หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
กรุนาดูน ตัดหก มะขามเปียก นิยม
ชื่อร้านค้า | คนหลังเขา - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | กรุนาดูน ตัดหก มะขามเปียก นิยม |
อายุพระเครื่อง | 1306 ปี |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | theanchai1@gmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 05 ธ.ค. 2554 - 16:49.15 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 19 ธ.ค. 2558 - 01:26.44 |
รายละเอียด | |
---|---|
กรุนาดูนตัด6 ได้เป็นพระ 4 องค์ ต้นไม้ 2 ต้น ตัดแบ่งจากพิมพ์ 108 อรหันต์ครับ โอกาสน้อยครับที่จะได้ต้นไม้ เพราะในพิมพ์นี้จะมีต้นไม้ไม่กี่ต้น หายาก เนื้อออกสีมะขามเปียก สวยจริงแท้ครับผม หมายเหตุ: ภาพที่ 3 ลงไว้เพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาและเปรียบเทียบครับ พระกรุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พุทธศิลป์สมัยทวาราวดี อายุ มากกว่า 1300 ปี *** แบบพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน*** พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนที่ขุดพบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ นั้น เป็นพระพิมพ์ดินเผา ฝีมือช่างประจำราชสำนัก โดยในกอมระตาญง์พร้อมด้วยพระสหายได้ร่วมกันสร้างไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาสืบต่อพระพุทธศาสนา พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน มีพุทธศิลป์ ลวดลายลีลาอ่อนช้อยสวยงามและเป็นศิลปะสมัยทวาราวดีมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๖ (หรือประมาณ ๑,๓๐๐ ปี)เนื้อพระพิมพ์แข็งแกร่งมาก พระพิมพ์บางองค์กลายเป็น เนื้อหิน สีเนื้อพระพิมพ์มี ๕ สี คือสีหิน(น้ำตาลแก่) สีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองมันปู สีชมพู สีแดงหินทราย และสีขาวนวล (สีเท่าอ่อน) ในพระพิมพ์เกือบทุกพิมพ์จะมี รูปเจดีย์ และสถูปจำลองปรากฎอยู่เสมอ และเป็นพระพิมพ์เล่าเรื่องพุทธประวัติที่มีความหมายอยู่ในตัว พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนที่ขุดพบ ได้นำตัวอย่างไปวิเคราะห์หาส่วนผสมโดย คุณโสดา รัตนิน แห่งมหาวิทยาลัยโอตาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งขณะนั้นได้ปฏิบัติงาน อยู่ที่โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาการวิเคราะห์ปรากฎว่า ส่วนผสมหลัก ได้แก่ ศิลาแลง ดินเหนียว แกลบข้าว ทราย กรวด ในตัวอย่างบางชิ้นมีเมล็ดข้าวผสมอยู่ด้วยส่วนผสมที่ใช้มากได้แก่ ทราย ซึ่งเมื่อเผาแล้วจะทำให้เนื้อดินมีความแกร่งมาก ลักษณะการเผาจะเผาแบบกลางแจ้งอุณหภูมิไม่คงที่ จึงทำให้สีของพระพิมพ์ดินเผาแตกต่าง กัน รูปลักษณะของพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน สามารถแบ่งออกได้เป็น ๖ รูปลักษณะ คือ ๑. แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี ๒๐ แบบพิมพ์ ๒แบบฐานสี่เหลี่ยมยอดโค้ง มี ๑๐ แบบพิมพ์ ๓. แบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มี ๗ แบบพิมพ์ ๔. แบบสามเหลี่ยมรูปใบไม้หรือรูปหอย มี ๓ แบบพิมพ์ ๕ แบบสี่เหลี่ยมจตุรัส มี ๑ แบบพิมพ์ ๖ แบบลอยตัวองค์เดียว มี ๑๑ แบบพิมพ์ -------------------------------------------------------------------------------- สรุป พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนมีแบบพิมพ์ในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๕๒ แบบพิมพ์ และความสำคัญของพระพิมพ์แต่ละชิ้น ความแตกต่างดังกล่าวย่อมมีความหมายอยู่ในตัวเอง อีกทั้งยังบอกถึงคติความเชื่อลัทธิศาสนาที่แฝงอยู่ด้วย ศาสตราจารย์ยอร์ซ เซเดส์ (G.COEDES) ได้กล่าวไว้ว่า “พระพิมพ์ในสมัยโบราณไม่ได้แสดงแต่เพียงรูปพระพุทธองค์แต่อย่างเดียว แต่ได้แสดงถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งหรือสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นการเฉพาะ” ซึ่งข้อความดังกล่าวปรากฎให้เห็นในพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน อย่างเด่นชัดอยู่แล้ว ที่มา : หนังสือเสริมประสบการณ์การเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น ของสปจ.มหาสารคาม "พุทธมณฑลอิสาน พระธาตุนาดูน มหาสารคาม" ใคร่ขอขอบคุณ และขออนุญาตินำข้อมูลมาเผยแพร่ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจ ได้ศึกษา ค้นคว้าไว้ ณ โอกาสนี้ ด้วยครับ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments