หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
แม่นางกวัก หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา สุพรรณบุรี




ชื่อร้านค้า | สมนึก - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | แม่นางกวัก หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา สุพรรณบุรี |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | 999,999 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | โทร.089-500-8566 / ID Line : 0895008566 |
อีเมล์ติดต่อ | jinn.jinn@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ส. - 24 มิ.ย. 2566 - 13:58.16 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 20 ต.ค. 2566 - 13:07.50 |
รายละเอียด | |
---|---|
หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ประมาณว่าท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2406 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน อุปสมบทเมื่อประมาณ พ.ศ.2426 สันนิษฐานว่าคงเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น แล้วเดินทางไปปักกลดปฏิบัติธุดงควัตร อยู่บริเวณวัดหัวเขา ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ จากคำบอกเล่าของญาติโยม ที่เป็นคนเก่าแก่ ปลายสมัยของหลวงพ่ออิ่ม สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ในช่วงชีวิตสมัยที่ยังอยู่วัยหนุ่มนั้น เคยเป็นเสือปล้น ก่อนที่จะมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา จวบจนมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2480 สำหรับลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา สุพรรณบุรี เป็นพระเกจิยุคเก่าของเมืองสุพรรณบุรีในยุคเดียวกันกับ หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์ จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อพริ้ง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ หลวงพ่ออ้น วัดดอนปุปผาราม เป็นต้น หลวงพ่ออิ่ม เป็นลูกศิษย์ยุคต้นๆของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หากพูดถึงพระเกจิอาจารย์ที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ยกย่องกันแล้วหล่ะก็ “หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี” ก็นับเป็นอีกรูปหนึ่ง ที่หลวงพ่อปานกล่าวยกย่องด้วยความเคารพ โดยหลวงพ่อปาน เรียกหลวงพ่ออิ่มว่า “พระเจดีย์” ซึ่งหมายถึงว่า เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่น่าเคารพยกย่องเหมือนกับเป็นพระสถูป หรือพระเจดีย์ ที่ควรค่าแก่การสักการะบูชา และก็ต้องบอกว่า คำที่หลวงพ่อปานกล่าวยกย่อง ไม่เกินเลยความจริงแต่ประการใด เพราะพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองสุพรรณรูปนี้ เก่งอย่าง “ของจริง ของแท้” แบบเล่าขานปากต่อปาก ไม่ต้องโหมโฆษณาตามสื่อมวลชนแขนงต่างๆ กันแต่ประการใด มิหนำซ้ำ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ยังมีข้อวัตรปฏิบัติตรงตามพระธรรมวินัยสมเป็นพุทธบุตรอีกต่างหาก ถึงขนาดที่ว่า สามารถกำหนดอิริยาบถการมรณภาพได้อีกด้วย คือ ท่านกำหนดนั่งสมาธิมรณภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งบ่งบอกถึงภูมิจิต ภูมิธรรมขั้นสูงตามหลักพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีว่า หลวงพ่ออิ่ม ก็เป็นพระอริยบุคคลรูปหนึ่ง ในอดีตถ้าพูดถึงพระเกจิที่สร้างนางกวัก ได้ขลังและมีชื่อเสียงมากที่สุด จะต้องนึกหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ นางกวัก ของหลวงพ่ออิ่ม สร้างหลายครั้งก่อน ปี 2480 ลักษณะนางกวักหล่อโบราณ ด้วยสำริดทองเหลือง บางองค์แก่ทองคำ แต่ละองค์จะไม่เหมือนกัน สำหรับนางกวักยุคต้น ๆน่าจะสร้างราวปี 2460-70 นางกวักจะเป็นการปั้นหุ่นด้วยมือ ศิลปะของแต่ละองค์จะสวย เป็นนางกวัก ทรงสไบ ปั้นหุ่นที่ละองค์ สำหรับยุคต้น จะเป็นการปั้นหุ่นเทียนด้วยมือ แล้วหล่อแบบเบ้าหก เททีละองค์ออกมา นางกวักยุคต้น แต่ละองค์จึงไม่เหมือนกัน แต่จะมีลักษณะศิลปะใกล้เคียงกันเท่านั้น เนื้อจะมีลักษณะแก่ทองคำและเงิน สำหรับนางกวักยุคต่อมา จะเป็นการปั้นหุ่นเทียนด้วยมือ แล้วหล่อโดยมีแกนชนวน สามารถเทเป็นช่อ ได้คราวละหลาย ๆ องค์ เนื้อจะมีลักษณะเป็นทองผสม สำหรับนางกวักยุคปลาย จะเป็นการขึันหุ่นเทียนด้วยเบ้าปะกบ แล้วหล่อโดยมีแกนชนวน สามารถเทเป็นช่อ ได้คราวละหลาย ๆ องค์ เนื้อจะมีลักษณะเป็นทองผสม นางกวัก หลวงพ่ออิ่ม ที่แท้ๆ ตัวจริง ศิลปะสวย หายากนะครับ ส่วนใหญ่ที่เจอเป็นนางกวักยุคหลัง หรือ ไม่ก็เป็นของเกจิท่านอื่นเอามาเล่นกัน เรื่องพระพุทธคุณนั้น มีประสบการณ์อย่างโชกโชน ตั้งแต่สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่แล้ว ทั้งคงกระพันชาตรี กันเขี้ยวงา แคล้วคลาด มหาอุตม์ เมตตามหานิยม ค้าขายดี มีเงินทองไม่ขาดมือ ถึงขนาดยกย่องกันว่า ใครพระเครื่องฯ หรือวัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่มแล้ว “อิ่ม” สมชื่อจริงๆ ไม่มีคำว่า “อด” นอกจากนี้ ประสบการณ์เรื่องคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่างๆ ที่เล่าขานว่า เหล่าบรรดาเสือปล้นเมืองสุพรรณฯ รุ่นเก่าทั้งหลาย ที่เลื่องชื่อว่า หนังเหนียว อยู่มีดอยู่ปืน ส่วนใหญ่ใช้พระเครื่องฯ วัตถุมงคลของท่าน หรือไม่ก็ไปสักยันต์กับท่าน ไม่เว้นแม้กระทั่งวัตถุมงคลรูปแม่นางกวักของท่าน ก็มีอานุภาพเรื่องคงกระพันมหาอุตม์ หยุดปืนได้ด้วยเหมือนกัน ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องรางของขลังที่สร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เรื่องเมตตาค้าขาย โดยล่าสุด ที่ จ.สุพรรณบุรี ก็ได้เกิดเหตุการณ์ ผู้คล้องแม่นางกวักหลวงพ่ออิ่มรายหนึ่ง ถูกอาวุธปืนพกสั้นจ่อยิง แต่ไม่สามารถทำอันตรายให้ระคายผิวได้ เรียกว่า อานุภาพในวัตถุมงคลนั้นเชื่อถือได้สนิทใจทีเดียว สำหรับหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ยอดเกจิฯ แห่งเมืองสุพรรณบุรี ขอบคุณข้อมูลบางส่วน ที่มา ตาล ไทยธรณี |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...









