หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญเสมาพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 เลี่ยมทองพร้อมบัตรรับรอง การันตีพระ หายากแล้วครับ พระดีประสบ
ชื่อร้านค้า | ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญเสมาพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 เลี่ยมทองพร้อมบัตรรับรอง การันตีพระ หายากแล้วครับ พระดีประสบ |
อายุพระเครื่อง | 82 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | 19,000 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.) |
อีเมล์ติดต่อ | เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 06 มิ.ย. 2565 - 20:49.41 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 21 ก.ค. 2565 - 13:12.46 |
รายละเอียด | |
---|---|
**รหัส ศ.ร.๑๗๙๘๒ เหรียญเสมาพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 เลี่ยมทองพร้อมบัตรรับรอง การันตีพระ หายากแล้วครับ พระดีประสบการณ์สูง ประวัติพระพุทธชินราช รุ่น อินโดจีน ปี 2485 เมื่อปี 2483 กลิ่นอาย สงครามใด้กระจายอยู่ทั่วภูมิภาค อินโดจีน หลาย ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม ประเทศไทยก็คือหนึ่งในนั้น ทั้งๆ ที่พยายามหลีกเลี่ยงทุกวิถีทาง เพราะรัฐบาลและคนไทยต่างก็รู้ดีว่า ผลพวงจากสงครามท้ายที่สุดแล้วก็จะเหลือแค่เพียง "ความสูญเสีย" ในภาวะสงครามสิ่งที่เป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยก็คือ "สิ่งศักดิ์สิทธิ์-พระคู่บ้านคู่เมือง" แต่สำหรับทหารที่ต้องอยู่แนวหน้า "พระเครื่อง" ถือเป็นมงคลวัตถุคู่กายที่หลายคนต้องพกพาหาติดตัวไป ด้วยเหตุนี้เอง ชาวไทยในแนวหลัง นำโดย "พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย" จึงตัดสินใจดำเนินงานสร้าง "พระพุทธชินราช" จำลองขนาดบูชาขึ้นมา พร้อมทั้ง พระพุทธชินราชขนาดเล็กแบบหล่อที่สามารถคล้องคอได้ ซึ่งแต่เดิมเป็นความตั้งใจของ ๒ สมาคมพุทธฯ คือ "พุทธธรรมสมาคม" และ "ยุวพุทธศาสนิกธรรม" แต่ต้องระงับเรื่องค้างไว้ตั้งแต่ปี ๒๔๘๓ เพราะเกิดสงครามอย่างหนัก และเมื่อสงครามอินโดจีนสงบลง ในปี ๒๔๘๕ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย จึงเดินหน้าสานงานสร้าง "พระพุทธชินราช" อย่างจริงจัง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ ได้ประกอบพิธี เททองหล่อ ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ ก่อนที่คณะกรรมการ พุทธสมาคมจะมากราบทูล ขอพระเมตตา ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม ในเรื่องการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ทั้งนี้พระองค์ทรงพระเมตตาให้คณะกรรมการพุทธสมาคมนำพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ ทำพิธี เททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นในเวลานั้นถือว่ายิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ เพราะพระคณาจารย์ ทั่วประเทศแ ละพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มอบแผ่นพระยันต์ พร้อมทั้งเดินทางมาร่วม เมตตาอธิษฐานจิต กันอย่างมากมาย การสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกพุทธสมาคมและคณะกรรมการ กำหนดไว้ให้สร้างเพียงแค่ ๒ แบบ คือ พระบูชา และ พระเครื่อง โดยได้กรมศิลปากรเข้ามาช่วยดูแลการหล่อและออกแบบพิมพ์พระ พระบูชา ที่จัดสร้างในคราวนี้ได้จำลองแบบจากองค์พระพุทธชินราช วัดใหญ่ เมืองพิษณุโลก โดยใช้กรรมวิธีการหล่อเป็นพระขัดเงา จากหลักฐานบันทึก การสร้าง ได้ระบุไว้ว่า "พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในครั้งนี้มีขนาดหน้าตักค่อนข้างใหญ่ ก่อนจะส่งไป ให้ทุกจังหวัด ทั่วเมืองไทยไว้สักการบูชา และถ้าประชาชนคนไหน ปรารถนา อยากได้ พระบูชาไว้เป็น ส่วนตัว ต้องแจ้งความจำนงเป็น ลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้ง ส่งเงินค่าจัดสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท ไปให้คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ช่างจัดสร้าง ตามจำนวนที่แจ้งความจำนงไว้เท่านั้น" ในส่วนของ พระเครื่อง คณะผู้ดำเนินงานได้ใช้กรรมวิธี ๒ แบบ คือ "หล่อ" และ "ปั้น" พระหล่อ จัดสร้างประมาณ ๙๐,๐๐๐ องค์ เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลือง เป็นหลัก แต่สุดท้าย คัดเหลือ สภาพสมบูรณ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งให้ความหมายเท่ากับพระธรรมขันธ์ เสน่ห์ของพระเครื่องพระพุทธชินราชแบบหล่อจะอยู่ที่ผิวพระและโค้ดใต้ ฐาน จะตอกเป็นรูปตรา "ธรรมจักร" และ "อกเลา" ซึ่งอกเลานี้ได้คัดลอกแบบ มาจากรูปอกเลาที่ติดอยู่หน้าบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ. พิษณุโลก พระพุทธชินราชแบบหล่อนี้ในตอนแรกได้หล่อ "อกเลานูน" ติดไว้บริเวณใต้ฐานพระ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบ แล้วใช้วิธีตอกโค้ดแทนจนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดังนั้นพระในส่วนที่เหลือจึงไม่ได้ตอกโค้ด พิธีกรรมการปลุกเสก ซึ่งได้ใช้พระคณาจารย์ร่วมสมัย ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ), หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว, หลวงพ่ออี๋ วัดสัต***บ, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร, หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้, หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก, หลวงพ่อนาค วัดระฆัง เป็นต้น สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆ จากทั่วราชอาณาจักร พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเศกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัยของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติไทยที่จะหาพิธีไหนมาเปรียบเทียบได้ยากยิ่ง รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเศก พระพุทธชินราชในปี พ.ศ. 2485 1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ เป็นองค์ประธานในพิธี 2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินการควบคุมการจัดสร้าง 3.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา 4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก 5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง 6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู 7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว 8.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง 9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง 10.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว 11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด 12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ 13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง 14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ 15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา 16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ 17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก 18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์ 19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ 20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส 21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ 22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์ 23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา 24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ 25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ 26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค 27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ 28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ 29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี 30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง 31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ 32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม 33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม 34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ 35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน 36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน 37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด 38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก 39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ 40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ 41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ 42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ 43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง 44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน 45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ 46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ 47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ 48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ 49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม 50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์ 51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ 52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา 53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก 54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน 55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ 56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน 57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส 58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง 59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว 60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม 61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม 62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง 63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก 64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ 65.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง 66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ 67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว 68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง 69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า 70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง 71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา 72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง 73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า 74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี 75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ 76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม 77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม 78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์ 79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว 80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง 81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง 82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร 83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ 84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ 85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก 86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ 87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา 88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ 89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม 90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา 91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม 92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์ 93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง 94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม 95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง 96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง 97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร 98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร 99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ 100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด 101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย 102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ 103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ 104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง 105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา 106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น 107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ 108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสกแต่จารแผ่นทองเหลืองมาร่วมพิธี |