หมวด หลวงพ่อทบ วัดชนแดน - หลวงพ่อพวง วัดน้ำพุสามัคคี - หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม
เหรียญหลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม รุ่นไตรบารมี 2 (เพ็ชรกลับจันทร์ เ พ็ญ) ชุดสามกษัตริย์





ชื่อร้านค้า | สุริยันจันทรภานุ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญหลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม รุ่นไตรบารมี 2 (เพ็ชรกลับจันทร์ เ พ็ญ) ชุดสามกษัตริย์ |
อายุพระเครื่อง | 9 ปี |
หมวดพระ | หลวงพ่อทบ วัดชนแดน - หลวงพ่อพวง วัดน้ำพุสามัคคี - หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม |
ราคาเช่า | 12,000 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0639291944 |
อีเมล์ติดต่อ | chayooh@hotmail.com |
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 28 มิ.ย. 2554 - 12:37.49 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 19 ม.ค. 2557 - 06:20.41 |
รายละเอียด | |
---|---|
ไตรบารมี 2 หลวงพ่อผอง ธมฺมธีโร วัดพรหมยาม จ.เพชรบูรณ์ "ชุดสามกษัตริย์" หน้าฉลุองค์ทองคำ หลังเนื้อเงิน ขอบนาค 1 เหรียญ +เหรียญทองแดงลงยาสีแดง 1 เหรียญ +เหรียญทองแดงหูตัน 2 เหรียญ วัตถุประสงค์ : จัดหาปัจจัยเบื้องต้นสำหรับสร้างมณฑป ประดิษฐาน รูปเหมือนหลวงพ่อทบและหลวงพ่ออ้วน ให้เป็นถาวรสืบไป พิธีพ ุทธาภิเษก ๓ วาระ ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ห ลวงพ่อผอง ไตรบารมี 2 (เพชรกลับ-จันทร์เพ็ญ) คือวัตถุมงคลที่หลวงพ่อผองอนุญาตให้สร้างขึ้น เพื่อสมทบปัจจัยเบื้องต้นในการสร้างมณฑป สำหรับประดิษฐานรูปเหมือน 2 บูรพาจารย์ของหลวงพ่อผอง คือ หลวงพ่อทบ ธมฺมปญโญ วัดพระพุทธบาทชนแดน และ หลวงพ่ออ้วน เตชธมฺโม วัดดงขุย รูปลักษณ์ของเหรียญ ไตรบารมี 2 (เพชรกลับ-จันทร์เพ็ญ) ด้านหน้า : โดดเด่นด้วยรูปแบบ เหรียญเสมาธรรมจักรแบบประยุกต์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำองค์ประกอบของสุดยอดแห่งเหรียญนั่งพาน คือ เหรียญนั่งพาน หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ และ เหรียญจันทร์เพ็ญมหาปรารถนา หลวงปู่คำพันธ์ มาผสมผสานกัน เพื่อใช้เป็นแนวคิดหลักในการสร้างสรรค์การออกแบบอีกทั้งยังมีการนำความหมายของ พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์ มาสอดแทรกไว้อย่างลงตัวก่อเกิดเหรียญต้นแบบรุ่นใหม่ที่งดงาม โดดเด่นยิ่งดังรายละเอียดของ ไตรบารมี 2 ดังนี้ ด้านข้าง : ด้านซ้าย และ ขวาของเหรียญ ไตรบารมี 2 จำหลักภาพของสัตว์หิมพานต์ ชื่อว่า เหรา 2 ตน ขนาบไว้ทั้งสองข้าง ทอดหางยาว เกี่ยวกระหวัดขึ้น สู่ด้านบนของเหรียญอย่างมีลีลา งดงามในทุกรายละเอียด แม้เพียงเกล็ดเล็กๆ ก่อเกิดเส้นกรอบ ขอบซุ้มของเหรียญที่ไล่เรียง ลดหลั่นขึ้นไป จวบจนคล้องครอบปกปักษ์ พระพุทธ ที่จำหลักไว้ที่มุมบน เบื้องสูง แล้วเหราจึงตวัดหางทั้งคู่มาจรดจบลงที่ตำแหน่งของห่วงเหรียญด้านบนได้อย่างลงตัวพอดิบ พอดี อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ตรงกลาง : จัดวางพื้นหลัง ธรรมจักร อันเป็นสัญลักษณ์แห่ง พระธรรม ภายในธรรมจักรมีอักขระขอมเขียนว่า สัพพพุทธานุภาเว นะ สัพพธัมมานุภาเวนะ สัพพสังฆานุภาเวนะ อันมีความหมายว่า ด้วยอานุภาพทั้งปวงแห่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เบื้องหน้าธรรมจักร คือ รูปหลวงพ่อผองนั่งขัดสมาธิ ในลักษณะสำรวม สื่อถึง ความสงบร่มเย็น บนโต๊ะขาสิงห์ อันเป็นสัญลักษณ์ของ พระสงฆ์ ใต้โต๊ะขาสิงห์ จัดวางลายมือชื่อของ หลวงพ่อผอง ธมฺมธีโร ไว้อย่างสวยงาม ลงตัว ล่างสุด : สลัก ลายหน้าสิงห์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งตบะบารมี มหาอำนาจและลวดลายกนกที่อ่อนช้อยต่อลายไปบรรจบกับตัวเหรา ทุกรายละเอียดสอดร้อยกันอย่างลงตัว งดงาม วิจิตรบรรจง อลังการงานศิลป์ เกินคำบรรยายใดใด ให้ใกล้เคียงความงดงามของเหรียญ ไตรบารมี 2 องค์จริงได้ ด้านหลัง : คือยันต์ เพ็ชรกลับ ที่ศักดิ์สิทธิ์ เข้มขลังตามตำหรับของหลวงพ่อทบ ซึ่งมีพุทธคุณครอบจักรวาล ถัดลงมามีอักขระขอม เขียนไว้ว่า พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา ปิตุมาตุรักษา อันทรักษา พรหมารักษา เทวตารักษา และชื่อวัดพรหมยาม,จังหวัดเพชรบูรณ์ และวาระอายุที่ย่างเข้า 88 ปี ของหลวงพ่อผอง พิธีเสกวาระ 1. ภายในพระอุโบสถ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2553 ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีขาล เป็นจันทร์เพ็ญปีขาล ในวันนี้ฤกษ์บนเป็นโจโรฤกษ์ หมายความว่า ดีด้านการแข่งขันมีกำลังกล้าแข็ง เหมาะกับการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ตรงกับอักขระเลขยันต์หัวใจในยันต์เพ็ชรกลับอย่างยิ่ง หลังพิธีเสก ได้จัดให้มีพิธีทำลายแม่พิมพ์และโค๊ตของ ไตรบารมี 2 ท่ามกลางสักขีพยาน พิธีเสกวาระ 2. วันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2553 เสกเดี่ยวที่กุฎิเก่าหลวงพ่อผอง พิธีเสกวาระ 3. และพิธีสมโภช ไตรบารมี 2 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2553 ภายในพระอุโบสถ วัดพรหมยามพุทธาภิเษก วัตถุมงคล ไตรบารมี 2 เพชรกลับ-จันทร์เพ็ญ (วันที่21-26 พฤศจิกายน พ.ศ.2553) |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...










อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments