พระคง กรุเก่า เนื้อดิน จ.ลำพูน-เทพนคร - webpra
พระกรุยอดนิยมแท้ดูง่าย

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระคง กรุเก่า เนื้อดิน จ.ลำพูน

พระคง กรุเก่า เนื้อดิน จ.ลำพูน - 1พระคง กรุเก่า เนื้อดิน จ.ลำพูน - 2
ชื่อร้านค้า เทพนคร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระคง กรุเก่า เนื้อดิน จ.ลำพูน
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า 5,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 094-9239871
อีเมล์ติดต่อ natthapohl987@gmail.com
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 20 ส.ค. 2565 - 15:51.51
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 20 ส.ค. 2565 - 15:53.29
รายละเอียด
ที่มาของพระคงลำะพูนเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) ในตำนานพงศาวดาร เมืองนี้ถูกสร้างขึ้นโดย "พระฤๅษี 4 องค์" แล้วเสร็จในราว ๆ ปี พ.ศ.1200 ซึ่งในขณะนั้นเมืองละโว้ หรือ ลพบุรี เป็นศูนย์กลางของแคว้น "ทวารวดี" ของชนเผ่ามอญ โดย "พระนางจามเทวี" ในปี พ.ศ.1205 ได้เสด็จมายังเมืองหริภุญชัย ทรงนำพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ พระไตรปิฎก รวมทั้งศิลปะวิทยาการต่างๆ และผู้คนอีกจำนวนมากขึ้นมายังเมืองหริภุญไชย และถูกอัญเชิญเป็นกษัตริย์ตั้งแต่นั้นมา พระนางทรงสร้างวัด และถาวรวัตถุในศาสนสถานที่สำคัญที่สุด คือ "จตุรพุทธปราการ" โดยการสร้างวัดไว้ทั้ง 4 ทิศ ที่ชาวเมืองเรียกว่า "วัดสี่มุมเมือง" เพื่อเป็นการคุ้มครองเมืองทั้งสี่ทิศซึ่งมีปรากฎอยู่ ดังนี้

1.วัดพระคงฤๅษี อยู่ด้านทิศเหนือ 2.วัดดอนแก้ว อยู่ด้านทิศตะวันออก 3.วัดมหาวัน อยู่ด้านทิศตะวันตก 4.วัดประตูลี้ อยู่ด้านทิศใต้

นอกจากนี้ที่พระเจดีย์ฤๅษี (วัดพระคงฤๅษี) ยังปรากฎรูปพระฤๅษีทั้งสี่องค์ ผู้ร่วมสร้างเมืองหริภุญไชยประทับยืนในซุ้มคูหาของพระเจดีย์ พร้อมทั้งมีคำจารึกไว้ที่ใต้ฐานว่า



"สุเทวะฤๅษี" ผู้รักษาเมืองฝ่ายทิศเหนือ "สุกกทันตฤๅษี" ผู้รักษาเมืองฝ่ายทิศใต้

"สุพรหมฤๅษี" ผู้รักษาเมืองฝ่ายทิศตะวันออก "สุมมนารทะฤๅษี" ผู้รักษาเมืองฝ่ายทิศตะวันตก

วัดทั้งสี่มุมเมืองนี้ "พระนางจามเทวี" ทรงสร้างขึ้นใน พ.ศ.1223 เป็นสถานที่สำคัญแหล่งกำเนิดกรุพระเครื่องอันมีชื่อที่สุดในลำพูน คือ พระรอด พระคง พระฤา พระบาง พระเปิม โดยองค์พระมีพุทธศิลปรูปแบบทวาราวดี และศิลปะศรีวิชัย ซึ่งเชื่อกันว่าพระกรุทั้งหลายเหล่านี้สร้างขึ้นโดยพระฤๅษี พร้อมกับการสร้างวัดในสมัย "พระนางจามเทวี" มีอายุการสร้างประมาณ 1300 ปี

พระคงมีการแตกกรุมาหลายครั้ง ในวงการมีการแบ่งออกเป็นกรุเก่า และ กรุใหม่

พระคงกรุเก่า มีการขุดพบกันนานมาก ประมาณร้อยกว่าปี ขุดพบครั้งแรกที่ กรุวัดพระคงฤๅษี และอีกในหลายวัดที่พระนางจามเทวีทรงสร้าง ลักษณะเนื้อพระกรุเก่ามีความละเอียด หนึบนุ่ม

พระคง กรุใหม่ มีการเปิดกรุครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ.2518 โดยทางวัดได้ซ่อมพื้นพระอุโบสถ ได้พบพระคงสีต่างๆ จำนวนมากนับหมื่นองค์ และทางวัดได้นำพระคงออกให้เช่าบูชาในขณะนั้นด้วย พระคงกรุใหม่นี้ มีพิมพ์ทรง และเนื้อเหมือนกรุเก่าทุกประการ จะแตกต่างกันบ้างที่เนื้อ พระคงกรุใหม่เนื้อจะค่อนข้างแห้งกว่า กรุเก่า ซึ่งบางองค์ก็มีคราบกรุเกาะแห้งกรัง พอนำมาใช้ระยะหนึ่ง องค์พระติดเหงื่อไคล ความแตกต่างทั้งกรุเก่า และกรุใหม่ใกล้เคียงกันมากแทบจะแยกไม่ออกเลย

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top