หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญหลวงพ่อลอดสงคราม วัดชุมพรรังสรรค์ จ.ชุมพร ปี 2506 (G19)
ชื่อร้านค้า | ส.พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญหลวงพ่อลอดสงคราม วัดชุมพรรังสรรค์ จ.ชุมพร ปี 2506 (G19) |
อายุพระเครื่อง | 61 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | suphachaiyo@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 07 ส.ค. 2566 - 21:18.06 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 17 ต.ค. 2566 - 22:39.20 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญหลวงพ่อลอดสงคราม วัดชุมพรรังสรรค์ จ.ชุมพร ปี 2506 เหรียญรุ่นนี้เท่าที่พบเห็นด้านหลังจะมีบล็อค หลัง อ.เมือง มีโบว์ และ หลังเมืองชุมพร ไม่มีโบว์ พระพุทธปฏิมากรหรือพระรอดสงคราม พระประธานวัดชุมพรรังสรรค์ จ.ชุมพร ที่ได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างมากมีชื่อเสียงเรื่องการขอพรให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง ในสงครามโลกครั้งที่สอง บ้านเรือนชาวบ้านและวัดเสียหายอย่างหนักจากภัยระเบิด แต่องค์พระไม่เป็นอะไรจึงเป็นที่มาของชื่อเรียกอีกชื่อว่า "พระรอดสงคราม หรือลอดสงคราม" นั้นเอง โดยเหรียญรุ่นแรกออกที่วัดชุมพรรังสรรค์ ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ หลังพระยาเพชร (พระยาตับเหล็ก) จัดสร้างราวปี 2500 และรุ่นสองจัดสร้างในปี 2506 นั้นเอง จัดเป็นเหรียญพระพุทธเก่าแก่ปีลึกเมืองชุมพรอีกเหรียญ ที่สุดยอดประสบการณ์ แต่สนน ราคายังเบาๆ หายากน่าเก็บ พระพุทธปฏิมากร” พระประธานในพระอุโบสถ วัดชุมพรรังสรรค์ (พระอารามหลวง) ตำบลนางทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุทองสัมฤทธิ์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.84 เมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ เป็นองค์พระพุทธรูปที่รอดพ้นจากความเสียหายอันมาจากภัยของสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงมีชื่อเรียกอีกนามหนึ่งว่า “พระรอดสงคราม” สร้างขึ้นโดยพระอธิการเซี้ยน และทายกชื่อทา เมื่อปีพุทธศักราช 2433 (คริสต์ศักราช 1890) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์โปรดฯ ที่จะจำลองพระพุทธปฏิมาที่มีลักษณะคล้าย พระกัมโพชปฏิมาจำลอง ถึงแม้ว่าพระเศียรของพระพุทธปฏิมาองค์นี้จะมิได้เลียนแบบจากพระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง จากพระพุทธรูปอยุธยาช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18) ก็ตาม แต่พระวรกายที่ยืดตรงตั้งฉากกับพระเพลา และพระรัศมีเปลวสูง แสดงให้เห็นพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมาในหมวดพระพุทธกัมโพชปฏิมาได้อย่างชัดเจน มีประวัติความเป็นมาเล่าขานสืบต่อกันมาว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดชุมพลรังสรรค์ต้องประสบภัยสงครามจากระเบิดที่ทิ้งลงมายังบริเวณวัด พระอุโบสถหลังเก่าได้รับความเสียหายพังจนหมดสิ้น ทว่าด้วยพระพุทธานุภาพอันมหัศจรรย์ขององค์พระพุทธปฏิมากร ซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระอุโบสถ กลับรอดพ้นจากภัยทางอากาศ ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ตราบกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันมี “พระพุทธรูปปฏิมากร” ที่คงเหลืออยู่ 2 องค์ในประเทศไทย คือ พระพุทธปฏิมากรในพระอุโบสถ วัดชุมพรรังสรรค์ และพระพุทธปฏิมากร วัดสร้อยทอง เชิงสะพานพระราม 6 กรุงเทพมหานคร วัดชุมพรรังสรรค์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ผู้สร้างวัด คือ พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง) ในสมัยเมืองชุมพรตกอยู่ในอำนาจของพม่าเข้ายึด ราษฎรตกอยู่ในความลำบาก และทุกข์ทรมาน นายซุ้ยได้สมทบกับพวกประมาณ 30 กว่าคน เข้าตีค่ายพม่าได้สำเร็จพวกพม่าหนีข้ามภูเขาหินซอง เมื่อศึกสงบลงปรากฏว่านายซุ้ยได้รับสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็นพระยาเพชรกำแหงสงคราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ราษฎรทั่วไปเรียกท่านว่า พระยาตับเหล็ก เพราะมีอาคมคงกระพันชาตรี ท่านได้สร้างวัดเพื่อเทิดพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นเกียรติประวัติของตนที่ได้ชนะศึกกอบกู้เมืองชุมพร ตลอดทั้งเพื่อเป็นพุทธบูชาท่านได้ขนานนามว่า วัดราชคฤห์ดาวคะนอง แต่เนื่องจากวัดตั้งอยู่ในที่ลุ่มและติดกับแม่น้ำท่าตะเภา เมื่อถึงฤดูฝนน้ำหลากเมืองชุมพร พระภิกษุ-สามเณรไม่สามารถอยู่จำพรรษาที่วัดได้ ต้องละทิ้งวัดเพื่อหนีอุทกภัย คณะสงฆ์และราษฎรจึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดท่าเภาเหนือ” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการก่อสร้างทางรถไฟได้ตัดทางสายใต้ผ่านเมืองชุมพร เนื้อที่วัดได้แยกออกเป็นสองส่วน ทำให้พื้นที่วัดคงเหลือเพียง 22 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา ครั้นในปี พ.ศ. 2484 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดลงผิดเป้าหมายมาลงในวัด อาคารเสนาสนะ พระอุโบสถพังพินาศ คงเหลือแต่พระพุทธปฏิมากรภายในอุโบสถเพียงองค์เดียวนามว่า “สมเด็จพระรอดสงคราม” ต่อมาในปี พ.ศ. 2488 สงครามได้ยุติลง พระปลัดเปี้ยน จนฺทสโร เจ้าอาวาสได้พัฒนาและปฏิสังขรวัด หลังจากที่วัดร้างไปเป็นเวลาถึง 5 ปี สมัยนั้นการพัฒนาวัดแสนยากลำบากในการหาวัสดุมาก่อสร้างเสนาสนะ ต้องนำไม้จากประเทศพม่าและล่องมาตามแม่น้ำท่าตะเภา พระปลัดเปี้ยน จนฺทสโร ต้องใช้ความพากเพียรและอดทนในการพัฒนาวัดและปฏิสังขรณ์วัด ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงในปี พ.ศ. 2505 ในปี พ.ศ. 2499 วัดชุมพรรังสรรค์ได้สละที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนศรียาภัย เป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด ผู้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียน คือ นางสาวชื่น ศรียาภัย ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งอยู่ถนนพิศิษย์พยาบาล อาคารเรียนจึงว่างลง ท่านเจ้าคุณวิชัยธารโศภณและคณะกรรมการสงฆ์มีมติจัดตั้งโรงเรียนราษฎรภายในวัดชื่อว่า โรงเรียนพุทธยาคมศรียาภัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 คณะสงฆ์ได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดท่าเภาเหนือ เป็น “วัดชุมพรรังสรรค์” ปัจจุบันวัดชุมพรรังสรรค์ได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของจังหวัดชุมพร |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments