หมวด พระสมเด็จทั่วไป
พระสมเด็จเกศมงคล หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร รุ่นแรก ปี 2494 พิมพ์นิยม (4)
ชื่อร้านค้า | terasak99 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระสมเด็จเกศมงคล หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร รุ่นแรก ปี 2494 พิมพ์นิยม (4) |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระสมเด็จทั่วไป |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | terasak.06@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 20 ก.ย. 2565 - 22:09.08 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 15 ก.ค. 2567 - 06:47.26 |
รายละเอียด | |
---|---|
รุ่นแรก ปี2494 พิมพ์นิยมสองเกศ เนื้อผง สภาพสวยเดิมๆ ประสบการณ์ดีเยี่ยม ราคาเบาๆแบ่งกันไปใช้ องค์จริงตามรูป ***แท้ดูง่าย รับประกันตามกฎทุกประการ*** สมเด็จเกศมงคล หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร จ.กรุงเทพฯ ปี 2494 เป็นพระรุ่นแรกสุด และมีชื่อเสียงที่สุดของหลวงพ่อฑูรย์ เหตุที่ได้ชื่อว่า "เกศมงคล" เพราะผสมเส้นเกศาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านลงไปด้วย นอกจากนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์(นวม) ท่านยังได้มอบผงวิเศษทั้งห้าที่ท่านทำไว้ให้ และยังได้มอบผงวิเศษของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ท่านเก็บไว้นานแล้วให้อีกด้วย นอกจากหลวงพ่อฑูรย์ยังได้ผสมผงวิเศษของ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ลงไปจำนวนมากด้วย ดังนั้น พระสมเด็จรุ่นนี้จึงมีมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมาย ดังนี้ 1. ผงวิเศษ ของ ลป.ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ (นวม) มอบไว้ให้ 2. ผงวิเศษ ลพ.สด วัดปากน้ำ 3. ผงพระสมเด็จวัดระฆัง และพระกรุ วัดสามปลื้ม ที่ชำรุด 4. ผงตะไบ เนื้อชิน พระกรุชุมนุมสงฆ์ 5. ผงตะไบ เนื้อชิน พระกรุราชบรูณะ อยุธยา 6. ผงตะไบพระกริ่ง ท่านเจ้าคุณสนธิ์ วัดสุทัศน์ 7. ผงตะไบ ชนวนพระ ๒๕ พศว. 8. กระดาษสาลงยันต์ 108 ตามตำรับการสร้างพระกริ่งวัดสุทัศน์ 9. ดินจากสังเวชณียสถานสี่แห่ง และอื่นๆ 10. ว่าน ๑๐๘ 11. ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช เมื่อได้ฤกษ์ที่ท่านกำหนดคือ เมื่อปี พ.ศ. 2484 จึงกำหนดให้มีการจัดปริมณฑลอย่างถูกต้องตามตำรา และเริ่มนำมวลสารทั้งหมด มาผสมกับน้ำในสระศักดิ์สิทธิ์คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วเริ่มลงมือกดพิมพ์พระ หากเป็นพระภิกษุ และสามเณร จะต้องทำศีลให้สะอาดเสียก่อน และหากเป็นฆราวาสต้องสมาทานศีลห้า ขณะที่กดพิมพ์พระก็จะมีการบริกรรมภาวนา ทำใจให้เป็นกุศลพร้อมๆ กันด้วย เนื่องด้วยจำนวนพระที่มีการจัดสร้างนั้นมีจำนวนมากประมาณ 3-4 หมื่นองค์ ประกอบกับฤกษ์อันเป็นมงคลในแต่ละปีมีไม่กี่ครั้ง ทำให้การกดพิมพ์พระนั้นใช้เวลายาวนานหลายปี จนกระทั่งเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. 2497 หลังจากนั้นสมเด็จพุฒาจารย์ (นวม) ได้สั่งให้หลวงพ่อฑูรย์เอาแม่พิมพ์ไปทิ้งลงในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเป็นการประกาศว่าจะไม่มีการทำเสริมขึ้นมาอีก แล้วจึงนำพระทั้งหมดที่กดพิมพ์เสร็จแล้วมอบให้สมเด็จพุฒาจารย์ (นวม) ปลุกเสกเดี่ยวเป็นระยะเวลาพอสมควร ต่อจากนั้นได้นำไปให้พระเกจิอาจารย์ ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่สนิทชิดเชื้อกัน อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ฯลฯ ปลุกเสกเดี่ยว และได้มีการนำออกมาแจกครั้งแรก ในงานทำบุญฉลองอายุครบ 90 ปีของสมเด็จพุฒาจารย์ (นวม) เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2497 จำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นการแสดงมุทิตาจิตของ หลวงพ่อฑูรย์ที่มีต่อองค์อุปัชฌาย์ของท่านเอง ส่วนที่เหลือจึงได้นำกลับไปวัดโพธินิมิต และเก็บไว้ในกุฏิของท่านเพื่อทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น และปลุกเสกเดี่ยว ทำเช่นนี้ทุกวันหลายเดือน แล้วจึงนำออกแจกให้แก่ผู้ที่นำปัจจัยร่วมบุญกับท่าน เรื่องพุทธคุณของพระสมเด็จเกศมงคลรุ่นแรกนี้ เป็นที่เลื่องลือมานานว่า พุทธคุณเป็นเลิศทางด้านเมตตามหานิยม และโชคลาภ ดังนั้น บรรดาลูกศิษย์ของท่านที่มีพระสมเด็จเกศมงคลรุ่นแรกไว้บูชา จึงหวงแหนนักหนา นอกจากนั้นประสบการณ์ที่มีการพูดถึงกันมากก็คือ ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต และหน้าที่การงานด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่คำกล่าวอ้าง หรือคำชวนเชื่อ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนที่พกพาได้ประจักษ์ด้วยตนเองที่มีมาแต่เดิม และเป็นเพราะผู้ที่อาราธนาพระสมเด็จเกศมงคลรุ่นแรกไปนั้น ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของหลวงพ่อฑูรย์อย่างเคร่งครัด อันประกอบด้วย 1. มงคลวัตถุที่สร้างด้วยวิทยาคม จะทรงประสิทธิภาพหรือไม่นั้น หาใช่เป็นสิ่งที่สร้างเก่าหรือใหม่แต่ประการใดไม่ ขึ้นอยู่กับพิธีกรรมในการสร้างว่า ถูกต้องหรือไม่เพียงใด ผู้สร้างมีสมาธิหรือไม่ อันเป็นข้อสำคัญ พระเครื่องชุดนี้พระคณาจารย์ผู้ทรงคุณร่วมกันสร้าง และปลุกเสกหลายรูป ก็น่าจะมีประสิทธิภาพตามสมควร 2. ผู้ที่มีพระวัดโพธินิมิตรควรปฏิบัติเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง คือ หาดอกไม้ ธูป เทียน มาสักการบูชา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลที่ตนได้บริจาคทรัพย์ในการสร้างโบสถ์วิหาร ให้กล่าวคำอุทิศว่า "พุทโธ อะระหัง สุสุสิโท พุทโธ ภะคะวาติ พุทโธ นะโมพุทธายะ" (ว่า 3 จบ หรือ 7 จบ) 3. ต้องมีจิตใจเชื่อมั่นนับถืออย่างแท้จริง จึงจะบังเกิดผล 4. ต้องปฏิบัติตนตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม 5. ควรหาโอกาสบำเพ็ญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยการใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระอาจารย์ผู้ทรงคุณ แล้วตั้งจิตอธิษฐานตามความปรารถนา 6. ห้ามทดลองอย่างเด็ดขาด 7. เอาไว้กับตัวจะเป็นมงคลยิ่ง 8. เมื่อเกิดอุปสรรค หรือความทุกข์ใจ หรือโรคาพาธ ให้ทำน้ำมนต์อาบ หรือดื่ม โดยตักน้ำสะอาดใส่ภาชนะ แล้วเอาพระแช่ลงในน้ำ จุดธูป เทียน สักการะ ควรมีดอกไม้ด้วย ตั้งนะโม 3 จบ แล้วว่า "พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ" แล้วน้อมจิตระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จากนั้นให้อธิษฐานเอาตามความปรารถนา เสร็จแล้วบริกรรมคาถาในข้อ 2 ให้สำรวมจิตเพ่งเฉพาะเรื่องที่ปรารถนาเท่านั้น 9. ควรเจริญภาวนาคาถา "ชินบัญชรคาถา" เป็นประจำทุกวัน จะบังเกิดโชคลาภ และพ้นภัยพิบัติทั้งปวง ประเด็นที่น่าสนใจ และนักศึกษาสะสมรุ่นใหม่น้อยคนนักจะทราบคือ พระสมเด็จเกศมงคล รุ่นแรก มีแม่พิมพ์ในการจัดสร้างอยู่ 2 พิมพ์ โดยนักสะสมรุ่นอาวุโสเขาเรียกว่า "บล็อกแรก" กับ "บล็อกสอง" ความแตกต่างระหว่างบล็อกแรกกับบล็อกสองคือ 1. แม่พิมพ์ด้านหน้า และด้านหลังเป็นคนละตัวกัน 2. เนื้อหาของบล็อกแรกจะเข้มข้น เนื้อจัด ส่องแล้วจะซึ้ง 3. พิมพ์ทรงบล็อกแรกจะบิดงอตัวมากกว่า ไม่ว่าจะบล็อคไหน เจอะเจอที่ใดเก็บไว้ดีแน่ เพราะมีแต่ของแท้ไม่มี "ของเทียม" แถมยอดเยี่ยมในเรื่องพุทธคุณ อุ่นใจในยามพกพา ราคาสบายกระเป๋า หลวงพ่อฑูรย์ ท่านเป็นศิษย์โปรดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นพระเถระที่มีความสามารถทางด้านปฏิบัติภาวนา และมีอายุยืนรูปหนึ่งของเมืองกรุงในช่วงปี พ.ศ.2482-2483 นามเดิม "ฑูรย์ รัตนวราภรณ์" เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2453 ตรงกับวันอาทิตย์ เดือนแปด แรม 10 ค่ำ ณ บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาชื่อ "นายเกีย" มารดาชื่อ "นางฉัตร" เมื่ออายุ 17 ปี ได้บรรพชาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2470 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนแปด ปีเถาะ ณ วัดสุวรรณภูมิ โดยมีพระอาจารย์ขวด วัดสุวรรณภูมิ ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ อีก 3 ปีต่อมาจึงเข้าอุปสมบท เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2473 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนแปด ปีมะเมีย ณ วัดอนงคาราม ตำบลสมเด็จเจ้าพระยา อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี (ในสมัยนั้น) โดยมี พระโพธิวงศาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า "อัตตทีโป" ด้านวิทยฐานะ ปี พ.ศ. 2468 สำเร็จวิชาสามัญ ม.3 จากโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมื่อปี พ.ศ. 2473 สอบได้นักธรรมชั้นโท ณ สำนักเรียนวัดอนงคาราม ตำบลสมเด็จเจ้าพระยา อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี ด้านงานปกครอง ปี พ.ศ. 2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ปี พ.ศ. 2522 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงตลาดพลู และเมื่อปี พ.ศ. 2524 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงบางยี่เรือ สมณศักดิ์ปี พ.ศ. 2494 เป็นพระครูเจ้าอาวาสพระอารามหลวงที่ "พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ" พ.ศ.2501 เป็นพระราชาคณะสามัญที่ "พระโพธิวรคุณ" และปีพ.ศ. 2517 เป็นพระราชาคณะวิสามัญที่ "พระโพธิสังวรเถร" วาระสุดท้าย ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2535 เวลา 17.59 น. สิริอายุ 82 ปี |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments