หลวงพ่อผอง ธัมฺมธีโร วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์-สย_มาบตาพุด - webpra
VIP
Open Now ! The standard of Amulets back again. สวัสดี!ครับผมกลับ มาสร้างมาตรฐานเหมือนเดิมห่างไปนาน

หมวด พระเกจิภาคกลางตอนบน

หลวงพ่อผอง ธัมฺมธีโร วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์

หลวงพ่อผอง ธัมฺมธีโร วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ - 1หลวงพ่อผอง ธัมฺมธีโร วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ - 2หลวงพ่อผอง ธัมฺมธีโร วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ - 3หลวงพ่อผอง ธัมฺมธีโร วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ - 4หลวงพ่อผอง ธัมฺมธีโร วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ - 5
ชื่อร้านค้า สย_มาบตาพุด - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อผอง ธัมฺมธีโร วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
อายุพระเครื่อง 18 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคกลางตอนบน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ sayanchai_mabtaphut@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ กำลังประมูล คลิ๊กที่นี่เพื่อดูรายการประมูล
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 28 พ.ย. 2561 - 21:28.57
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 28 พ.ย. 2561 - 21:28.57
รายละเอียด
พระเนื้อผง หลวงพ่อได้ดังใจ พิมพ์หยดน้ำใหญ่
หลวงพ่อผอง ธัมมธีโร วัดพรหมยาม"พระครูธีรพัชโรภาส" หรือ "หลวงพ่อผอง ธัมมธีโร" เป็นพระเกจิดังแห่งเมืองมะขามหวาน และเป็นศิษย์สืบสายธรรมรูปสุดท้ายของ หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ หรือ พระครูวิชิตพัชราจารย์ วัดพระพุทธบาทชนแดน พระเกจิชื่อดังเมืองเพชรบูรณ์

หลวงพ่อผอง สิริอายุ 84 พรรษา 64 เป็นเจ้าอาวาสวัดพรหมยาม ต.สามแยก อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ และที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลสระประดู่

อัตโนประวัติหลวงพ่อผอง นามเดิมว่า ผอง อินทรผล เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2467 ที่บ้านหันน้อย ต.หนองมะเขือ อ.พล จ.ขอนแก่น โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายหลอดและนางบุญโฮม อินทรผล

ช่วงวัยเยาว์ ศึกษาเล่าเรียนและจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนบำรุงไทย 2 อ.พล ซึ่งในสมัยนั้น ถือว่าผู้จบการศึกษาในระดับนี้ สามารถรับราชการได้อย่างสบาย แต่ด้วยใจที่ใฝ่ในธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปี ท่านได้รบเร้าให้บิดามารดา พาไปอุปสมบท

ต่อมาเข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบ้านเรือ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น โดยมีพระครูปฏิพัทธ์ธรรมคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์

ภายหลังอุปสมบท ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านเรือ โดยพระครูปฏิพัทธ์ธรรมคุณ ได้เมตตาสอนการวิปัสสนากัมมัฏฐาน และทำสมาธิเจริญจิตตภาวนาให้แก่ท่าน พร้อมกันนี้ ท่านยังได้ศึกษาพระปริยัติธรรมไปด้วย จนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท และสอบได้นักธรรมชั้นเอกในภายหลัง

ต่อมา ท่านได้กราบลาพระครูปฏิพัทธ์ธรรมคุณ เพื่อออกเดินท่องธุดงควัตรแสวงหาความวิเวก ตามเทือกเขาชัยภูมิ ไปจนถึง จ.พิจิตร

ท่านได้ทราบว่า หลวงพ่ออ้วน หรือพระครูวิชาญพัชรกิจ เจ้าอาวาสวัดสว่างเนตร ต.ดงขุย อ.ชนแดน เป็นพระเกจิที่เรืองวิทยาคม จึงได้เดินทางมาฝากตัวขอเป็นศิษย์ ซึ่งหลวงพ่ออ้วนก็ไม่ขัดข้อง ได้ถ่ายทอดวิทยาคม อีกทั้ง หลวงพ่อผอง ได้รับใช้ตอบแทนคุณ ด้วยการเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมให้แก่พระภิกษุ-สามเณร ในวัดสว่างเนตรและวัดใกล้เคียง ช่วยกิจการด้านพระพุทธศาสนา เป็นเวลา 10 พรรษา

ก่อนได้กราบลาไปอยู่จำพรรษากับหลวงพ่อทบ ที่วัดพระพุทธบาทเขาน้อย อ.ชนแดน เพื่อศึกษาพุทธาคมและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งหลวงพ่อทบยินดีถ่ายทอดสรรพวิชาให้ หลวงพ่อทบ เน้นย้ำว่า "การจะปลุกเสกพระเครื่องและเครื่องรางของขลังให้ศักดิ์สิทธิ์นั้น ใจจะต้องนิ่งสงบ ปราศจากกิเลส จิตจะต้องแข็งได้ฌาน จะปลุกเสกอะไรสิ่งนั้นก็จะดีไปทั้งหมด"

หลวงพ่อผอง ได้รับใช้อุปัฏฐากหลวงพ่อทบ คอยช่วยเหลือกิจการคณะสงฆ์ โดยหลวงพ่อทบได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอชนแดน ส่วนตัวท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม จนได้รับแต่งตั้งจากหลวงพ่อทบให้เป็นพระใบฎีกา และเป็นพระคู่สวด ขณะที่หลวงพ่อทบ ถูกนิมนต์ให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ในเขตพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์

เวลาผ่านไป 10 ปี หลวงพ่อผอง ได้กราบลาหลวงพ่อทบ เพื่อออกท่องธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ จนมาถึงบ้านพรหมยาม ต.สามแยก อ.วิเชียรบุรี ซึ่งขณะนั้นเป็นพื้นที่ป่า เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด

พ.ศ.2506 หลวงพ่อผอง ได้ร่วมกับชาวบ้าน สร้างวัดพรหมยาม จัดสร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ เสนาสนะต่างๆ

แม้จะมีกุฏิที่ญาติโยมร่วมกันสร้างให้ แต่หลวงพ่อผองยังคงอาศัยอยู่ในกุฏิไม้หลังเล็กที่ไม่มีสิ่งของอำนวยความสะดวกอย่างอื่น แม้แต่มุ้งก็ไม่มี แต่ปรากฏว่าไม่มียุงหรือแมลงไปตอมหรือกัดหลวงพ่อผองแต่อย่างใด

เมื่อปี พ.ศ.2531 หลวงพ่อผอง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลสามแยก และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูธีรพัชโรภาส

วัดพรหมยาม ได้รับการยกฐานะเป็นวัด เมื่อปี พ.ศ.2514 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ปี พ.ศ.2520 ปัจจุบัน วัดพรหมยาม มีพระภิกษุ-สามเณร จำพรรษาปีละกว่า 20 รูป เสนาสนะภายในวัด ประกอบด้วย อุโบสถ กุฏิที่พักสงฆ์ จำนวน 12 หลัง ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ 1 หลัง ศาลาธรรมสังเวช 2 หลัง ศาลาโรงครัว หอระฆัง ห้องสมุด หอสวดมนต์ อย่างละ 1 หลัง

วัตถุมงคลหลวงพ่อผอง ที่คณะศิษย์ได้จัดสร้างขึ้นในวาระต่างๆ ได้รับความนิยมสูง ไม่ว่าจะเป็นพระมหาว่านพิมพ์สมเด็จ เหรียญรุ่นแรกปี 2531 และ 2536 รูปหล่อลอยองค์ รุ่นแรก ปี 2536 ซึ่งผู้ที่มีไว้ในครอบครอง ล้วนแต่มีประสบการณ์อัศจรรย์ แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตราย

กล่าวได้ว่า หลวงพ่อผอง เป็นพระเกจิสายหลวงพ่อทบ ที่มีชื่อคู่กับหลวงปู่ขุ้ย วัดซับตะเคียน แห่งเมืองมะขามหวานนั่นเอง...

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top