เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จ.อุบลราชธานี รุ่นที่ระลึกฉลองธรรม-ขุนว่อง - webpra
VIP
ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ร้าน "ขุนว่อง" 062-5924992

หมวด พระเกจิภาคอีสานเหนือ

เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จ.อุบลราชธานี รุ่นที่ระลึกฉลองธรรม

เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จ.อุบลราชธานี รุ่นที่ระลึกฉลองธรรม - 1เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จ.อุบลราชธานี รุ่นที่ระลึกฉลองธรรม - 2
ชื่อร้านค้า ขุนว่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จ.อุบลราชธานี รุ่นที่ระลึกฉลองธรรม
อายุพระเครื่อง 50 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานเหนือ
ราคาเช่า 450 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 062-5924992
อีเมล์ติดต่อ adisukhot@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 17 พ.ค. 2567 - 09:44.59
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 17 พ.ค. 2567 - 09:44.59
รายละเอียด
เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จ.อุบลราชธานี รุ่นที่ระลึกฉลองธรรมสภา ปี 2517 ประวัติ หลวงปู่ ท่าน พระครูวิโรจน์รัตโนบล ( รอด นันตโร ) หลวงปู่ ท่าน พระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือ หลวงปู่รอด นามเดิม บุญรอด นามสกุล สมจิตต์ เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี ท่านอุปสมบท ณ ที่วัดมณีวนาราม (ป่าน้อย) ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี และอยู่จำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้จนกาลถึงแก่มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปฏิปทาและจริยาสมบัติ หลวงปู่เป็นพระภิกษุที่ทรงคุณธรรมอันประเสริฐยิ่ง มีเมตตาจิตสูง มีวิริยะอุตสาหะและมีขันติธรรมอย่างแรงกล้า มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความสุขุมคัมภีรภาพมาก ปกตินิสัย ท่านเป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณาต่อชนทุกชั้นไม่ว่ายากดีมีจน มีปกติโอภาปราศรัยด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ผู้มีโอกาสได้เข้าใกล้ชิดท่านทุกคนรู้จักเคารพและมีศัทธาเลื่อมใสอิ่มเอิบในท่านโดยไม่มีวันจืดจาง ท่านมีปกติสอนคนให้เป็นคนดี และสร้างสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดี ท่านมีปกติมองทุกสิ่งทุกอย่างในทางที่ดีเสมอ การกระทำและคำพูดของท่านจะเป็นไปเพื่อความดีและมีคำว่าดีติดคำพูดของท่านอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งประชาชนทั้งหลายได้ร้องเรียกท่านด้วยความเคารพเลื่อมใสเพิ่มขึ้นอีกว่า ท่านพระครูดีโลด ทั้งนี้ก็เพราะไม่ว่าใครจะทำอย่างใดและพูดอะไรกับท่าน ท่านก็ว่าดีทั้งนั้น ไม่เคยขัดใจใครเลย ความเป็นผู้มีบุญญาภินิหาร เป็นธรรมเนียมประจำที่ถือกันมาตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ของชาวนครพนมจนกระทั่งถึงกาลปัจจุบันนั้นมีอยู่ว่า พระธาตุพนมนั้นมีความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เกรงกลัวและเป็นที่เรารถบูชาของชาวบ้านชาวเมืองอยู่เป็นอย่างยิ่ง เพราะถือกันว่ามีเทพาอารักษ์มีมเหศักดิ์คุ้มครองพิทักษ์รักษา ผู้ใด ๆ จะกล้ำกลายเข้าไปใกล้องค์พระธาตุโดยการขาดสัมมาคารวะต่อองค์พระธาตุมิได้ จะได้รับโทษทันตาเห็น แม้แต่ต้นไม้ต้นหญ้าซึ่งขึ้นอยู่ที่องค์พระธาตุนั้น ก็จะไม่มีผู้ใดกล้าแตะต้องได้ ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ ท่านพระครูสีทา วัดบูรพา ท่านอาจารย์มั่น และท่านอาจารย์หนู พร้อมด้วยคณะได้เดินธุรงค์มาถึงพระธาตุพนมแห่งนี้ได้เห็นความเลื่อมโทรมขององค์พระธาตุแล้ว ก็เกิดความสังเวชสลดใจใคร่ที่จะซ่อมแซม จึงได้แนะนำทายกทายิกาชาวเมืองธาตุพนมให้ลงไปอาราธนาหลวงปู่ท่านพระครูวิโรจน์ฯ วัดทุ่งศรีเมือง ขึ้นมาเป็นหัวหน้าดำเนินการบูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุ หลวงปู่ท่านพระครูวิโรจน์ ฯ ก็ยินดีรับอาราธนาขึ้นมายังธาตุพนมตามประสงค์พอท่านขึ้นไปถึง แล้วท่านก็ได้ให้มีการประชุมหัวหน้าของชาวบ้านชาวเมืองในการที่จะดำเนินการบูรณะซ่อมแซมชาวบ้านบอกว่าให้ท่านพาปูลานพระธาตุเพียงอย่างเดียวพอได้เป็นที่กราบไหว้บูชาก็พอแล้ว ไม่ยอมให้แตะต้ององค์พระธาตุโดยเด็ดขาด ท่านก็บอกชาวบ้านไปว่าถ้าท่านไม่ได้ไปบูรณะซ่อมแซมตั้งแต่พื้นดินยอดองค์พระธาตุแล้วท่านจะไม่ทำ ชาวบ้านคัดค้านโดยประการต่าง ๆ หาว่าท่านไม่ได้ตั้งอยู่ในศีลธรรม เพราะจะไปรื้นเจดีย์ตัดโพธิ์ศรีลอดหนังพระเจ้าเป็นบาปหนัก และกล่าวว่าถ้าปล่อยให้ท่านทำตามที่ท่านต้องการแล้ว เทพาอารักษ์ที่พิทักษ์รักษาองค์พระธาตุก็จะโกรธแค้นทำให้ชาวบ้านชาวเมืองเดือดร้อนต่าง ๆ นานา ท่านก็ได้ให้เหตุผลโดยประการต่าง ๆ ชาวบ้านชาวเมืองก็ไม่ยอม ท่านจึงแจ้งให้ทราบว่าถ้าไม่ยอมให้ท่านทำ ท่านก็จะกลับจังหวัดอุบลฯ ชาวบ้านก็เรียนท่านว่าจะกลับก็ตามใจ แล้วก็พากันเลิกประชุมกลับบ้านไป

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top