พระชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี2457 เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์นิยม ราคาเบาๆ-terasak99 - webpra
VIP
ยินดีให้บริการพระแท้และสวยดูง่ายครับ

หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

พระชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี2457 เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์นิยม ราคาเบาๆ

พระชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี2457 เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์นิยม ราคาเบาๆ - 1พระชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี2457 เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์นิยม ราคาเบาๆ - 2
ชื่อร้านค้า terasak99 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี2457 เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์นิยม ราคาเบาๆ
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
ราคาเช่า 5,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 089-4413396
อีเมล์ติดต่อ terasak.06@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระมาใหม่
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 08 ต.ค. 2567 - 14:07.55
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 13 ต.ค. 2567 - 21:59.58
รายละเอียด
พระชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี2457 เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์นิยม สภาพผ่านการใช้ยังสวยพิมพ์คมชัด หลังมีจาร แท้ดูง่าย ของดีราคาเบาๆแบ่งกันไปใช้ครับ องค์จริงตามรูป

***รับประกันตามกฎทุกประการ.***

วัดไตรมิตรวิทยาราม มีลำดับเจ้าอาวาสวัด ดังนี้

1. พระครูถาวรสมณวงศ์ (เปลี่ยน) ต่อมาได้ย้ายไปครองวัดปทุมคงคาราม ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ "พระปรากรมุนี"

2. พระครูวิริยานุกิจจารี (กล่อม)

3. พระครูวิริยานุกิจจารี (โม)

4. พระอธิการโป๊ ธมฺมสโร

5. พระใบฎีกาธำ อินฺทโชโต

6. พระมหากิ้ม สุวรรณชาติ

7. พระปริยัติบัณฑิต (คำ อาภารํสิเถร) รักษาการเจ้าอาวาสวัดอยู่ 2 ปี

8. พระมหาเจียม กมโล ป.ธ.5 น.ธ.เอก ต่อมาได้ลาสิกขา

9. พระวิสุทธาธิบดี (มหาไสว ฐิตวีโร) ป.ธ.7 เป็นเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2487 จนถึงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2531 รวมเวลาที่ครองวัดนานถึง 44 ปี

10. พระราชวีราภรณ์ (สนิท ชวนปญฺโญ) ป.ธ.9 ต่อมาเป็นพระเทพปัญญาเมธี

ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัด คือ พระสุโขทัยไตรมิตร อันล้ำค่า

กล่าวสำหรับวัดไตรมิตรวิทยาราม อีกสิ่งหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันอย่างดียิ่งในแวดวงของผู้ชมชอบพระเครื่อง นั้นคือ พระเกจิอาจารย์ดังพระเกจิอาจารย์เรืองนามของวัดไตรมิตรวิทยาราม นาม หลวงพ่อโม ธมฺมสาโร เป็นหลวงพ่อโม ผู้ซึ่งได้รับฉายานามว่า "เกจิอาจารย์ผู้กำราบมังกรอลังการ์" เพราะย่านสัมพันธวงศ์ หรือเยาวราช ในอดีตเป็นแหล่งรวมของบรรดานักเลงหลายก๊กหลายเหล่าทั้งไทยและจีน โดยเฉพาะนักเลงสายเลือดมังกรนั้นขึ้นชื่อลือชามากในเรื่องความโหดร้ายเหี้ยมอำมหิต ชนิดที่ว่านักเลงยุคนี้ต้องชิดซ้ายเทียบไม่ได้แม้ปลายเล็บ แม้ว่าจะซ่าขนาดไหนแต่นักเลงทุกรายต้องยอมศิโรราบให้ปรมาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้า เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน และเป็นที่เกรงกลัวของอันธพาลอย่างมาก นั่นก็คือ "หลวงพ่อโม วัดสามจีน" โดยเฉพาะนักเลงก๊กลักกั๊ก ซึ่งเป็นก๊กใหญ่ในฐานะ "เจ้าพ่อเยาวราช" ยุคนั้นต่างนับถือท่านกันทุกคน รายไหนรายนั้นแหวกอกเสื้อดูได้ ต้องห้อย "เหรียญรุ่นแรก ปี 2460" และ "พระพุทธชินราช" ของท่านกันทั้งนั้น

ชื่อ "วัดสามจีน" อาจไม่คุ้นหูคนยุคใหม่ เพราะชื่อเป็นทางการคือ "วัดไตรมิตรวิทยาราม" ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตของหลวงพ่อโมมาตั้งแต่ท่านยังเป็นฆราวาส และปัจจุบันวัดนี้เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก ชาวต่างชาติต่างติดอกติดใจในความงามของ "หลวงพ่อทองคำ" ซึ่งถูกบันทึกไว้ใน "กินเนสส์บุ๊ก" ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจมาก

หลวงพ่อโม หรือนามสมณศักดิ์ว่า "พระครูวิริยกิจการี" เป็นลูกชาวจีนแท้ๆ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีพ.ศ.2406 โยมบิดาชื่อ ลิ้ม โยมมารดาชื่อ กิมเฮียง แซ่ฉั่ว เดิมมีอาชีพค้าขายเป็นหลักอยู่ในย่านตลาดน้อย พอเข้าวัยการศึกษาบิดามารดาได้ส่งให้มาเล่าเรียนที่สำนักวัดสามจีน จนสามารถอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่วพออายุครบ 20 ปีได้เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสามจีน ในระหว่างปี พ.ศ.2426 โดยมี พระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ วัดหัวลำโพง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์แย้ม วัดสามจีน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ธัมมสาโร" เมื่อบวชแล้วได้อยู่จำพรรษาที่วัดสามจีน ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ด้วยความที่ท่านมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ไม่ว่าจะศึกษาวิชาการใดๆ ก็จดจำได้อย่างแม่นยำ จนเป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์ในด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านมีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง กล่าวกันว่าแทบทุกวันท่านจะเดินไปที่วัดปทุมคงคาเป็นประจำ เพื่อถ่ายทอดวิชาอาคม และวิปัสสนากับพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) พระอุปัชฌาย์ ซึ่งสมัยนั้นได้รับการกล่าวขวัญว่ามีวิชาอาคมเข้มขลังยิ่งนัก ลูกศิษย์ลูกหามากมายให้ความเคารพนับถือกล่าวกันว่า แต่ละวันจะมีประชาชนจากหลายสถานที่มาให้ท่านลงกระหม่อมด้วย "ขมิ้นชัน" ใครก็ตามหากท่านลงอักขระยันต์ที่กระหม่อม เมื่อเสียชีวิตที่กะโหลกศีรษะจะปรากฏอักขระยันต์ติดอยู่ เผาอย่างไรก็ไม่ไหม้ต้องนิมนต์ท่านมาถอนให้จึงจะเผาไหม้ ต่อมาทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ "พระปรากรมมุนี" ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่ จ.พิษณุโลก "หลวงพ่อโม" จึงได้ติดตามไปอยู่ด้วยเป็นเวลาหลายปี และหลังจากพระปรากรมมุนีได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดใหญ่จนเป็นระเบียบเรียบร้อย ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส (วัดรั้วเหล็ก) ฝั่งธนบุรี ส่วนหลวงพ่อโมได้กลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามจีน ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของท่านสืบต่อมาจนถึงบั้นปลายชีวิต ในปี พ.ศ. 2461 หลวงพ่อโมก็ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 30 กันยายน อายุได้ 55 ปี พรรษาที่ 34

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top