามารถนำเศียรองค์ของหลวงพ่อโตไปได้ เดินหลงทางหาทางออกจากวัดไม่ได้จนเกือบใกล้รุ่ง หัวโขมยใจบาปจึงได้นำเศียรขององค์หลวงพ่อโตไปแอบซุกไว้ที่พงหญ้าริมกำแพงโบสถ์ ซึ่งในครั้งนั้นทางวัดโดย ท่านพระครูศรีพัฒนคุณ ท่านเจ้าอาวาสวัดนาคปรกในสมัยนั้นและกรรมการวัดได้ทำการสำรวจที่องค์หลวงพ่อโต จึงได้พบพระพิมพ์หลวงพ่อโต เป็นพระแผงเนื้อทองเหลืองจำนวนหนึ่ง ทางวัดจึงได้เก็บรักษาไว้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2516 ทางวัดต้องการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดและขยายถนนที่เล็กคับแคบให้กว้างขึ้น เพื่อสะดวกแก่ญาติโยมที่ต้องอาศัยทางของวัดเพื่อสัญจรเดินทาง จึงจำเป็นต้องทำการรื้อถอนเรือสำเภอปูนโบราณ ซึ่งได้สร้างขึ้นในสมัยของท่านหลวงปู่ชู คงชูนาม อดีตเจ้าอาวาสวัดนาคปรก และยังได้ รื้อถอนสถูปเจดีย์เก่าที่อยู่ข้างเรือสำเภาปูนออกด้วย ในการรื้อถอนครั้งนั้นทางวัดได้พบ 1.พระพิมพ์หลวงพ่อโตเนื้อเนื้อสัมฤทธิ์อีกจำนวนหนึ่ง 2.พระพิมพ์หลวงพ่อโตเนื้อดินเผาหลายสิบไห 3.พระพิมพ์กลีบบัวมีทั้งเนื้อดินเผา-เนื้อว่าน,เนื้อชานหมาก,เนื้อชินตะกั่ว จำนวนไม่มาก 4.พระพิมพ์แหวกม่านเนื้อผงขาว พิมพ์ใหญ่ ปีกเกิน 5.พระพิมพ์แหวกม่านเนื้อผงขาว พิมพ์เล็ก 6.พระพิมพระสังกัจจายน์เนื้อดินเผา จำนวนไม่มาก 7.พระปิดตา เนื้อดิน 8.พระพิมพ์ชินราชใหญ่หลังมีจาร และไม่มีจาร เนื้อดินเผา จำนวนไม่มาก 9.พระพิมพ์ชินราชเล็กหลังมีจาร และไม่มีจาร (คะแนน)เนื้อดิน 10.พระพิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์หลังจาร และไม่มีจาร มีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน 11.พระหลวงพ่อโตเนื้อชินตะกั่วพิมพ์สามเหลี่ยม(นางพญา) จำนวนไม่มาก อีกทั้งยังพบพระฝากกรุไว้ในสถูปเจดีย์เก่าที่อยู่ข้างเรือสำเภาปูนอีกจำนวนหนึ่ง พระที่ทางวัดพบในเรือสำเภาปูนโบราณนั้น พระทั้งหมดถูกบรรจุไว้ในไหโบราณ จึงทำให้พระกรุหลวงพ่อโต วัดนาคปรกที่พบในครั้งนั้นอยู่ในสภาพค่อนข้างดี ทางวัดนาคปรกซึ่งกำลังบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดอยู่ในขณะนั้น จึงได้เปิดให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาในองค์หลวงพ่อโตและท่านหลวงปู่ชู วัดนาคปรก ได้เช่าบูชาโดยกำหนดราคาให้เช่าบูชาที่ 1.พระหลวงพ่อโตเนื้อสัมฤทธิ์ ทั้งที่พบในเรือสำเภาปูนโบราณและพระแผงที่พบในท้ององค์หลวงพ่อโตเอามาเลื่อยออกแบ่งเป็นองค์พระ องค์ละ 1000 บาท 2.พระหลวงพ่อโตเนื้อชินตะกั่วพิมพ์สามเหลี่ยม(นางพญา)องค์ละ 1000 บาท 3.พระพิมพ์กลับบัวเนื้อดินเผาราคาองค์ละ 200 บาท ส่วน เนื้อว่าน,เนื้อชานหมาก,เนื้อชินตะกั่วองค์ละ 500 บาท 4.พระพิมพ์แหวกม่านเนื้อดินเผา องค์ละ 200 บาท เนื้อดินดิบผสมว่าน องค์ละ 500 บาท 5.พระพิมพ์แหวกม่านเนื้อผงขาว องค์ละ 100 บาท 6.พระพิมพ์พระสังกัจจายน์เนื้อดินเผา องค์ละ 50 บาท 7.พระพิมพ์ชินราช หลังจาร อุ เนื้อดินเผา องค์ละ 50 บาท 8.พระปิดตา เนื้อดินเผา องค์ละ 50 บาท หลังจากทางวัดนาคปรกเปิดให้เช่าบูชา พระทุกพิมพ์ได้หมดจากวัดนาคปรกไปในเวลาอันรวดเร็วเหลือแต่พระหลวงพ่อโตเนื้อดินเผาซึ่งมีจำนวนที่พบเป็นจำนวนมากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ แต่ก็หมดลงไปจากวัดในอีกไม่กี่ปีต่อมา เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย - สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ -ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments