พระพุทธสิงห์ชัยมงคล-สมนึก - webpra
Tel / ID Line : 0895008566

หมวด พระบูชา

พระพุทธสิงห์ชัยมงคล

พระพุทธสิงห์ชัยมงคล - 1พระพุทธสิงห์ชัยมงคล - 2พระพุทธสิงห์ชัยมงคล - 3พระพุทธสิงห์ชัยมงคล - 4
ชื่อร้านค้า สมนึก - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธสิงห์ชัยมงคล
อายุพระเครื่อง 46 ปี
หมวดพระ พระบูชา
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ โทร.089-500-8566 / ID Line : 0895008566
อีเมล์ติดต่อ jinn.jinn@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 11 ก.ค. 2552 - 19:37.47
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 26 มี.ค. 2564 - 15:52.33
รายละเอียด
ประวัติย่อพระพุทธสิงห์ชัยมงคล
พระพุทธสิงห์ชัยมงคล เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน แบบสิงห์ ๑ หน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว สูง ๒๙ นิ้ว เนื้อสำริด
พลตรี พระยาพิชัยสงคราม (แก๊ป สรโยธิน) นักเรียนนายร้อย หมายเลข ๘๙ เมื่อจบ การศึกษาสอบไล่ได้อันดับที่ ๒ อดีตเจ้ากรมยุทธศาสตร์ทหารบก ดำรงตำแหน่งรักษาราชการ ผู้บัญชาการทหารบก ออกจากราชการแล้ว ได้มอบพระพุทธรูปองค์นี้ให้เป็นสมบัติของกองทัพบก เมื่อ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๗๖ หลังสมัยราชาธิปไตย

ต่อมาเมื่อสร้างหอประชุมกองทัพบกเสร็จในสมัย จอมพล สฤษดิ์ธนะรัชต์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานในหอประชุม
กองทัพบก เมื่อกองทัพบกได้สร้างศาสนสถานกลางกองทัพบก ในบริเวณกรมยุทธศึกษาทหารบก เสร็จในปี ๒๕๑๐ ด้วยงบประมาณ ๓,๘๐๐,๐๐๐.-บาท (สามล้านแปดแสนบาทถ้วน) จอมพล ประภาส จารุเสถียร ผู้บัญชาการทหารบก ได้สั่งการให้อัญเชิญนำไปประดิษฐานเป็นพระประจำศาสนสถานกลางของกองทัพบก เมื่อ ๖ มิถุนายน ๒๕๑๑ จนกระทั่งปัจจุบัน พร้อมกับถวายพระนามว่า “ พระพุทธสิงห์ชัยมงคล ” และถือว่า เป็นพระพุทธรูปบูชาประจำกองทัพบกมาจนทุกวันนี้

ในสมัย จอมพล ประภาส จารุเสถียร ได้กระทำพิธีเททองและกระทำพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธสิงห์ชัยมงคลประจำหน่วยทหาร ณ พระอุโบสถวัดชนะสงคราม
เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๒ จำนวน ๘๕๙ องค์ ดังนี้

ขนาดหน้าตักกว้า ๕ นิ้ว จำนวน ๖๘๕ องค์ สำหรับเป็นพระบูชาประจำหน่วยระดับ กองร้อย
ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว จำนวน ๑๐๐ องค์ สำหรับเป็นพระบูชาประจำหน่วยระดับ กองพัน
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๕ นิ้ว จำนวน ๗๐ องค์ สำหรับเป็นพระบูชาประจำหน่วยระดับ กรม กรมผสม กองพล มณฑลทหารบก และจังหวัดทหารบก
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๘ นิ้ว จำนวน ๔ องค์ สำหรับเป็นพระบูชาประจำกองทัพภาคทั้ง ๓ และมณฑลทหารบกที่ ๕
งบประมาณในการจัดสร้างทั้งสิ้น ๔๙๙,๘๗๕.-บาท (สี่แสนเก้าหมื่นเก้าพันแปดร้อย- เจ็ดสิบห้าบาทถ้วน) และประกอบพิธีมอบให้หน่วยต่าง ๆ ณ บ้านสุโขทัย เมื่อ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
***********************************************

ต่อมาในปี ๒๙ กองทัพบกได้ตระหนักว่า พระพุทธรูปบูชานับเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับหน่วยทหาร ที่จะต้องมีไว้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา และการสวดมนต์ก่อนนอนของทหารกองประจำการ
เพื่อเป็นการโน้มน้าวจิตใจของทหารให้มีความยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน อันจะเป็นประโยชน์แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติสืบ ต่อไป

แต่เนื่องจากหน่วยทหารบางหน่วย ยังไม่มีพระพุทธรูปบูชาที่กองทัพบก ได้จัดสร้างและแจกจ่ายไปแล้ว ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้มีดำริให้มีการจัดสร้างพระพุทธรูปบูชา เพื่อแจกจ่ายให้หน่วยทหารในกองทัพบก เป็นการบำรุงขวัญทหารในกองทัพบกถึงระดับกองร้อย เพื่อน้อมเกล้า ฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย เพื่อพระราชทานแก่หน่วยทหารในกองทัพบก เป็นการบำรุงขวัญทหาร และสร้างศรัทธาให้มีอุดมการยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ และเพื่อให้หน่วยทหารได้มีพระพุทธรูปบูชาเป็นแบบมาตรฐาน และจำลองแบบจากพระพุทธสิงห์ชัยมงคล พระพุทธรูปบูชาประจำกองทัพบกองค์เดียวกันทั่วทั้งกองทัพบก โดยจัดสร้างพระพุทธสิงห์ชัยมงคลคาดผ้าทิพย์ ประดับพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. จำนวน ๓,๐๘๒ องค์
ขนาดพระพุทธรูปที่จัดสร้าง ดังนี้

ขนาดหน้าตักกว้าง ๗ นิ้ว หน่วยระดับกองร้อย จำนวน ๑,๙๔๑ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว หน่วยระดับกองพัน จำนวน ๙๑๙ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๕ นิ้ว หน่วยระดับกรม, กรมผสม, กองพล, มณฑลทหารบก และจังหวัดทหารบก จำนวน ๒๑๔ องค์
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว หน่วยระดับหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก จำนวน ๘ องค์ งบประมาณในการจัดสร้างทั้งสิ้น ๒,๖๙๕,๑๐๐.-บาท (สองล้านหกแสนเก้าหมื่นห้าพัน หนึ่งร้อยบาทถ้วน)

ขั้นตอนการดำเนินการจัดสร้าง

ขั้นตอนที่ ๑ กองทัพภาคต่าง ๆ ได้ดำเนินการทำพิธีลงอักขระ จารึกแผ่นทอง นาก เงิน โดยเกจิอาจารย์ในแต่ละพื้นที่กองทัพภาค ดังนี้
กองทัพภาคที่ ๑ ทำพิธีเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๒๙ เวลา ๑๖๐๐ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยพระเกจิอาจารย์ จำนวน ๑๑ รูป
กองทัพภาคที่ ๒ ทำพิธีเมื่อ ๒๔ มีนาคม ๒๕๒๙ เวลา ๑๙๐๐ ณ วัดพระนารายณ์มหาราช จังหวัดนครราชสีมา โดยพระเกจิอาจารย์ จำนวน ๑๘ รูป
กองทัพภาคที่ ๓ ทำพิธีเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๒๙ เวลา ๑๙๐๐ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก โดยพระเกจิอาจารย์ จำนวน ๒๒ รูป
กองทัพภาคที่ ๔ ทำพิธีเมื่อ ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๙ เวลา ๑๓๓๐ ณ วัดพระมหาธาตุวร มหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพระเกจิอาจารย์ จำนวน ๕๓ รูป

ขั้นตอนที่ ๒ พิธีเททอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็น ล้นพ้นหาที่สุดมิได้ เสด็จพระราชดำเนินเททองพระพุทธรูปบูชา ประจำหน่วยทหารในกองทัพบก เมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๒๙ เวลา ๑๕๐๐ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นปฐมมหามงคลฤกษ์

ขั้นตอนที่ ๓ พิธีพุทธาภิเษก กระทำพิธี ณ วัดชนะสงคราม เมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๙ เวลา ๑๘๐๐ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน

ขั้นตอนที่ ๔ พิธีพระราชทานพระพุทธรูปบูชาประจำหน่วยทหาร ผู้บัญชาการทหารบก นำคณะประกอบด้วย แม่ทัพภาค ๑ - ๔ และ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานพระพุทธรูปบูชาประจำหน่วยทหาร จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๙ เวลา ๑๖๓๐ ณ พระราชวังสวนจิตรลดา และมีผู้บังคับหน่วยระดับกองพล และกรมฝ่ายเสนาธิการ เข้าร่วมพิธีจำนวน ๓๒ นาย

แนวทางในการปฏิบัติต่อพระพุทธรูปประจำหน่วย กรมพลาธิการทหารบก ได้กำหนดให้หน่วยที่ได้รับพระพุทธรูปใหม่ นำพระพุทธรูปเก่าส่งคืนไปเก็บรักษาไว้ที่จังหวัดทหารบก หรือมณฑลทหารบก โดยแจ้งยอดจำนวนพระพุทธรูปเก่าที่นำส่งคืนให้กรมพลาธิการทหารบกทราบ เพื่อเตรียมไว้สำหรับแจกจ่ายให้กับหน่วยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในโอกาสต่อไป

หน้าตัก 9 นิ้ว ตรากองทัพบก แปะด้านหน้า หนักมาก ๆ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top