เหรียญหล่อ หลวงปู่คง หลังนางกวัก วัดตะคร้อ รุ่น"คงทวีลาภ" พิเศษ มีรอยจาร สภาพสวย-ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า น้อมบูชาคุณ พระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พุทธคุณ ล้ำค่ายิ่งทางใจ"

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540

เหรียญหล่อ หลวงปู่คง หลังนางกวัก วัดตะคร้อ รุ่น"คงทวีลาภ" พิเศษ มีรอยจาร สภาพสวย

เหรียญหล่อ หลวงปู่คง หลังนางกวัก วัดตะคร้อ รุ่น"คงทวีลาภ"  พิเศษ มีรอยจาร  สภาพสวย - 1เหรียญหล่อ หลวงปู่คง หลังนางกวัก วัดตะคร้อ รุ่น"คงทวีลาภ"  พิเศษ มีรอยจาร  สภาพสวย - 2เหรียญหล่อ หลวงปู่คง หลังนางกวัก วัดตะคร้อ รุ่น"คงทวีลาภ"  พิเศษ มีรอยจาร  สภาพสวย - 3เหรียญหล่อ หลวงปู่คง หลังนางกวัก วัดตะคร้อ รุ่น"คงทวีลาภ"  พิเศษ มีรอยจาร  สภาพสวย - 4
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหล่อ หลวงปู่คง หลังนางกวัก วัดตะคร้อ รุ่น"คงทวีลาภ" พิเศษ มีรอยจาร สภาพสวย
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
ราคาเช่า 500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ จองแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 23 พ.ย. 2566 - 21:20.34
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 25 พ.ย. 2566 - 18:34.23
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๒๑๐๗๓
เหรียญหล่อ หลวงปู่คง หลังนางกวัก วัดตะคร้อ รุ่น"คงทวีลาภ" พิเศษ มีรอยจาร สภาพสวย

หลวงปู่คง ฐิติปัญโญ ( พระครูคงคนครพิทักษ์ ) เจ้าคณะอำเภอคงกิตติมศักดิ์ และเจ้าอาวาสวัดตะคร้อ พระสุปฏิปันโน ปฏิบัติดีบฏิบัติชอบ ที่เคารพนับถือได้อย่างสนิทใจ แม้นแต่หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ยังเคารพนับถือท่านเป็นครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง ในช่วงที่หลวงปู่ยังไม่ละสังขาร ญาติโยม พุทธบริษัทที่มากราบนมัสการหลวงปู่ล้วนทราบในเมตตาอย่างหาที่สุดมิได้ของท่าน

ประวัติของหลวงปู่โดยย่อ
พระครูคงคนครพิทักษ์ (คง ฐิติปัญโญ) น.ธ.เอก ป.ธ.4 นามเดิม คง เทพนอก เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2453 ปีกุน ณ บ้านคอนเมือง หมู่ 2 ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายพูน และนางแย้ม เทพนอก ซึ่งมีอาชีพทำนา ทำไร่ หลวงปู่มีพี่น้อง ร่วมบิดา มารดา รวม 7 คน ท่านเป็นลูกคนโตจึงต้องทำงานหนัก ตรากตรำ มากกว่าคนอื่น ๆ ตั้งแต่เด็กจนโต หัดไถนาื ปักดำ ถอนกล้า เกี่ยวข้าว และหาบข้าว จากนา มาบ้าน ช่วยบิดา มารดา ทำงานทุกอย่าง เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ หน้าที่ ของท่านทั้งสอง

ต่อมาโยมบิดา มารดาของท่านได้นำท่านไปฝากกับหลวงพ่อหมั่น ที่วัดบ้านคอนเมือง จ.นครราชสีมา เนื่องจากศรัทธาเพราะหลวงพ่อหมั่น ท่านเป็นพระบฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และท่านเก่งทางวิชาอาคมมาก โดยเฉพาะวิชาอาคมของขอม และท่านยังธุดงค์ไปเขมรหลายครั้ง ทั้งๆที่ยุคนั้นภาคอิสานยังเป็นป่าดงดิบ เต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ และภูติผีปีศาจ ซ้ำเส้นทางคมนาคมก็ยังไม่มี ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของคนแถบนั้น โดยวัดคอนเมืองนั้นไม่ห่างไม่ไกลกับบ้านของท่านนัก ด้วยโยมบิดาโยมมารดาต้องการให้ท่านได้เล่าเรียนหนังสืออ่านออกเขียนได้ และมีวิชาติดตัว ชีวิตเด็กวัด เด็กชายคง ก็ไม่เคยทิ้งทางบ้าน ถึงเวลาทำนา ทำไร่ ก็จะไปช่วยงาน คุณบิดา มารดา หลวงเล่าว่า ท่านทำทุกอย่าง ในสมัยนั้น ไม่ว่าจะไถนา ขุดดิน กั้น คันน หว่านข้าว เกี่ยวข้าว ตีข้าว ในใจของท่าน ไม่เคยมีคำว่า "ไม่ได้" มีแต่คำว่า "ได้" และสู้อดทน กับการทำหน้าที่ื ของตนอย่างเข้มแข็ง ที่วัดบ้านคอนเมือง เพื่อจะได้ศึกษา เล่าเรียน ปฐม ก กา ให้อ่านออกเขียนได้ ทั้งอักษรขอม อักษรไทย จนมีความชำนาญ ชีวิตเด็กวัดทำให้เด็กชายคงเป็นคนหนักเอาเบาสู้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานและครอบครัวและมีเมตตา

เมื่ออายุได้16ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.2470 บวชได้2ปี สามเณรคงก็ต้องลาสิกขา เหตุเพราะไม่มีคน โยมบิดาโยมมารดาของท่าน ต้องการได้กำลังท่านมาช่วยทำไร่ทำนา และเลี้ยงดูน้องๆ ด้วยหลวงปู่ท่านมีความเมตตา และห่วงใยทุกคนในครอบครัวท่านจึงตัดสินใจลาสิกขา และได้ช่วยโยมบิดาโยมมารดาทำนาทำไร่

ต่อมา พ.ศ.2474 เมื่อน้องของท่านโตพอที่จะรับภาระหน้าที่ได้ หลวงปู่จึงได้บรรพชาเป็นพระภิกษุสงฆ์ ครองผ้ากาสาวพักสตร์ ตามความต้องการของโยมบิดาโยมมารดา ซึ่งในขณะนั้นหลวงปู่อายุ21ปี โดยความตั้งใจแต่ทีแรกท่านเพียงต้องการบวชเพื่อทดแทนคุณบิดามารดา และเป็นไปตามค่านิยมของท้องถิ่นที่ผู้ชายทุกคนต้องได้เคยบวชเรียนมาก่อนครองเรือน โดยหลวงปู่อุปสมบท ณ วัดบ้านวัด ต.เทพาลัย อ.คง จ.นครราชสีมา โดยมีหลวงพ่อทุย ( พระครูศีลวิสุทธิพรต เจ้าอาวาสวัดเดิม อ.พิมาย ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองสุข สุชาโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ทิม สุมโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รัยฉายาว่า "ฐิติปัญโญ" ซึ่งมีความหมายว่าผู้มีปัญญาตั้งมั่น

เมื่ออุปสมบทแล้วพระภิกษุคง ได้มาศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อทุย วัดเดิม อ.พิมาย พระอุปัชฌายาจารย์ของท่าน ซึ่งหลวงพ่อทุยนั้นเป็นเป็นพระภิกษุยุคโบราณที่เรืองวิทยาคม ขลัง และมีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่นับถือมาของคนพิมาย และคนโคราช และเมื่อมีเวลาว่างพระภิกษุคงได้ปรนนิบัติอุปัฏฐากหลวงพ่อทุย ด้วยฌาณสมบัติหลวงพ่อทุยมองเห็นว่าต่อไปในภายภาคหน้าพระภิกษุหนุ่มรูปนี้จะเป็นกำลังสำคัญต่อไปในการเผยแพร่พระพุทธะศาสนาจึงถ่ายทอดวิชาอาคมทั้งหมดให้แก่พระภิกษุหนุ่ม เมื่อได้ศึกษาวิชาความรู้ต่างๆมากพระภิกษุคงรู้ว่าต่อไปภาคหน้าตัวเองคงจะไม่ได้ลาสิกขา ด้วยเพราะภาระหน้าที่ต่างๆทางบ้านก็มีน้องๆสามารถรับผิดชอบได้ และหากท่านอยู่ในสมณะเพศท่านจะสามารถทำประโยชน์ให้ต่อพระศาสนาได้มาก

พ.ศ 2480 หลวงพ่อทุยได้แนะนำให้พระภิกษุคง ได้ไปศึกษาเล่าเรียนกับกับหลวงพ่อเขียว ( พระครูปทุมญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดบัวใหญ่ อ.บัวใหญ่ ) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อทุยเช่นกัน โดยหลวงพ่อเขียวท่านมีวิชาที่เก่งกาจและมีความศักดิ์สิทธิ์มาก โดยท่านเก่งทางวิชามหานิยมนะจังงัง และทางแคล้วคลาด หลวงพ่อทุยเห็นว่าได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่พระภิกษุคงหมดแล้ว และเล็งเห็นว่าหากได้มีโอกาสไปศึกษาเล่าเรียนกับศิษย์พี่ที่เก่งกาจ จะเป็นประโยชน์กับพระหนุ่มที่ต่อไปภายภาคหน้าจะเป็นผู้นำกองทัพธรรมที่สำคัญของกองทัพธรรมภาคอิสาน พระภิกษุหนุ่มจึงได้มากศึกษาและรับใช้งานทุกอย่างที่วัดบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ท่านได้รับใช้และอุปัฏฐากหลวงพ่อเขียว จนกระทั่งได้รับความไว้วางใจให้เป็นเลขานุการของหลวงพ่อเขียว ที่วัดบัวใหญ่นี้พระภิกษุหนุ่มได้ศึกษาวิชาความรู้ และคาถาอาคมต่างๆจนมีความเชี่ยวชาญ พระภิกษุหนุ่มได้รับการถ่ายทอดวิชาที่เข้มขลังทั้งหมด โดยเฉพาะวิชามหานิยมนะจังงัง และวิชาทางแคล้วคลาด ในขณะที่พระภิกษุหนุ่มรับใช้อยู่ที่วัดบัวใหญ่นี้ ท่านขึ้นชื่อว่าเป็นพระที่เทศน์ได้เก่งมากๆจนได้รับกิจนิมนต์ให้ไปเทศน์ในถิ่นธุระกันดารเสมอๆ ซึ่งเป็นการฝึกตนเองให้กับพระภิกษุหนุ่ม เพราะแถบอำเภอบัวใหญ่ในยุคนั้นยังเต็มไปด้วยป่าไม้และสิงสาราสัตว์ ซึ่งมีทั้งเสือ มีทั้งช้าง และโจรป่า และในช่วงนี้พระคงยังได้มีโอกาสออกธุดงค์ไปทั้งลาว และเขมร ซึ่งการเดินทางในยุคนั้นยากลำบากมาก เพราะภาคอิสานเต็มไปด้วยป่าดงดิบ ไม่ได้ถูกตัดไม้ทำลายป่า และมีถนนหนทางเช่นทุกวันนี้ ดังนั้นพระภิกษุที่ออกธุดงค์ได้จะต้องมีวิชาที่เก่งกาจและศักดิ์สิทธิ์มากๆ

พ.ศ.2493 เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดตะคร้อ อ.คง จ.นครราชสีมาว่างลง หลวงพ่อเขียวเห็นว่าพระหนุ่มนี้มีความสามารถที่จะรับตำแหน่งนี้ได้ จึงสนับสนุนให้พระหนุ่มได้มีโอกาสดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดตะคร้อแม้นพระหนุ่มจะรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดตะคร้อแล้ว เมื่อมอบหมายงานเรียบร้อยท่านมักหาเวลาเพื่อมาอุปัฏฐากหลวงพ่อเขียวเสมอๆ จวบจนกระทั่งท่านมรณะภาพ

ตั้งแต่พระหนุ่มได้มาปกครองวัดตะคร้อ วัดตะคร้อในยุคนั้นเป็ยวัดยากจนเพราะชาวบ้านแถบวัดนั้นยากจน และแถบอำเภอคงนั้นจัดได้ว่าเป็นอำเภอที่ธุระกันดารที่สุดในยุคนั้น พระหนุ่มต้องรับกิจนิมนต์ไปในถิ่นธุรกันดารเสมอๆ โดยพาหนะที่คำคัญในยุคนั้นคือม้า หลวงปู่เคยเล่าว่าช่วงนั้นแถบอำเภอคงเป็นป่าดงดิบ เวลาได้รับกิจนิมนต์ ม้ามันจะไม่ค่อยกล้าออกเดินทาง เพราะแถบนั้นมีเสือหลายตัว เวลาม้าได้กลิ่นเสือมันจะตื่นกลัวตลอดเวลา ท่านว่าท่านต้องเองเปลือกมะนาวไปถูจมูกม้าให้มันไม่ได้กลิ่นเสือ จึงยอมเดินทาง ท่านทั้งต้องบริหาร ต้องปกครอง ดูแลพระลูกวัด จากวัดยากจนไม่มีอะไรเลย หลวงปู่ได้สร้างเสนาสนะต่าง พระอุโบสถ โรงเรียนพระปริยัติธรรม ฯลฯ จนกระทั่งได้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกระทรวงศึกษาธิการ โดยหลวงปู่ท่านไม่สะสมเงินทอง ท่านไม่มีเงินทองของตัวเองเลย เงินที่ได้จากการเช่าวัตถุมงคลทุกบาททุกสตางค์เข้าในบัญชีของวัด และเมื่อสร้างอะไรในวัดหลวงปู่จะย้ายไปจำวัดที่นั่นด้วยต้องการให้งานก้าวหน้า เพราะหลวงปู่เกรงว่าทุกครั้งที่อาพาธมักจะมีอาการหนัก หลวงปู่เกรงงานที่คั่งค้างจะทำไม่สำเร็จ ทุกครั้งที่อาพาธลูกศิษย์จะแย่งกันออกค่ารักษาพยาบาล เพราะหลวงปู่ไม่เก็บสะสมอะไรเลย

หลวงปู่คง วัดตะคร้อนับเป็นพระสุปฏิปันโน ปฏิบัติดีบฏิบัติชอบ ที่เคารพนับถือได้อย่างสนิทใจ ด้วยวัตรปฏิบัติที่งดงามน่าเลื่อมใส หลวงปู่มีวิชาอาคมที่เข้มขลัง และศักดิ์สิทธิ์ทุกรุ่น ทุกชิ้น และมากด้วยประสบการณ์ สมัยที่ท่านยังไม่ละสังขาร หลวงปู่กับกิจนิมนต์โดยไม่เลือกยากดีมีจน ชาวบ้านหรือคหบดี ทุกคนที่มากราบนมัสการหลวงปู่ หลวงปู่จะมอบวัตถุมงคลให้คนละกำมือ

เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าได้มีบุญวาสนาได้บวชกับหลวงปู่ ( พ.ศ.2541 ) เมื่อครบกำหนดลาสิกขา หลวงปู่ได้มอบวัตถุมงคลให้จำนวนหนึ่ง ในขณะนั้นข้าพเจ้าไม่ได้สนใจในวัตถุมงคลแต่ก็ทราบว่าหลวงปู่มีวิชาเข้มขลังมีความศักดิ์สิทธิ์ มีลูกศิษย์ที่เคารพนับถือมากมายทั่วประเทศทั้งภิกษุสงฆ์ด้วยกัน และฆาราวาสพุทธบริษัททั้งหลาย จึงได้วัตถุมงคลนั้นไว้ในพานทอง ต่อเมื่อปีนี้( พ.ศ.2550 ) ข้าพเจ้าจึงสนใจเรื่องวัตถุมงคล โดยเฉพาะของหลวงปู่เพราะเป็นศิษย์ของท่านและรักเคารพท่านมาก เมื่อเปิดจากหนังสือทราบว่าท่านมีพระสมเด็จ ก็เกิดอยากได้พระสมเด็จของท่านมาก จึงไปดูที่พานทองปรากฏว่ามีพระสมเด็จอยู่องค์หนึ่ง เดือนต่อมาเมื่อศึกษาวัตถุมงคลมากเข้าข้าพเจ้าก็อยากได้พระกริ่งของหลวงปู่ ข้าพเจ้าจึงไปดูที่พานทองอีก ปรากฏว่ามีพระกริ่งอยู่องค์หนึ่ง หลายเดือนต่อมาข้าพเจ้าประมูลเหรียญหนึ่งของหลวงปู่ทองอินเตอร์เน็ต แต่ประมูลไม่ได้เนื่องจากข้าพเจ้าลืมมาเช็คว่ามีใครให้ราคาสูงกว่าหรือไม่ พอไม่ได้ข้าพเจ้าจึงไปเปิดหนังสือดูว่าเหรียญที่ข้าพเจ้าประมูลนั้นเป็นรุ่นใด พอเปิดแล้วทราบว่าเป็นเหรียญรูปอาร์มรุ่นเสาร์ห้า ปี 2539 ข้าพเจ้าก็มีความเสียดายที่ประมูลไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงไปดูที่พานทองปรากฏว่ามีเหรียญนี้อยู่ด้วยจริงๆ ข้าพเจ้าศรัทธาอย่างแท้จริงว่าหลวงปู่ทราบด้วยฌาณสมาบัติของท่าน ว่าต่อไปในภายภาคหน้าข้าพเจ้าจะต้องการวัตถุมงคลใด และหยิบให้

หลวงปู่สร้างประโยชน์คุณาประการแก่พระพุทธศาสนา ทำให้ชาวพุทธมีความมั่นในธรรม ท่านอบรมกุลบุตรมากมายทั่วประเทศที่ส่งมาให้ได้มีโอกาสบวชเรียนกับท่าน ที่วัดตะคร้อมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมทำให้เป็นความสะดวกแก่พระภิกษุสงฆ์ได้ศึกษาเล่าเรียน วัดใดมีเจตจำนงค์ต้องการให้หลวงปู่สร้างวัตถุมงคล เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้บริจาคทรัพย์เพื่อสร้างวัดต่างๆ ขอให้หลวงปู่สร้างและอธิษฐานจิตให้ หลวงปู่ก็เมตตาทุกวัดที่ขอมา

ปัจจุบันหลวงปู่ละสังขารแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 แต่หลังจากหลวงปู่ละสังขารปรากฏว่าสังขารท่านไม่เน่าไม่เปื่อย นอกจากนั้นเกศาและเล็บของท่านยังงอกยาวขึ้นทุกปี สังขารของท่านเก็บรักษาที่วัดตะคร้อ ให้ญาติโยมที่เคารพศรัทธาท่านได้กราบนมัสการ และทางวัดได้ดำริสร้างมลฑป เพื่อเก็บรักษาสังขารของหลวงปู่ โดยจะมีพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างวันที่18 พ.ย. 2550

ปี พ.ศ.2509 หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา กราบนมัสการหลวงปู่คง
วัดตะคร้อ เป็นครูบาอาจารย์ และศึกษาเล่าเรียนสรรพวิชากับหลวงปู่คง
ณ วัดตะคร้อ อ.คง จ.นครราชสีมา



ปี พ.ศ.2537 หลวงพ่อคูณ กราบนมัสการหลวงปู่คง ณ วัดตะคร้อ
เนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบ7รอบ เมื่อปี พ.ศ.2537
พร้อมทั้งมอบเงินร่วมบุญแก่หลวงปู่คงสามหมื่นบาท
วัตถุมงคลรุ่นฉลองอายุ7รอบ พ.ศ.2537 จึงเข้มขลัง
เพราะเป็นวัตถุมงคลที่ทั้งศิษย์และอาจารย์ร่วมอธิษฐานจิต

ฟังมาจากลูกศิษย์ก้นกุฏิของหลวงปู่เล่าให้ฟังว่า
ขณะนั้นกำลังบีบนวดหลวงปู่อยู่ อยู่ๆหลวงปู่ก็ลุกขึ้นครองผ้าเรียบร้อย
เขาจึงถามหลวงปู่ว่าจะมีแขกหรือครับ
หลวงปู่พูดว่า "ไอ้คูณกำลังจะมา"
สักพักใหญ่ๆ หลวงพ่อคูณก็เดินทางมาที่กุฏิหลวงปู่จริงๆ
ท่าน และหลวงพ่อคูณเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนสามารถสื่อสารจิตถึงกันได้

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top