หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เป้า วัดบางพูดใน (1)
ชื่อร้านค้า | วรโชติ พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เป้า วัดบางพูดใน (1) |
อายุพระเครื่อง | 51 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | ott_silanakhon@hotmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 13 ส.ค. 2555 - 01:05.49 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 21 พ.ค. 2567 - 11:31.32 |
รายละเอียด | |
---|---|
ประวัติ (โดยย่อ) พระครูนนทศีลวัตร ทีปโก หลวงปู่เป้า พระครูนนทศีลวัตร ชื่อเดิม เป้า ชื่อสกุล ทองมีแสง บิดาชื่อ นายเลา มารดาชื่อ นางสิน ทองมีแสง เกิดวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๐ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ คํ่า ปีมะแม ณ บ้านทุ่งสีกัน ตำบลทุ่งสีกัน จังหวัดพระนคร มีพี่น้องร่วมบิดามารดา คือ ๑. พระภิกษุพวง ทองมีแสง ๒. นายดวง ทองมีแสง ๓. นางทรวง เนาว์อยู่คุ้ม ๔. พระครูนนทศีลวัตร( เป้า ทองมีแสง ) บุตรธิดาทั้ง ๔ ท่านพระครูนนทศีลวัตร เป็นบุตรคนสุดท้ายในสกุล ทองมีแสง บิดาได้ถึงแก่กรรมเมื่อท่านเป็นสามเณร ปฐมวัย เมื่อท่านยังเยาวัยพอจะเรียนหนังสือภาษาไทยได้ ท่านได้รับการศึกษาหนังสือภาษาไทยที่วัดบางพูดในซึ่งเป็นวัดใกล้เคียง เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนประชาบาลของทางราชการ บิดามารดาที่มีความปรารถนาให้บุตรได้รับการศึกษาเล่าเรียนต้องฝากพระภิกษุในวัดที่ใกล้เคียง บิดาจึงนำท่านไปฝากกับพระอธิการปุ่น อดีดเจ้าอาวาสวัดบางพูดใน ให้เรียนหนังเสือภาษาไทยจนจบชั้นป.3 ตามสมัยการศึกษาในสมัยนั้น ท่านได้รับการศึกษาโดยพระภิกษุ ดิน สมบุญแจ้ง ซึงเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อบรมสั่งสอนกุลบุตรธิดาที่วัดนี้ ท่านได้รับการศึกษาเล่าเรียนและอยู่ปฏิบัติ พระอธิการ ปุ่น อดีตเจ้าอาวาส จนอายุครบ ๑๔ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ คํ่า เดือน ๔ ปีกุนตรงกับวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยมีพระอธิการปุ่น อดีตเจ้าอาวาสวัดพางพูดในเป็นอาจารย์ผู้อุปถัมภ์ ท่านเจ้าคุณวงศ์วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอุปฌาย์ จำพรรษา ณ วัดพางพูดใน ได้รับการอบรมศึษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติศาสนกิจจากพระอธิการปุ่น เป็นอย่างดี จนได้รับมอบหมายให้ท่านเป็นผู้ฝึกสอนกุลบุตรธิดาให้รู้หนังสือไทยขั้นต้นในระยะต่อมา เนื่องจากพระภิกษุ ดิน สมบุญแจ้ง ได้ขอลาสิกขาบทไปประกอบอาชีพทางแพทย์ ท่านได้ฝึกอบรมสั่งสอนให้กับกุลบุตรธิดาที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียนหนังสือภาษาไทยให้เป็นย่างดี จนมีความรู้หนังสือไทยพอสมควร โดยใช้สถานที่ศาลาการเปรียญเป็นที่อบรมฝึกสอนมีกุลบุตรธิดา ได้รับการศึกษาจากท่านเป็นจำนวนมาก ต่อมาทางราชการได้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดบ่อ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ได้เกณฑ์กุลบุตรธิดาที่มีอายุครบ ๙ ปี เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลนี้ต่อไป และต่อมาท่านได้รับการศึกษาหนังสือภาษาขอม จากพระอธิการพลัด อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะบางพูด เป็นอาจารย์สอนจนมีความรู้แตกฉานในภาษาขอมนี้มาก เนื่องจากท่านต้องศึกษาหนังสือขอม ก็เพื่อจะไปศึกษาภาษาบาลีเพราะในสมัยนั้น การเรียนภาษาบาลีจะต้องรู้ภาษาหนังสือภาษาขอม เพราะภาษาบาลีเป็นอักษรขอม ท่านได้อุตส่าหพยายามศึกษาจนแตกฉานเป็นอย่างดี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรรวม ๖ พรรษา เมื่อท่านอายุครบ ๒๑ ปี คุณย่ากฐิน ม่วงลาย ซึ่งเป็นผู้อุปการะท่านต่อจากมารดาท่านได้ถึงแก่กรรมแล้ว ได้ทำการอุปสมบทให้ท่าน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เวลา ๐๗.๕๓ น.ได้มีนามฉายาว่า" ทีปโก" โดยมี พระสุเมธาจารย์ (วอน) วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอุปฌาย์ พระธรรมวิจารณ์(นวน) วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการพลัด วัดเกาะบางพูด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จำพรรษา ณ วัดบางพูดใน และได้รับการศึกษาธรรมวินัยที่สำนักเรียนปริยัติธรรม วัดปรมัยยิกาวาส สอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓ ในปีพ.ศ.๒๔๗๔ ท่านพระอธิการปุ่น อดีตเจ้าอาวาส วัดบางพูดใน ได้เห็นท่านเอาใจใส่และขยันหมั่นเพียรในการศึกษาธรรมวินัยของท่านเป็นอย่างดีมาโดยตลอด จึงเห็นสมควรให้ท่านได้รับการศึกษาธรรมวินัยและบาลีที่กรุงเทพฯซึ่งในอนาคตต่อไปจะได้ครูที่มีความรู้ความสามารถมาอบรมสั่งสอนกุลบุตรในท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป จึงได้ส่งท่านศึกษาธรรมวินัย และบาลีที่วัดแคนางเลิ้ง เพราะเห็นว่าวัดแคนางเลิ้ง อยู่ใกล้กับบ้านพี่สาวท่าน คือ นางทรวง เนาร์อยู่คุ้ม พี่เขยท่านคือ นายเล็ก เนาว์อยู่คุ้ม รับราชการอยู่ที่กรมสรรพามิตร กระทรวงการคลัง จะได้อุปการะท่านให้ได้เล่าเรียนศึกษาธรรมวินัยและบาลีโดยสะดวก อันจะไม่เป็นที่กังกลใจเกี่ยวกับภัตตาหารและสะดวกในการรับบิณฑบาตร ซึ่งจะไม่อัตคัตขาดแคลนเท่าไรนัก ท่านได้จำพรรษาที่วัดแคนางเลิ้งอยู่ ๑ ปี เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๗๖ ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดชนะสงคราม เพื่อจะศึกษาบาลีกับท่านเจ้าคุณพระสุเมธมุนี เจ้าอาวาสชนะสงคราม และสอบนักธรรมชั้นโทได้ที่สำนักเรียนวัดชนะสงครามนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ มัชฌิมวัย ในปลายปี พ.ศ.๒๔๗๗ มีเหตุจำเป็นอย่างคิดไม่ถึงเกิดกับท่าน ทำให้ท่านไม่สามารถศึกษาเล่าเรียนต่อไปได้ ตามความประสงค์ของพระอธิการปุ่น ที่ตั้งใจไว้ เนื่องจากพระอธิการปุ่น อดีตเจ้าอาวาส ผู้เป็นอาจารย์อุปถัมภ์ ได้มรณะภาพลงด้วยโรคชรา ท่านต้องกลับมาบำเพ็ญกุศลศพพระอธิการปุ่น ร่วมกับทายกทายิกาจนเสร็จเรียบร้อย ท่านก็กลับไปจำพรรษาที่วัดชนะสงครามตามเดิม แต่ท่านก็ต้องกลับมาฌาปนกิจศพ พระอธิการปุ่นอีกครั้ง เนื่องจากวัดบางพูดในไม่มีพระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารปกครองภิกษุสามเณร ทายกทายิกาเห็นว่าจะเกิดการเสียหายขึ้นกับวัดได้ เพราะขาดเจ้าอาวาสปกครองดูแล ทางคณะสงฆ์ก็ยังไม่ได้แต่งตั้งเจ้าอาวาส ทายกทายิกาทั้งหลาย ได้ประชุมศึกษาหารือเพื่อขอแต่งตั้งเจ้าอาวาสปกครอง วัดบางพูดใน ในที่ประชุมทุกคนมีความเห็นพ้องต้องกันว่า เห็นสมควรให้ท่านพระครู กลับมาปกครองวัดบางพูดใน ทายกทายิกาทั้งหลายจึงมอบหมายให้ นายหลุย ด้วงใด นายอ่อน กลัดหอม หมอดิน สมบุญแจ้ง และนายเย็น คมคาย เป็นผู้แทนพร้อมเดินทางไปพบท่านพระครูที่วัดชนะสงคราม ชี้เหตุผลให้ท่านทราบ ขอนิมนต์ท่านพระครูกลับมาวัดบางพูดใน เพื่อบริหารและปกครองภิกษุสามเณร ท่านพระครูขัดความประสงค์ของทายกทายิกาทั้งหลายไม่ได้ เพราะเห็นว่าเป็นวัดบ้านเกิดของท่านๆจึงตัดสินใจรับมอบภาระกิจดังกล่าว ตามความประสงค์ของทายกทายิกา นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านก็ไม่ได้ศึกษาธรรมวินัยและบาลีกับท่านเจ้าคุณสุเมธมุนีอีกต่อไป เพราะต้องกลับมารับภาระกิจต่างๆเช่นการฌาปนกิจศพพระอธิการปุ่น อดีตเจ้าอาวาส และดำริริเริ่มงานด้านบริหารและปกครองภิกษุสามเณรในวัด ต่อมาทายกทายิกาได้ขอให้ทางคณะสงฆ์แต่งตั้งท่านเป็นผู้ร้ังตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพูดใน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ ..พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๗๙ ได้เป็นครูสอนวินัย นักธรรมชั้นตรี โท ที่สำนักเรียนปริยัติธรรม วัดปรมัยยิกาวาส และได้เป็นกรรมการสอบตรวจข้อสอบธรรมวินัยสนามหลวงชั้นตรี โท ในสนามหลวง จังหวัดนนทบุรี ที่วัดปรมัยยิกาวาส ..พ.ศ.๒๔๗๙ ได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส วัดบางพูดใน และเป็นกรรมการระงับอธิกรณ์ร่วมกับเจ้าคณะอำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี ..พ.ศ.๒๔๘๗ได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าคณะตำบลบางพูด และขออนุญาตตั้งสำนักเรียนปริยัติธรรมชั้นตรี โท ขึ้นที่วัดบางพูดใน มีพระภิกษุ สามเณรเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก ..พ.ศ.๒๔๙๐ได้รับแต่งตั้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทกุลบุตร ในเขตท้องที่ตำบลบางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ...พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับพระทานยศชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูนนทศีลวัตร ...พ.ศ.๒๕๐๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนยศ เป็นพระครูชั้นโท ตำแหน่งสมณศักดิ์เดิม ...พ.ศ.๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนยศ เป็นพระครูชั้นเอก ตำแหน่งสมณศักดิ์เดิม ...พ.ศ.๒๕๑๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนยศ เป็นพระครูชั้นพิเศษ ตำแหน่งสมณศักดิ์เดิม เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๘ ...พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานแต่งตั้ง เป็นเจ้าคณะอำเภอปากเกร็ด รวมอายุครบ ๗๐ ปี พรรษา ๔๙ พรรษา ปัจฉิมวัย ท่านพระครูนนทศีลวัตร ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และมีจิตศรัทธาอันแรงกล้า ในอันที่จะปฏิบัติศาสนกิจ ตามความมุ่งหมายของมารดาท่านและพระอธิการปุ่น อดีตเจ้าอาวาสวัดบางพูดใน ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรถึง ๖ พรรษา จนอายุครบ ๒๑ ปี ก็ได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา เมื่ออุปสมบทแล้วก็มีความขยันหมั่นเพียรศึกษาธรรมวินัยและบาลี สมความมุ่งหมายของพระอธิการปุ่น ที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ในอนาคตซึ่งหวังเป็นยิ่งที่จะได้ท่านเป็นผู้รู้และมีความสามารถอบรมศึกษากุลบุตรในท้องถิ่นวัดนี้ให้เจริญรุ่งเรือง ท่านก็ดำเนินแนวนโยบายตามที่พระอธิการปุ่นตั้งไว้ทุกประการ ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านตกลงใจรับภารกิจและปกครอง วัดบางพูดใน ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญทั้งด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ และด้านการปกครอง นับได้ว่าท่านยอมเสียสละความสุขส่วนตัวและความเจริญก้าวหน้าของท่าน เข้ามาบำเพ็ญศาสนกิจซึ่งเป็นส่วนรวมของพุทธศาสนิกชนทั่วไป เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาวบางพูดและชาวปากเกร็ด นับว่าเป็นการเสียสละอย่างสูง ด้วยความวิริยะอุตสาหะอันแรงกล้าของท่าน และประกอบด้วยกำลังกายกำลังใจของทายกทายิกาที่ให้ความสนับสนุน การบริหารงานของท่านสำเร็จไปตามความประสงค์ดังจะเห็นได้จากผลงานของท่านที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ โดยปกติท่านพระครูท่านมีร่างกายและพลานามัยสมบูรณ์ตั้งแต่ท่านเป็นสามเณร จะไม่มีอาการเจ็บป่วยมากนัก เป็นบางครั้งเท่านั้นที่ท่านเจ็บและป่วย ก็เป็นไข้หนาวๆร้อนๆเป็นธรรมดา ส่วนมากท่านไม่ชอบการอยู่นิ่งท่านจะบริหารร่างกายของท่านด้วยการพัฒนาอารามเป็นนิจสิน เนื่องจากวัดบางพูดในเป็นอารามที่เก่าแก่อารามหนึ่ง ปูชนียสถานต่างๆ เช่นพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอพระสวดมนต์ ตลอดถึงกุฏิสงฆ์ ส่วนมากชำรุดทรุดโทรมไปตามสภาพธรรมชาติ จะต้องบูรณะปฏิสังขรณ์ให้ดียิ่งขึ้น ท่านได้ริเริ่มปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นผู้รั้งเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นต้นมา... ...ท่านละสังขารด้วยอาการสงบที่โรงพยาบาลนนทบุรี เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เวลา ๒๐.๓๔ น. สิริรวมอายุได้ ๗๓ ปี ๒ เดือน ๖ วัน รวมพรรษาได้ ๕๒ พรรษา (ข้อมูลจากหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เป้า) คำไว้อาลัยหลวงพ่อ ของ ศิษยานุศิษย์ ...ลูกขอตั้งจิตอธิฐานวิงวอนคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในโลกพิภพนี้ จงดลบัลดาลด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลคุณงามความดีทั้งปวงที่หลวงพ่อได้บำเพ็ญมาโดยลำดับก็ดี ทั้งบุญกุศลที่คณะญาติมิตรศิษยานุศิษย์ได้บำเพ็ญอุทิศถวายก็ดี จงมาร่วมเป็นปัจจัยให้เกิดพลานุภาพ ดลบันดาลให้ดวงวิญญานของหลวงพ่อ จงประสพสุขในสัมปรายภพ ด้วยเทอญ.... โอ้หลวงพ่อมาด่วนลับดับชีวิต ใจลูกศิษย์คิดถึงอยู่มิรู้หาย อันจากอื่นหมื่นแสนแม้นไม่ตาย คงมิหายลี้ลับได้กลับมา หลวงพ่อจากไปลับไม่กลับแน่ ศิษย์เฝ้าแลเฝ้าคอยละห้อยหา ได้แต่โศกเศร้าถวิลกินนํ้าตา ทุกเวลาคงไม่เห็นเหมือนเช่นเคย บรรดาศิษย์ซาบซึ้งถึงพระคุณ เคยการุณศิษย์มานิจจาเอ๋ย ไฉนมาด่วนลับดับไปเลย กรรมมาเกยต้องพลัดพรากให้จากกัน ขอพวกเราตั้งจิตอธิษฐาน ให้วิญญาณของหลวงพ่อสู่สวรรค์ จงคลาดแคล้วจากทุกข์สุขนิรันดร์ สถิตมั่นในสถานนิพพานเอย. " คณะศิษยานุศิษย์ " |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments