หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญรุ่นแรก พระครูธรรมสาทิส (แม้น ธมฺมสโร) วัดใหญ่โพหัก พ.ศ. ๒๔๙๔
ชื่อร้านค้า | ภาพสยาม - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญรุ่นแรก พระครูธรรมสาทิส (แม้น ธมฺมสโร) วัดใหญ่โพหัก พ.ศ. ๒๔๙๔ |
อายุพระเครื่อง | 73 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | zowking@gmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พ. - 14 ต.ค. 2563 - 22:42.57 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 14 ต.ค. 2563 - 22:42.57 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๙๔ พระครูธรรมสาทิส (แม้น ธมฺมสโร) วัดใหญ่โพหัก ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี บ้านโพหัก หมู่ ๗ ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นที่ตั้งของ ‘วัดใหญ่โพหัก’ เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่งของจังหวัดราชบุรี มีโบราณสถานอันน่าสนใจ คือ อุโบสถเก่า ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นวิหารชื่อ ‘วิหารอุด’ เป็นอุโบสถที่เรียกกันว่า ‘โบสถ์มหาอุด’ เพราะเข้าออกได้ทางเดียว เป็นวัดที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก และเป็นวัดหนึ่งที่มีพระเกจิอาจารย์ดัง-ขลัง-ดี เป็นเจ้าของเหรียญปั๊มรูปเหมือนเหรียญหนึ่ง ซึ่งหยิบมาเล่าสู่กัน แต่ก่อนไปคุยกันถึงเรื่องเหรียยและพระเกจิอาจารย์ดังอดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่โพหัก มาฟังอดีตกาลของวัดกันก่อน ความเป็นมาของวัดใหญ่โพหัก จากปากคำบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวกันไว้หลายทาง ทางหนึ่งเป็นเรื่องเล่าที่เกี่ยวพันถึงพญากง พญาพาน ว่าพญาพานได้ยกทัพเพื่อจะไปรบกับพญากงผู้เป็นบิดา ผ่านมาบริเวณบ้านโพหักนี้เห็นว่ามีทำเลที่เหมาะสมจึงได้หยุดพักไพล่พล เหล่าไพร่พลที่มาในกองทัพได้เอาศาสตราวุธที่นำมาด้วยไปพิงไว้กับต้นโพธิ์ ทำให้ต้นโพธิ์หักลงอันเป็นอาเพทบอกเหตุว่า พญาพานจะกระทำปิตุฆาตฆ่าบิดาของตน ตำบลแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า ‘ตำบลโพหัก’ อีกทางหนึ่งเล่าว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พม่าได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้มาหยุดพักพล ณ ตำบลนี้ ทหารพม่าได้เอาปืนใหญ่ที่นำมาด้วยไปวางพิงไว้กับต้นโพธิ์ทำให้ต้นโพธิ์หักลงมา จึงได้เรียกกันเป็นที่หมายของการพบปะกันบริเวณแห่งนี้ว่า ‘ตำบลโพหัก’ อีกทางหนึ่งเล่าว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ราษฎรจากกรุงศรีอยุธยาได้พากันอพยพหนีภัยสงคราม โดยมีการใช้เกวียนบรรทุกทรัพย์สมบัติต่างๆ หนีการปล้นสะดมของทหารพม่ามาถึงตำบลหนึ่ง วัวที่ใช้เทียมเกวียนเกิดเมื่อยล้าไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ ชาวบ้านจึงได้หยุดแล้วเอาทรัพย์สมบัติที่ขนมากองและแขวนไว้กับต้นโพธิ์ ทำให้ต้นโพธิ์หักลงจึงเรียกสถานที่ดังกล่าวว่า ‘บ้านโพหัก’ และมีการสร้างวัดขึ้น ดังที่ได้เอ่ยถึงข้างต้นถึง ‘โบสถ์มหาอุด’ ที่ด้านบนประตูทางเข้ามีป้ายเขียนไว้ว่า ‘พระอุโบสถหลังแรกของวัดใหญ่โพหัก สร้างราวปี พ.ศ. ๒๒๐๙’ และยังมีป้ายบอกนักท่องเที่ยวที่จัดทำไว้ว่า “พระอุโบสถหลังแรก (วิหารอุด) เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก ๑ ประตู ด้านหลังทึบแบบที่เรียกว่าวิหารอุด ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายแดงลงรักปิดทอง ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ๑ องค์ จากรูปแบบการก่อสร้างสันนิษฐานว่าวิหารหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย” อีกหลังหนึ่ง คือ พระอุโบสถหลังเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๗ เมตร และสูง ๘ เมตร ประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัย ‘เจ้าประคุณในโกษฐ หรือหลวงพ่อทองดี’ อดีตเจ้าอาวาสเมื่อประมาณ ๑๗๐ ปี มาแล้ว หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องทรงทึบ ด้านหน้ามีพาไลยื่นออกมา ๑ ห้อง มีเสาไม้กลมรองรับ ๔ ต้น ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันปูนปั้นลวดลายมังกรด้นเมฆ และลวดลายสิ่งของมงคลแบบอิทธิพลจีน ฐานพระอุโบสถเป็นฐานบัว ผนังก่ออิฐถือปูนด้านหน้ามีประตูทางเข้า ๒ ด้าน บานประตูเป็นไม้สลักลายดอกไม้ระบายสี มีรูปบุคคลและรูปสัตว์ประกอบในลวดลาย ด้านหลังทึบ ด้านข้างทั้งสองด้านมีช่องหน้าต่างด้านละ ๓ บาน บานหน้าต่างเป็นไม้เรียบ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองขนาดใหญ่ประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย อยู่บนฐานบัวที่มีลวดลายปูนปั้นที่ชายผ้าทิพย์อันงดงาม ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย นอกจากนั้นบริเวรด้านข้างฐานชุกชีพบพระพุทธรูปหินทรายแดงลงรักปิดทองประทับนั่งแสดงปางมารวิชัยและปางสมาธิ ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายประดิษฐานอยู่อีกหลายองค์ เจดีย์เหลี่ยม ตั้งอยู่ด้านข้างพระอุโบสถหลังเก่า ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิบถือปูน ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ ๗.๕ เมตร สูง ๑๒ เมตร สอบขึ้นทางด้านบนเรือนธาตุมีซุ้มอยู่ทั้ง ๔ ด้าน ยอดเจดีย์มีบัลลังก์ย่อมุมไม้สิบสองรองรับปล้องไฉนขนาดใหญ่ ส่วนของปลียอดหักหาย ลักษณะของเจดีย์องค์นี้มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากลักษณะเจดีย์โดยทั่วไป เป็นฝีมือช่างท้องถิ่น พระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาท พระมณฑปก่ออิฐถือปูน ปัจจุบันเหลืออยู่เฉพาะส่วนฐานและกำแพงบางส่วน ฐานพระมณฑปเป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ ๘ เมตร ส่วนเรือนธาตุและส่วนยอดหักหายอยู่ในสภาพที่ชำรุดมาก หอระฆัง อาคารเครื่องไม้สองชั้นสูงประมาณ ๙ เมตร หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องมีช่อฟ้าใบระกาไม้แกะสลักและคันทวยรองรับชายคา ย่อทอง ต้นสกุล ‘ขวัญดี’ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เจดีย์ราย ภายในบริเวณวัดพบเจดีย์รายตั้งอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะด้านหน้าพระวิหารอุด ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กย่อมุมไม้สิบสอง ฐานเจดีย์เป็นฐานสิงห์ ๓ ชั้น องค์เจดีย์ทรงระฆังย่อมุมมีบัวปากระฆังรองรับ มีการตกแต่งองค์ระฆังด้วยลวดลายปูนปั้นและการทาสีส่วนยอดเป็นชุดบัวคลุ่มเถา และปลียอด ซึ่งส่วนใหญ่จะหักหายชำรุด ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระฆังสำริด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖๐ เซนติเมตร สูง ๙๐ เซนติเมตร ที่ขอบระฆังมีจารึกว่า “สร้างในการเฉลิมฉลองงานมหากุศล เมื่อพุทธศักราช ๒๓๐๑” อันตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา นั้นเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุของวัดใหญ่โพหัก ซึ่งได้การประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน หากมีโอกาสว่างมีเวลาไปดูชมกันได้ จากนี้มาพูดคุยกันถึงอดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่โพหัก ‘พระครูธรรมสาทิส (แม้น ธมฺมสโร)’ กัน ประวัติปูมหลังกล่าวไว้ว่า ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๔ ที่บ้านโพหัก เป็นบุตรของนายทอง ทิมบุตร และนางโมง ทิมบุตร ในวัยเด็กได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและบาลีกับหลวงพ่อกล่อม วัดใหญ่โพหัก และเมื่อเติบใหญ่จนอายุได้ ๒๑ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีหลวงพ่อแดง วัดทำนบ ตำบลวัดแก้ว อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดำ วัดจินดาราม ตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการอ้น วัดใหญ่โพหัก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วจำพรรษาที่วัดใหญ่โพหัก ได้มีโอกาสศึกษาวิชาพุทธาคมกับพระเกจิอาจารย์ดังของจังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม ไม่ว่าจะเป็น หลวงพ่อแดง วัดทำนบ หลวงพ่อกล่อม วัดใหญ่โพหัก หลวงพ่อแช่ม วัดดอนเซ่ง หลวงพ่อดำ วัดจินดาราม หลวงพ่อรุ่ง วัดดอนยายหอม ฯลฯ นอกจากนั้นหลวงพ่อแม้นยังเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดใหญ่โพหักได้ว่างลง หลวงพ่อแม้นได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดใหญ่โพหักสืบต่อ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล และยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ ‘พระครูธรรมสาทิส’ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่มีการขุดคลองป่าหลวงไปถึงช่วงหนึ่งแล้วต้องหยุด เพราะทำการขุดต่อไปไม่ได้ หลวงพ่อแม้นได้บอกกับชาวบ้านว่าให้ทำพิธีขอขมา และเมื่อทำการจุดต่อไปจึงได้พบโครงกระดูกคนโบราณมีความสูงถึง ๘ ศอก ชาวบ้านล้วนแปลกใจว่าหลวงพ่อแม้นท่านทราบได้อย่างไรว่าตรงนั้นมีโครงกระดูกมนุษย์โบราณฝังอยู่ และเพราะหลวงพ่อแม้นมักจะกล่าวถึงแล้วเป็นจริงดังเช่นที่ท่านว่า ผู้คนจึงต่างเชื่อว่าหลวงพ่อแม้นท่านมีวาจาสิทธิ์และล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ดังที่ชายหนุ่มขับมอเตอร์ไซค์มากราบหลวงพ่อแม้นถึงที่วัด ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นทุ่งนาโดยรอบ เมื่อกราบท่านเป็นที่เรียบร้อยแล้วหลวงพ่อแม้นได้บอกกับชายหนุ่มนั้นว่า ให้ชายหนุ่มหาที่นอนในวัดนี้แหละ แต่ชายหนุ่มได้บอกปฏิเสธไปว่าไม่ได้คิดจะมาค้างที่วัดแต่อย่างใด หลวงพ่อแม้นได้แต่หัวเราะแล้วเดินเข้ากุฏิไป สักพักหนึ่งฝนก็ตกลงมาทำให้ชายหนุ่มคนนั้นขับมอเตอร์ไซค์กลับไม่ได้ต้องพักค้างที่วัด สำหรับเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรกของหลวงพ่อแม้น สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแม้นครึ่งรูป ด้านบนมีอักขระขอมว่า ‘มะ อะ อุ’ ด้านล่างมีอักษรไทยจารึกว่า ‘พระครูธรรมสาทิส (แม้น) ด้านหลังเป็นยันต์ ๕ บรรจุอักขระขอม ‘นะ โม พุท ธา ยะ’ และมีตัวอุด้านบนยันต์ ๓ ตัว ด้านล่างยันต์มีอักษรไทยว่า ‘วัดใหญ่โพหัก พ.ศ. ๒๔๙๔’ สำหรับเหรียญบล็อกรูปเหมือนหลวงพ่อแม้นรุ่นแรกนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้นำบล็อกเก่านี้มาทำการปั๊มเหรียญใหม่ โดยได้แก้ไขตัวเลขปี พ.ศ. ๒๔๙๔’ โดยแกะตัวเลข ‘๔’ ให้เป็นเลข ‘๘’ หลวงพ่อแม้นมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ สิริอายุได้ ๖๕ ปี พรรษาที่ ๔๔ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments