-
ศิลาแลง094-2526287, 091-7910187
ร้านเพิ่มเติมครับ http://www.silalang.99wat.com/ -
Siralangชัดเจนเรื่องราคากำหนดราคาไว้ทุกองค์ ไลน์ lit5151,ไลน์ chao5151
แนะนำร้านเพิ่มเติมครับ http://www.silalang.99wat.com/
หมวด พระปิดตาทั่วไป
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย 2หน้า
ชื่อร้านค้า | ศิลาแลง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย 2หน้า |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระปิดตาทั่วไป |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | chaomooklai@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 11 ต.ค. 2554 - 19:15.03 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 22 ม.ค. 2565 - 12:11.11 |
รายละเอียด | |
---|---|
ปิดตา 2 หน้าหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี พร้อมบัตรรับประกันเพื่อนบ้านครับ หลวงพ่อเชยท่านสร้างพระของท่านไว้นั้น ท่านมิได้คิดมูลค่าแต่ประการใดในเวลาที่ท่านทำการแจก แต่พระของท่านนั้นมีคุณค่ามากยิ่งในเมื่อหลวงพ่อมรณภาพแล้ว คนจังหวัดสิงห์บุรี และคนถิ่นอื่นอีกจำนวนไม่น้อยชื่นชอบพระปิดตาและเหรียญของหลวงพ่อเชยมาก เพราะพระของท่านมีปรากฏการณ์คุณวิเศษทางเมตตามหานิยม และมหาอุดเป็นยอด ส่วนการหายากก็คงสืบเนื่องมาจากความเลื่องลือและเป็นที่เสาะแสวงหาของนักสะสมรุ่นใหม่ รุ่นเก่า เป็นอย่างมากนั่นเอง ประกอบกับคุณวิเศษในทางเมตตาอย่างสูงส่ง นักเลงพระทั้งหลายจึงสรรหาพระของหลวงพ่อกันมาก พระครูวิจิตรสังวรคุณ เจ้าคณะตำบลบางมัญ เขต 1 สมณศักดิ์พระครูชั้นโท เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่าแต่ก่อนวัดนี้ชื่อว่าวัดท่าควาย เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งสร้างในปลายสมัยอยุธยาเนื่องจากที่ตั้งของวัดเป็นทางผ่านของผู้ใช้ เกวียน ระแทะ ล้อเลื่อน ต่าง ๆ มักจะมาพักและหยุด ณ บริเวณนั้น เพราะเป็นที่ร่มรื่น มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุม ทำให้บรรยากาศรอบ ๆ วัดเย็นสบาย ประกอบกับชาวบ้านแถบนั้นทั้งหมดมีอาชีพในการ ทำนา เวลาวัว - ควาย หลังจากไถนาหรือเลี้ยงอยู่กลางทุ่ง ถึงเวลาให้กินน้ำเจ้าของมักจะต้องลงมายังท่าวัดนี้ตลอดมาบริเวณดังกล่าวจึงเกิดเป็นท่าของสัตว์ที่ลงมาดื่มกินน้ำ วัว ควาย เป็นเวลาอันยาวนานแสนนานมา แต่เมื่อหมดวัว ควาย หมายถึง ชาวไร่ ชาวนา หันมาจับรถไถนาอันเป็นเครื่องทุ่นแรงแล้ว ควายก็หมดความหมายเมื่อควายเป็นสัตว์ที่มีอย่างอื่นมาสอดแทรกแล้ว ความจำเป็นของควายก็หมดไปทีละน้อย ๆ จนกระทั่งบัดนี้แทบจะไม่มีควาย และวัวเลย ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันเรียกชื่อวัดท่าควายเสียใหม่ว่า "วัดท่ากระบือ" ให้ไพเราะเพราะพริ้งขึ้นมาหน่อย ทั้ง ๆ ที่ก็แปลกความหมายเดียวกัน แต่ไม่มีคำว่า "ควาย" และจากคำว่าท่ากระบือนี่เองยอมมีความหมายและศักดิ์เท่าเดิม จึงมีผู้ค้นคิดหาชื่อเสียงที่เป็นมงคลยิ่งสำหรับวัดนี้โดยชาวบ้าน ได้ตั้งชื่อวัดนี้เสียใหม่ว่า วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ ซึ่งไม่ทราบว่าแปลว่าอะไร แต่ถ้าเป็นเสถียร ก็คงแปลว่า มั่นคง แข็งแรง แน่วแน่ ไม่หวั่นไหว ไม่ย่อท้อ แน่ใจ มั่นใจ คงจะเป็นการเขียนสมัยจอมพล ป. หรือไม่อาจทราบได้ แต่ประชาชนคนทั่ว ๆ ไปก็ยังเรียกชื่อเดิมอยู่อีก เรียกว่ายังมีความนิยมชมชอบกับชื่อเก่าอยู่ ป้ายหน้าวัดเขียนไว้ว่า วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ ผมก็ต้องเขียนไปตามเขา ไม่ดัดแปลงแก้ไข เพราะทำให้มีคนเข้าใจผิดหาว่าผมชอบดัดแปลงจึงเป็นอันว่า วัดท่าควาย ในอดีตเปลี่ยนเป็น วัดท่า-กระบือ และจาก ท่ากระบือ มาเป็น วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ ในปัจจุบัน ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออก เขตตำบลบางพุทธา จ. สิงห์บุรี หลวงพ่อเชยเป็นชาวเมืองสิงห์บุรี โดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2412 ปีมะเส็ง พออายุได้ 2 ขวบ โยมบิดามารดาได้เสียชีวิตลง ลุงของหลวงพ่อจึงนำไปอุปการะเลี้ยงดู จนกระทั่งอายุของหลวงพ่อได้ 13 ปี จึงได้นำไปฝากเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่อแตง ที่วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ แห่งนี้ ครั้นอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ หลวงพ่อแตงและญาติโยมที่ยังมีชีวิตอยู่ขณะนั้นได้ทำการอุปสมบท ณ วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ โดยมีหลวงพ่อแตงเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อหลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อก็อยู่ที่วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ตลอดมา จนหลวงพ่อแตงมรณภาพ ชาวบ้านแถบถิ่นนั้นได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเชยรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนปกครองดูแลพระลูกวัดสืบทอดมา กระทั่งหลวงพ่อเชยมรณภาพลงเมื่อ พ.ศ. 2469 ปีขาล ด้วยโรคลมปัจจุบันทันด่วน สิริรวมอายุได้ 57 ปี พรรษาที่ 39 พรรษา มรณภาพมาแล้ว 62 ปี ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นหลวงพ่อได้รับการศึกษาและออกธุดงควัตรหลายแห่ง และเรียนวิทยาการหลายแขนงจากหลวงพ่อแตง โดยศึกษาภาษาไทยบาลีกับหลวงพ่อแตงตั้งแต่อายุ 13 ปี เมื่อบรรพชาเป็นพระภิกษุแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรม และวิปัสสนาธุระ รวมตลอดถึงพุทธาคมกับหลวงพ่อแตงมาโดยตลอด หลวงพ่อแตงเป็นพระที่เชี่ยวชาญในด้านวิทยาการหลายแขนง ในฐานะที่หลวงพ่อเป็นศิษย์ได้ถ่ายทอดวิทยาการแขนงต่าง ๆ จากหลวงพ่อแตง หลวงพ่อจึงดำเนินรอยตาม หลวงพ่อแตงทุกอย่าง ออกธุดงควัตรทุกปีรุกขมูลไปทั่วประเทศ เคยไปถึงประเทศ ลาว เขมร และพม่า การออกเดินธุดงควัตรของหลวงพ่อ ทำให้หลวงพ่อได้พบปะพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคุณตามภาคต่าง ๆ และได้มีโอกาสร่ำเรียนวิทยาคมเพิ่มเติม รวมทั้งการแลกเปลี่ยนวิทยาคมซึ่งกันและกันกับพระอาจารย์นั้น ๆ ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีหลวงปู่ศุข (พระครูวิมลคุณากร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า ,หลวงพ่อช้าง วัดตึก และหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สำหรับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือนั้น มีอายุอานามไล่เลี่ยกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ถึงกับหลวงพ่อเชยเคยให้พระปิดตาของท่านไปแจกจ่ายที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ก็เคยมี และเพราะเหตุนี้เองพระปิดตาที่มีปัญหานี้มีคนเข้าใจว่าเป็นของหลวงพ่อรุ่ง อันที่จริงนั้นหลวงพ่อเชยท่านให้หลวงพ่อรุ่ง เพื่อนำไปแจกจ่ายเป็นของขวัญให้กับญาติโยมและผู้ที่เคารพนับถือ จึงมีคนเข้ใจว่าเป็นพระของหลวงพ่อรุ่งสร้างขึ้น ที่จริงแล้วเป็นพระของหลวงพ่อเชยให้หลวงพ่อรุ่งไปแจก หลวงพ่อเชยขึ้นชื่อลือเลื่องในทางสมถะ เป็นพระมักน้อย ตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้ถือปฏิบัติตลอดมาอย่างเคร่งครัด หลวงพ่อได้ถือปฏิบัติตลอดมาอย่างเคร่งครัด หลวงพ่อฉันอาหารวันละมื้อ ปฏิเสธการแต่งตั้งสมณศักดิ์หลายครั้ง ยินดีรับกิจนิมนต์ โดยเฉพาะกิจนิมนต์ที่เกี่ยวกับการตาย แม้หนทางจะไกลแสนไกลสักเพียงใด หลวงพ่อจะต้องไปเสมอ ข้อยืนยันว่าหลวงพ่อเป็นพระสมถะเพียงใดนั้น จะเห็นได้จากข้อ ความด้านหลังของเหรียญเสมาพระภควัมบดี พ.ศ. 2468 โดยหลวงพ่อให้ใช้คำว่า "ที่รฤกอาจารย์เชย ที่สร้างศาลาโรงธรรม" เท่านั้น โดยไม่ยอมให้ใช้คำว่า "พระอาจารย์เชย" เพราะท่านไม่ต้องการโอ้อวดใด ๆ วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์นี้ อยู่เหนือปากคลองลำน้ำลพบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 17 ไร่เศษ โดยทิศเหนือจรดบ้านและถนน ทิศใต้จรดบ้านไม่มีถนน ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดมีถนนลาดยาง ทิศตะวันออกจรดถนน และที่นาชาวบ้านละแวกนั้น ถนนด้านทิศตะวันออกเรียกว่า ถนนธรรมเสฐียร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาแต่เมื่อใด แต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2481 ก่อนหน้านั้นคงมีเพียงวิหารการ ทำสังฆกรรมใด ๆ คงใช้วัดอื่น ปัจจุบันวัดนี้เป็นวัดมหานิกาย บรรดาโบสถ์ วิหารเสนาสนะ และถาวรวัตถุต่าง ๆ ของวัดเป็นของที่สร้างขึ้นใหม่ สมัยหลวงพ่ออ่อน และพระครูวิจิตรสังวรคุณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันทั้งสิ้น เพราะของเดิมได้หักพังสิ้นสภาพไปตามกาลเวลา การปกครองดูแลพระลูกวัด ท่านมุ่งให้พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ได้รับการศึกษา และมุ่งการศึกษาให้มีแก่พระภิกษุ สามเณร โดยมิได้ย่อท้อต่อความเหนื่อยยาก ท่านมองเห็นการณ์ไกลเพื่อประโยชน์ของสังคม ทั้งทางพุทธจักร และอาณาจักร มิได้ประสงค์เพียงเพื่อจะเอาตัวรอดอย่างเดียว นี่คือตะเกียงดวงแรกของวัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ ที่หลวงพ่อเชยได้จุดไว้ยังวัดแห่งนี้ และขอฝากไว้กับพระภิกษุ สามเณร และพุทธบริษัททั้งหลาย ช่วยกันหาน้ำมันมาเติมใส่เข้าไว้เพื่อให้ตะเกียงดวงนี้มีแสงสว่าง และลุกโชติช่วงอยู่ตลอดไปคู่กับพระพุทธศาสนา หลวงพ่อเชยเคยอบรมสืบสวนพระภิกษุ สามเณร ในปกครองของท่านตลอดเวลาว่า เป็นพระเป็นเณรต้องหมั่นสวดมนต์ไหว้พระ เจริญเมตตาภาวนาศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยบาลี จะได้มากน้อยอย่างไร ก็ให้พยายามไปช่วยกันทำกิจของสงฆ์ภายในวัด ให้มีความสามัคคี แบ่งปันส่วนเฉลี่ยเจือจุนกันถ้าองค์ไหนขี้เกียจขี้คร้าน ก็หอบเสื่อหอบหมอนไปนอนที่อื่น อย่ามาอยู่ให้หนักวัดเขา หลวงพ่อเชยได้อบรมพระภิกษุสามเณรในปกครองของท่านอยู่ตลอดเวลา ก่อนทำวัตร สวดมนต์ เช้า - เย็น ท่านมีความเป็นห่วงภิกษุ สามเณร ในปกครองของท่านมากทีเดียว นี่เป็นความประสงค์อันแม้จริงของท่าน ที่อยากจะเห็นภิกษุ สามเณร ภายในวัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์แห่งนี้ได้รับการศึกษา ปรากฏเป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งว่า หลวงพ่อเชยท่านมีความสามารถทางฝีมือช่างเป็นพิเศษ การก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง หลวงพ่อเป็นผู้ออกแบบแกะสลักลวดลาย และทำงานก่อสร้างเองทั้งสิ้น แม้แต่การสร้างแม่พิมพ์พระ การแกะสลัก การปั้นรูปภาษี หลวงพ่อก็ออกแบบและทำเองด้วย ในโอกาสที่หลวงพ่อเชยได้พบปะแลกเปลี่ยนวิทยาคมกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่านั้น เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จมานมัสการหลวงปู่ศุขหลายครั้ง ทรงพบเห็นพระของหลวงพ่อเชยแล้ว ก็ทรงพระดำริว่าจะให้ช่างทางกรุงเทพฯ แกะแม่พิมพ์ถวาย ซึ่งเป็นแม่พิมพ์พระโคนสมอ กับแม่พิมพ์พระภควัมบดี บางพิมพ์ให้กับหลวงพ่อเชย หลวงพ่อเชยได้สร้างวัตถุมงคลประเภทพระเนื้อผงผสมว่าน เนื้อผงใบลาน และเหรียญเสมาพระภควัมบดี มีอยู่หลายชนิด หลายพิมพ์ทรง และมีแบบต่าง ๆ กัน ซึ่งหลวงพ่อสร้างไว้แจกแก่บรรดาญาติโยมและศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือในตัวท่านปรากฏว่าพระของหลวงพ่อมีอยู่ประมาณ 75 พิมพ์ทรงในจำนวนนี้มีทั้วแบบพิมพ์ที่เสด็จในกรมถวายกับพิมพ์ที่หลวงพ่อเชยแกะเอง ส่วนการสร้างนั้น หลวงพ่อสร้างอยู่เรื่อย ๆ ครั้งละไม่มาก เมื่อสร้างเสร็จหลวงพ่อจะปลุกเสกองค์เดียว และแจกแก่ศิษย์ที่เสื่อมใส พระบางพิมพ์ของหลวงพ่อไม่สามารถจะรวบรวมมาได้ครบทั้ง 75 พิมพ์ จึงขอนำลงเฉพาะบางพิมพ์เท่าที่จะหาได้ เช่น 1. พระพิมพ์กำแพงทุ่งเศรษฐี 2. พระพิมพ์สิวลี 3. พระรอดทรงครุฑ 4. พระโคนสมอ 5. พระนาคปรก 6. พระสามพี่น้อง 7. ตะกรุด 8. พระหูยาน เนื้อว่านผสมผงใบสาน 9. พระสังกัจจายน์ เนื้อว่าน 10. พระพิมพ์ปิดตา 2 หน้าและหน้าเดียว เนื้อผงใบสาน 11. พระพิมพ์สมเด็จ เนื้อปูน 12. พระพิมพ์เมืองสวรรค์ ด้านหน้าเป็นพระสมเด็จ ด้านหลังเป็นพระรอด 13. พระปิดตาเนื้อผงใบลาน พิมพ์ใหญ่ - เล็ก หลังยันต์ 14. พระปิดตาพิมพ์พิเศษ สร้างด้วยเนื้อตะกั่ว 15. พระพิมพ์ฤาษี สร้างทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เนื้อดิน ครั้งที่ 2 เนื้อดิน ครั้งที่ 3 เนื้อผงใบลาน 16. เหรียญรูปเสมารูปพระภควัมบดี หลวงพ่อสร้างเป็นรูปรุ่นสุดท้ายเมื่อปี พ . ศ . 2468 ก่อนหลวงพ่อมรณภาพ 1 ปี |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments