หมวด พระเกจิภาคใต้
พระยายเขียด วัดยางแดง นิคมสถิตย์ จ.ปัตตานี เนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่ พ.ศ.2505 พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ปลุ
ชื่อร้านค้า | ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระยายเขียด วัดยางแดง นิคมสถิตย์ จ.ปัตตานี เนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่ พ.ศ.2505 พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ปลุ |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคใต้ |
ราคาเช่า | 1,000 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.) |
อีเมล์ติดต่อ | เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อเช่าพระจำนวนมาก ดังนั้นเช่าผ่านLINE ID : @870rqvth จะติดต่อง่ายสะดวกสุดครับ |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 21 มี.ค. 2567 - 21:38.25 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 22 มี.ค. 2567 - 16:07.29 |
รายละเอียด | |
---|---|
**รหัส ศ.ร.๒๑๙๒๐ พระยายเขียด วัดยางแดง นิคมสถิตย์ จ.ปัตตานี เนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่ พ.ศ.2505 พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ปลุกเสก พระยายเขียดวัดยางแดง "พระอาจารย์ทิม"ปลุกเสก มุมพระเก่า อภิญญา พระยายเขียด วัดยางแดง มรดกธรรมพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ กล่าวถึงพระยายเขียด อาจจะชื่อแปลกหูสำหรับคนต่างถิ่น หรือแม้แต่ในชาวใต้เอง ผมจะถึงพระยายเขียด ดังนี้ พระยายเขียด เป็นท้องถิ่นของ จ.ปัตตานี ครับ สำหรับการสร้างพระเครื่องสร้างขึ้นครั้งแรก ในพ.ศ. 2505 ปลุกเสกโดยพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ หลังจากนั้นมีการสร้างต่อมาเรื่อยๆเช่น ใน พ.ศ.2536 ปลุกเสกโดย พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว หลวงตาแดง วัดศรีมหาโพธิ์ พ่อท่านจวน วัดยางแดง ฯล หลังจากเกิดประสบการณ์ช่วยเหลือผู้คนให้รอดพ้นจากการก่อความไม่สงบในภาคใต้หลายครั้ง ปัจจุบันพระยายเขียดจึงเป็นพระยอดนิยมของพื้นที่ปัตตานีครับ ประวัติพระยายเขียด วัดนี้มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ประจำวัดอยู่ 1 องค์ คือ พระยายเขียด เหตุที่เรียกพระยายเขียด เพราะคนพบพระพุทธรูปองค์นี้ คือ คุณยายเขียด ชาวบ้าวเลยเรียกติดปากว่า พระยายเขียด เรื่องมีอยู่ว่าคุณยายเขียด ชาวบ้านท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้ออกจากบ้านไปหาปลา ได้พาชะนางซึ่งเป็นเครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่ง ช้อนหาปลาตามแหล่งน้ำ เผอิญวันนั้นคุณยายเขียดช้อนปลาไม่ได้เลย แต่ช้อนได้พระพุทธรูปองค์หนึ่ง พากลับบ้านและนำไปถวายพระภิกษุองค์หนึ่ง ขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าเรือใกล้ๆ บ้านคุณยายเขียดนั้นเอง หลายปีต่อมาวัดท่าเรือไม่มีพระภิกษุจำพรรษา จึงเป็นวัดร้าง พระภิกษุรูปนั้นได้ไปจำพรรษาที่วัดมะกรูดพร้อมด้วยพระพุทธรูปยายเขียด อยู่ได้หลายพรรษา พระภิกษุรูปนั้นมีความประสงค์ที่จะสร้างกุฏิที่วัดมะกรูดนั้น จึงได้เดินทางมาที่วัดยางแดง สมัยนั้นเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ได้สร้างที่พักชั่วคราวขึ้นเพื่อแปรรูปไม้ ต่อมามีประชาชนเข้ามาจับจองที่ดินสร้างบ้านเรือน โรงแปรรูปไม้ได้กลายเป็นที่พักสงฆ์เพื่อให้ญาติโยมถวายสังฆทานในวันพระเป็นประจำ ต่อมาได้กลายเป็นสำนักสงฆ์ และเป็นวัดยางแดงโดยสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ และพระพุทธรูปยายเขียดนี้ได้ตกอยู่ที่วัดยางแดงจนตราบเท่าทุกวันนี้ ต่อมาการแบ่งเขตตำบลได้เปลี่ยนแปลงมา วัดยางแดง เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดนิคมสถิตย์(ยางแดง) มาขึ้นกับหมู่ที่ ๔ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ อภินิหารพระพุทธรูปยายเขียดมีอภินิหารทางสัจจะ เป็นที่ยำเกรงของพวกทุจริตชนเป็นอันมาก กล่าวคือ เมื่อผู้ใดกระทำผิดกับบุคคลอื่น เช่น ลักขโมย ฉ้อโกง หรือยักยอกทรัพย์สินผู้อื่น เมื่อเจ้าของทรัพย์นำตัวมาสาบานต่อหน้าพระพุทธรูปยายเขียดองค์นี้แล้ว ส่วนมากผู้กระทำผิดมักจะมีอันเป็นไปตามคำสาบานนั้น ถ้าบุคคลใดไม่มีความผิด ก็มักจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น พระพุทธรูปยายเขียดผสมว่านและผงศักดิ์สิทธิ์จากที่ต่างๆ ซึ่งผสมว่าน ๑๐๘ ผล อักขระพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์, ผงตรีนิสิงเห, สัตตนาเค, ผงเกสรดอกไม้ ๑๐๘, ผงลูกไม้คนธรรพ์เป็นหิน, ดอกบัวหลวงเป็นหิน, ข้าวสารดำเป็นหิน, ผลเปลือกรากต้นดอกลูกพันธุ์พญาไม้ ซึ่งมีอภินิหารคุ้มครองป้องกันภัยนาๆ คงกระพันชาตรีแคล้วคลาดอาวุธ เมตตามหานิยม ขอเป็นน้ำมนต์สะเดาะก้างปลาติดคอ สะเดาะคลอดลูกง่าย พระพุทธรูปยายเขียดทำพิธีปลุกเสกโดยพระครูวิสัยโสภณ(ท่านอาจารย์ทิม) วัดช้างให้ ปลุกเสกเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ และได้ปลุกเสกใหม่เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๖ มีทั้งเหรียญ, ว่านและพระบูชา การปลุกเสกพระพุทธรูปยายเขียด จัดดอกไม้ธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ว่านะโม ๓ จบ นำพระเครื่องพระพุทธรูปยายเขียดอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ ประนมมือเหนือหน้าอก สงบสติบริกรรมคาถาปลุกเสก ดังนี้ “ พุทธัง แคล้วคลาด ธัมมัง แคล้วคลาด สังฆัง แคล้วคลาด พระพุทธเจ้าย่างบาท แคล้วคลาดศัตรู อิติปิโสภควา” 1.เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เวลาประมาณ 17.30น. ขณะที่นายสง่า แก้วคูณเมือง ชาวอีสานอ.วารินชำราบ อุบลราชธานี ซึ่งพักอาศัยอยู่กับภรรยาที่บ้านเลยที่ 80/2 ม.1 ตมะกรูด อ.โคกโพธิ์ ปัตตานี ขับรถจักรยานยนต์ไปยังเส้นทางปัตตานี-หนองจิก เพื่อกลับบ้านพักนั้น ได้มีคนร้ายขี่รถจักรยานยนต์เข้ามาประกบก่อนที่คนร้ายจะได้ชักปืนยิงนายสง่า จำนวน 3 นัด กระสุนถูกบริเวณศรีษะ หลังและแขนซ้าย ที่ละหนึ่งนัด จากการตรวจสอบพบเพียงรอยจ้ำแดงๆ ที่บริเวณที่ถูกยิง ที่ศรีษะกระสุนได้ทะลุหมวกกันน๊อก บริเวณหลัง แขน กระสุนได้ทะลุเสื้อของนายสง่า โดยไม่เกิดบาดแผลอะไร เป็นเพียงรอยช้ำแดงๆ เท่านั้น 2.เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 เวลาประมาณ 09.40น. เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่ถนนนาเกลือ ปากซอยนิคมเก่า ม.8 ต.บานา อ.เมือง ปัตตานี ปรากฏว่านายมนู บุญทวิโรจน์ อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 64 ถ.โรงเหล้าสาย ข และป้าเจริญ เจ้าของร้านกาแฟขนะยืนอยู่และยังมีนายผาด บรรจุสุวรรณ(ช่างสิทธิ์) ช่างสุทิน ช่างมนัส ช่างเจริญและช่างคล่อง นั่งล้อมวงดื่มกาแฟหน้าร้านปากซอยนิยมเก่า ห่างจากจุดเกิดเหตุระเบิดประมาณ 4-5เมตร แรงระเบิดทำให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวล้มลง แต่ไม่มีใครได้รับอันตรายใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่เสื้อผ้าขาดเท่านั้น ซึ่งทุกคนมีพระยายเขียดบูชาติดตัวอยู่ทุกคน ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่อยู่ในรัศมีของระเบิด ได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 คน เสียชีวิต 1 คน 3.เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2555 เวลาประมาณ 11.30น. นายวิชาญ คงสถานะ อยู่บ้านเลขที่28/205 ต.สะบารัง อ.เมือง ปัตตานี อาชีพต่อเรือแผนกช่างไม้ ของคานเรือศิริอุดม ถ.ปากน้ำ ม.8 ต.บานา อ.เมือง ปัตตานี ขณะกำลังตัดไม้กระดานด้วยเลื่อยวงเดือน ได้เอาเท้าเหยียบไม้ไว้ไไม่ให้ไม้กระดานเคลื่อนที่ พอไม้กระดานขาด เลื่อยก็สะบัดมาที่เท้า เท้าถูกคมเลื่อย บริเวณที่ส้นเท้าอย่างแรง เป็นที่น่าอัศจรรย์จริง ในฉับพลัน เครื่องจักรหยุดทำงานในทันที โดยที่ไม่มีใครปิดเครื่องแต่อย่างใด เพื่อนๆต่างช่วยกันตรวจสอบเท้า ปรากฏว่า ส้นรองเท้าขาด แต่ส้นเท้า ไม่มีบาดแผลแต่อย่างใด และสามารถทำงานต่อไปได้อย่างปกติ นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของประสบการณ์ของผู้ที่บูชาพระยายเขียดแสดงถึง มหิทธิคุณพุทธานุภาพอันเข็มขลังศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์น้อยองค์นี้ ### พระยายเขียด วัดยางแดง พิมพ์กลาง หลังเรียบ ปี 2505 ปลุกเสกโดยพระอาจารย์ทิมแห่งวัดช้างให้ อีกสุดยอดประสบการณ์ที่ได้รับการกล่าวขวัญจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในดินแดนที่มีความเสี่ยงทุกวินาทีของชีวิตแห่งพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้กับวัตถุมงคลที่มีพุทธคุณเกินราคา ผู้ชื่นชอบความเหนียวทุกท่านไม่ควรมองข้ามพระยายเขียด -----ประวัติเกี่ยวกับพระยายเขียด-----จังหวัดปัตตานีมีพระพุทธรูปที่พบในน้ำ 2 องค์ด้วยกัน คือ "หลวงพ่อทุ่งคา" วัดบูรพาราม อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี และ "พระยายเขียด" วัดนิคมสถิตย์ (วัดยางแดง) อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีการสร้างพระเครื่องของหลวงพ่อทั้ง 2 องค์ขึ้นหลายครั้ง พระเครื่องในยุคแรกได้รับการอธิษฐานจิตโดย "พระอาจารย์ทิม" อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ผู้สร้างหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ปี 2497 โด่งดังอยู่ในปัจจุบัน "วัดนิคมสถิตย์" หรือที่ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกกันว่า "วัดยางแดง" แต่มักคุ้นกับวัดแห่งนี้ในชื่อ "วัดยายเขียด" ซึ่งมีชื่อมาจาก "พระยายเขียด" และ "วัตถุมงคลพระยายเขียด" ที่วัดจัดสร้างขึ้นโดยมีพระเกจิสำคัญเป็นผู้ปลุกเสก นั่นคือ "พระครูวิสัยโสภณ" หรือ "พระอาจารย์ทิม" อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ในยุคนั้น และ "พระอาจารย์นอง" แห่งวัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี ในอดีตพื้นที่นี้มีชาวบ้านทั้งพุทธและมุสลิมจำนวนมากอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะวัดแห่งนี้เดิมเป็นโรงแปรรูปไม้ ก่อนจะกลายสภาพมาเป็นที่พักสงฆ์เล็กๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนในละแวกใกล้เคียงได้ถวายสังฆทานในวันพระเป็นประจำ กระทั่งได้กลายเป็นสำนักสงฆ์ และเป็นวัดโดยสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ.2419 ทั้งในช่วงที่มีการแบ่งเขตตำบลเปลี่ยนแปลงชื่อวัดยางแดง มาเป็นชื่อวัดนิคมสถิตย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับหมู่ 4 ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ดั่งที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ พระพุทธรูปองค์เล็กประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดนิคมสถิตย์ ซึ่งประชาชนต่างเรียกว่า "พระพุทธรูปยายเขียด" นี้ เดิมทีมีสตรีสูงวัยชื่อ "ยายเขียด" ซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้ออกหาปลาโดยใช้ "ชะนาง" (เครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่ง) โดยพยายามตระเวนจับปลาทั้งวันแต่ไม่ได้แม้แต่ตัวเดียว ขณะเดียวกันกลับได้พระพุทธรูปองค์หนึ่งขึ้นมาจากแอ่งน้ำ จึงได้อัญเชิญกลับบ้าน ก่อนจะนำไปถวายพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นจำวัด ณ วัดท่าเรือ โดยอยู่ใกล้ๆ กับบ้านของยายเขียด กระทั่งพระรูปดังกล่าวเดินทางมาจำพรรษาที่วัดในพื้นที่ยางแดง ภายหลังจากวัดท่าเรือกลายเป็นวัดร้างเนื่องจากไม่มีพระภิกษุจำพรรษา กระทั่งวัดยางแดงได้กลายเป็นวัดนิคมสถิตย์ และพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวก็ถูกเรียกขานกันว่า "พระยายเขียด" ตั้งแต่อดีตมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีอายุกว่า 100 ปี "พระพุทธรูปยายเขียด" มีอภินิหารทางสัจจะเป็นที่ยำเกรงของพวกทุจริตชนเป็นอันมาก กล่าวคือ เมื่อผู้ใดกระทำผิดกับบุคคลอื่น เช่น ลักขโมย ฉ้อโกง หรือยักยอกทรัพย์สินผู้อื่น เมื่อเจ้าของทรัพย์นำตัวมาสาบานต่อหน้าพระพุทธรูปยายเขียดองค์นี้แล้ว ส่วนมากผู้กระทำผิดมักจะมีอันเป็นไปตามคำสาบานนั้น ถ้าบุคคลใดไม่มีความผิดก็มักจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น ช่วงที่มีเหตุการณ์ใต้ที่เผาโรงเรียน วัด สถานที่ราชการ วัดยางแดงนี้ถูกหมายตาไว้แล้วว่าจะมาเผา ช่วงกลางวันผู้ก่อเหตุได้มาดูวัดนี้เพื่อเตรียมการจะเผา พอตกกลางคืนหาทางเข้าวัดไม่เจอ มา 3 คืนติดกันแต่ก็ยังไม่เจอ ความศักดิ์สิทธิ์ของ "พระยายเขียด" ซึ่งในช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบยังมีพระเหลืออยู่เต็มตู้ แต่เมื่อเกิดเรื่องราวอันเป็นประสบการณ์จริงของพลเรือน ตำรวจ ทหาร ทำให้มีผู้เดินทางมาบูชาพระเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะแวดวงข้าราชการชายแดนใต้ ส่งผลให้วัดมีรายได้ที่จะบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะสถานที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ทหารและตำรวจ ระดับปฏิบัติงานจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศที่ต้องเดินทางลงมาทำหน้าที่ในพื้นที่ ก็มักจะมาไหว้พระขอพรและบูชาวัตถุมงคลติดตัวกลับไป เพื่อความเป็นสิริมงคล หรือสร้างขวัญและกำลัง ส่วนใหญ่น้อยรายจะรู้ถึงประวัติที่มาในการสร้าง จวบจนกระทั่งเมื่อเกิดประสบการณ์แคล้วคลาด ปลอดภัย หรือรอดพ้นจากเหตุลอบระเบิด หรือคนร้ายซุ่มโจมตีก็เริ่มมีกองกำลังหลายหน่วยที่กระจายตัวปฏิบัติงานทั่ว 3 จังหวัดเดินทางมาที่วัด เพื่อทำบุญและขอวัตถุมงคลติดตัวกลับไปเป็นจำนวนมาก จุดนี้เองที่ทำให้วัดเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในที่สุดวัดเล็กๆ แห่งนี้กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นตลอดห้วง 6 ปีที่ผ่านมานับแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในดินแดนล่างสุดของประเทศ นอกจากพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังมีพี่น้องต่างศาสนาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยึดอาชีพทำมาค้าขาย ต่างแวะเวียนเข้ามาให้เห็นอยู่เป็นประจำ โดยเดินทางมาเพื่อมาขอรับทราย จากมือของ "พระครูสถิตนิคมธรรม" เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ที่ว่ากันว่าใครได้ไปแล้วจะช่วยให้ "ทำมาค้าคล่อง" จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่พ่อค้าแม่ค้า ทั้งไทยและพุทธทั่วพื้นที่เป็นอย่างดี ถึงขั้นที่ต้องเตรียมไว้เป็นกระสอบ เพื่อให้เพียงพอสำหรับแจกจ่ายแก่ผู้เดินทางมาขอรับอย่างต่อเนื่องแทบทุกวัน กล่าวสำหรับวัตถุมงคลพระพุทธรูปวัดยายเขียด ได้มีการจัดสร้างขึ้นเป็นรุ่นแรก เมื่อปีพ.ศ.2505 เป็นเนื้อว่านพิมพ์ใหญ่, พิมพ์กลาง, พิมพ์เล็ก, พิมพ์ต้อ และพิมพ์กรรมการ หลังเรียบ หลังยันต์หลวงพ่อพัฒน์ (วัดใหม่) ทำพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกโดย พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม) วัดช้างให้ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2505 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 ต่อมาได้มีการจัดสร้างและปลุกเสกขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2536 มีทั้งเหรียญ, พระเนื้อว่าน และพระบูชา พระพุทธรูปยายเขียดผสมว่านและผงศักดิ์สิทธิ์จากที่ต่างๆ ซึ่งผสมว่าน 108 ผลอักขระพระธรรมขันธ์ 84,000 พระธรรมขันธ์, ผงตรีนิสิงเห, สัตตนาเค |