หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญลงยาพร้อมแหนบ พระครูปลัดเสน วัดไสกระดาน เพชรบุรี ปี 2520 สภาพสวย
ชื่อร้านค้า | ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญลงยาพร้อมแหนบ พระครูปลัดเสน วัดไสกระดาน เพชรบุรี ปี 2520 สภาพสวย |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | 350 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.) |
อีเมล์ติดต่อ | เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พ. - 22 ก.พ. 2566 - 21:06.42 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 20 มี.ค. 2566 - 23:11.48 |
รายละเอียด | |
---|---|
**รหัส ศ.ร.๑๙๔๔๑ เหรียญลงยาพร้อมแหนบ พระครูปลัดเสน วัดไสกระดาน เพชรบุรี ปี 2520 สภาพสวย หลวงพ่อปลัดเสน วัดไสกระดาน หลวงพ่อเเดง วัดเขาบันไดอิฐ เพื่อการศึกษาเเละสะสม ( ห้ามซื้อขาย ) #สาระน่ารู้ หลายคนมักเข้าใจว่าหลวงพ่อปลัดเสน เป็นศิษย์หลวงพ่อเเดง วัดเขาบันไดอิฐ เพียงเพราะตัวยันต์ที่ปรากฎด้านหลังวัตถุมงคลของทางวัดไสกระดาน น้อยคนที่จะรู้ว่า เเท้จริงเเล้วหลวงพ่อปลัดเสนนั้น ท่านดำรงตำเเหน่งเจ้าอาวาสวัดไสกระดาน เมื่อปี 2311 นับเป็นเจ้าอาวาสรูปเเรกผู้ก่อตั้งวัดใสกระดานเลยก็ว่าได้ เเละที่สำคัญท่านเป็นพระเกจิยุคก่อนหลวงพ่อเเดง วัดเขาบันไดอิฐ ท่านไม่ได้เป็นศิษย์หลวงพ่อเเดงนะครับ เมื่อครั้งที่มีการจัดสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อปลัดเสน ในปี 17 นั้น ได้มีการสร้างวัตถุมงคลที่เป็นรูปหลวงพ่อปลัดเสนนี้ด้วย พร้อมทั้งนิมนต์เกจิคณาจารย์มาปลุกเสกมากมาย ส่วนเรื่องยันต์ของหลวงพ่อเเดง น่าจะเป็นการขออนุญาตเพื่อนำยันต์ดังกล่าวนี้มาใช้ ภายหลังที่หลวงพ่อเเดงท่านมรณภาพไปเเล้วครับ หลังจากนั้นก็ได้มีการสร้างต่อมาอีกหลายรุ่นด้วยกัน เเต่ถึงอย่างไรก็ตามวัตถุมงคลของหลวงพ่อปลัดเสน วัดไสกระดานนี้ ก็มีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์มากมายด้วยเช่นกัน เรามาศึกษาประวัติความเป็นมาไปพร้อมๆกัน เพื่อเป็นความรู้เลยนะครับ ประวัติวัดไสกระดาน วัดไสกระดาน ตำบลนาวุ้ง อำเภอ เมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นวัดที่สร้างเก่า แก่วัดหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี วัดไสกระดานนี้ได้สร้างมาเป็นเวลานานถึง 200 ปีเศษ รายนามเจ้าอาวาสของวัดไสกระดาน ซึ่งจะนับเจ้าอาวาสที่ได้ปกครองวัดไสกระดานตลอดมา เพื่อให้ท่าน ได้ทราบเป็นจำนวนถึง 11 องค์ด้วยกัน -หลวงพ่อปลัดเสน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.2311 มรณภาพเมื่อปีพ.ศ.2365 -หลวงพ่อแตง ก็ได้ปกครองเมื่อปีพ.ศ.2404 เพราะว่าตั้งแต่หลวงพ่อปลัดเสนท่านมรณภาพแล้ว วัดก็ได้ร้างอยู่ระยะหนึ่ง เท่าที่ทราบว่าเหลือเพียงอุโบสถอยู่เพียงหลังเดียว หลวงพ่อแตงท่านก็ได้อาศัยอยู่ในอุโบสถมาถึง พ.ศ.2416 ท่านก็มามรณภาพลงด้วยโรคชรา -หลวงพ่อพุฒ ซึ่งท่านเป็นคนทางบ้านบ่อพราหมณ์ ท่านก็มาปกครองเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปีพ.ศ.2436 ท่านเริ่มก่อสร้าง และทำการปฏิสังขรณ์เรื่อยมา จนสภาพของวัดดีขึ้น ต่อมาท่านก็มรณภาพ -หลวงพ่อเท ก็รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสต่อมาถึงปีพ.ศ.2478 -หลวงพ่อเงิน ซึ่งท่านเป็นคนในบ้านไสกระดาน ก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดไสกระดานต่อมา ในการที่ท่านหลวงพ่อเงินท่านได้รับเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็ได้ทำการบูรณะและก่อสร้างถาวรวัตถุเหล่านั้น ขึ้นมาบ้างดังที่เห็นเป็นอนุสรณ์อยู่เวลานี้นั้น ก็มีฝากั้น ห้องเป็นจำนวนสองห้อง ซึ่งหลวงพ่อเงินท่านได้สลักเป็นลายกนกต่าง ๆ ซึ่งใช้เวลาถึงสองพรรษาจึงเสร็จ ซึ่งจะหาดูได้ยาก แต่แล้วบุญบารมีของท่านก็หมด คือท่านเกิดเบื่อหน่ายในเพศบรรพชิต ดังนั้นท่านก็จึงได้ลาสิกขาบท เมื่อ พ.ศ.2488 -หลวงพ่อออด ขึ้นปกครองรักษาการแทนเจ้าอาวาส อยู่หนึ่งปี -หลวงพ่อโถ ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.2489 - พ.ศ.2490 หลวงพ่อโถท่านก็มาลาสิกขาไปอีก -หลวงพ่อชัน เป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ถึง พ.ศ.2490 - พ.ศ.2495 -หลวงพ่อเจริญ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.2495 - พ.ศ.2497 -หลวงพ่อผ่อน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.2498 - พ.ศ.2516 แล้วท่านก็ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไสกระดานไปอยู่ยังวัดอื่น -หลวงพ่อหม่อง ปฏิญาโณ ขึ้นรักษาการแทนเจ้าอาวาส เมื่อพ.ศ.2517 ท่านได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสเมื่อพ.ศ.2520 - พ.ศ.2521 -พระมหาชุมพร ชินวโร เปรียญธรรม 4 ประโยค ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.2521 - พ.ศ.2530 -พระมหาวิชัย เตชธมโม เปรียญธรรม 4 ประโยค น.ธ.เอก เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.2531 ส่วนเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัด ดังจะได้เล่าให้ฟังต่อไป ซึ่งมีเรื่องเล่ามาว่าครั้งนั้นได้มีพระธุดงค์ ได้จาริกมาถึงยังหมู่บ้านแห่งนี้ และเวลานี้ก็เป็นเวลาเย็น ท่านจึงได้ทำการปักกรดลงที่ระหว่างนั้น ซึ่งห่างจากหมู่บ้านไม่มากนัก ในคืนนั้นท่าน จึงจำวัดอยู่ที่นั้นตลอดถึงเวลาเช้า ท่านก็ออกปฏิบัติกิจของท่านคือออกบิณฑบาตร เมื่อกลับจากบิณฑบาตรแล้ว ญาติโยมก็ได้ตามมาทำบุญ กัน เมื่อท่านฉันอาหารมื้อเช้าเสร็จแล้ว ท่านก็เก็บกรด จะออกเดินทางต่อไป เวลานั้นเองได้มีโยมผู้ชายผู้หนึ่งได้เอ่ยปากนิมนต์ท่านอยู่ที่นั้นอีก ตอนแรกท่านก็จะไม่ยอมอยู่ และแล้วก็ขัดศรัทธาไม่ได้ จึงรับปากกับโยมผู้นั้นแล้วจึงนิมนต์ ท่านไปพักผ่อนยังวิหารแห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าวิหารเปลี่ยว เป็นวิหารที่เก่าแก่มาก ไม่อาจจะทราบได้ว่าสร้างขึ้นมาในสมัยใด แต่ปัจจุบันนี้ได้ผุพังไปหมดแล้ว ต่อมาท่านก็มาก่อสร้างวัดแสนกรรดานขึ้น ซึ่งมีญาติโยมในแถบหมู่บ้านนั้นช่วยด้วย สร้างเป็นกุฏิประมาณสองห้องจำนวนหนึ่งหลัง ซึ่งทำเป็นแบบทรง ไทยมุงด้วยหญ้าแขวกและคา ตั้งแต่นั้นท่านก็จำพรรษาอยู่ที่นั้นเลย ต่อมาก็เจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนมีอุโบสถ นี้สร้างเมื่อพ.ศ.เท่าไร ก็ไม่อาจจะทราบได้เพราะว่าไม่มีประวัติเขียนไว้ ส่วนพระรูปที่เล่ามานี้คือ หลวงพ่อปลัดเสน หรือแสน ท่านเป็นพระเคร่งในทางด้านปฏิบัตินั่งพระกรรมฐานเป็นส่วนมาก ต่อมาท่านก็มรณภาพลง เป็นที่โศกเคร้าเสียใจแก่ชาวบ้านแสนกรรดาลนั้นมาก ดังนั้นจึงได้ทำการหล่อรูปท่านขึ้นไว้เป็นที่ระลึก เพื่อสักการะกราบไหว้ ซึ่งหล่อทำขึ้นด้วยเนื้อสำฤทธิ์ มีเกศข้างบนคล้ายพระพุทธรูปบูชาในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ที่แปลกอย่างหนึ่งคือที่ริมฝีปากท่านนั้น จะมีสีแดงกล่ำคล้ายสีจาด เข้าใจว่าท่านคงจะฉันหมากเก่ง จึงมีสีเช่นนั้นและเนตรท่านกลมดำและคม ซึ่งในตอนนั้นถ้าผู้ใดได้สบเนตรท่านแล้วก็ต้องหลบ ตาท่าน เสมือนกับว่าท่านนั้นจ้องมองเหมือนอย่างจะสะกดจิตผู้ที่ได้เห็นให้ตกอยู่ในอำนาจนั้น แต่แล้วเมื่อประมาณพ.ศ.2507 ชาวบ้านไสกระดานก็ต้องเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ได้มีพวกมารศาสนามางัดอุโบสถ และลักโขมยเอารูปของท่านไป ซึ่งในเวลาต่อมา เมื่อท่านกำนันจำลอง เอี่ยมวิไล ได้รับเลือกตั้งเป็นกำนันแล้ว กำนันจำลองก็ได้เข้ามาก่อสร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นที่สวยงาม เป็นอย่างยิ่งพอ จะเทียบกับวัดในเมืองได้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2517 ท่านกำนันจำลองก็ได้ทำการจัดพิธีปลุกเสกรูปเหมือนหลวงพ่อปลัดเสนขึ้นมาใหม่ เพื่อแทนองค์เก่า และในงานนี้ก็ได้นิมนต์ พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมในพิธีนี้เป็นจำนวนมาก ข้อมูลอ้างอิง หนังสือพิธีฉลองพัดเปรียญธรรม และ มอบทุนการศึกษาประจำปี 2539 สำนักศาสนศึกษาวัดไสกระดาน · |