หมวด พระสมเด็จทั่วไป
สมเด็จนางพญางิ้วดำเนื้อผง รุ่นพิเศษเสาร์ห้า ปี 2523 วัดใหม่บ้านดอน จ.นครราชสีมา ลป.ผาง,ลป.หน่าย,ลพ
ชื่อร้านค้า | ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | สมเด็จนางพญางิ้วดำเนื้อผง รุ่นพิเศษเสาร์ห้า ปี 2523 วัดใหม่บ้านดอน จ.นครราชสีมา ลป.ผาง,ลป.หน่าย,ลพ |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระสมเด็จทั่วไป |
ราคาเช่า | 400 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.) |
อีเมล์ติดต่อ | เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 11 ธ.ค. 2563 - 20:20.55 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 11 ธ.ค. 2563 - 20:20.55 |
รายละเอียด | |
---|---|
**รหัส ศ.ร.๑๕๒๘๖ สมเด็จนางพญางิ้วดำเนื้อผง รุ่นพิเศษเสาร์ห้า ปี 2523 วัดใหม่บ้านดอน จ.นครราชสีมา ลป.ผาง,ลป.หน่าย,ลพ.คูณ ร่วมปลุกเสกทุกวาระ นางพญางิ้วดำเนื้อผง วัดใหม่บ้านดอน โดย รณธรรม ธาราพันธุ์ พญางิ้วดำต้นดังกล่าวค้นพบโดย คุณสุชิน เจนอารีย์ ซึ่งท่านผู้นี้ได้ขุดพบลายแทงที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งบ่งชี้ถึงที่ซ่อนของไม้งิ้วดำและคุณสุชินก็ลองไปค้นหาตามคำบอกเล่าในลายแทง กระทั่งพบจริง ๆ ที่จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งไม้งิ้วดำต้นดั้งเดิมนี้ได้ถูกบรรจุเก็บไว้ในกรุโบราณแบบแน่นหนาเป็นอย่างดี ก่อนขุดขึ้นมา คุณสุชินได้ทำการบวงสรวงบอกกล่าวว่า ถ้าข้าพเจ้าขุดได้สมใจปรารถนาจริง ๆ แล้ว จะไม่ขอนำไปเป็นสมบัติส่วนตัว แต่จะนำไปถวายยังวัดใดวัดหนึ่ง เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่เจ้าของเดิมที่บรรจุไว้ เมื่อทำการขุดก็ได้พบพญางิ้วดำสมคำอธิษฐานโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ จากนั้นคุณสุชินก็นำไม้งิ้วดำดังกล่าวมามอบให้กับ คุณทัศนีย์ ชื้อรัตนากร เจ้าของร้านยา ศักดิ์ศรีเภสัช ในตัวจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งขณะนั้นคุณทัศนีย์เองก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ร่วมอุปถัมภ์การก่อสร้างอุโบสถวัดใหม่บ้านดอน ครั้นคุณทัศนีย์ได้ไม้งิ้วดำมาแล้วก็เก็บรักษาเป็นอย่างดีด้วยไม่เคยพบเห็นของแปลกอย่างนี้มาก่อนและด้วยความที่เป็นผู้มีน้ำใจงาม จึงได้นำไม้นี้ไปถวายพระเถรานุเถระตามวัดต่าง ๆ ตลอดจนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ อีกทั้งญาติสนิทมิตรสหายและนั่นคือจุดเริ่มแห่งมหาปาฏิหาริย์ที่พญางิ้วดำได้แสดงให้มหาชนได้ประจักษ์ ทั้งในด้านรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ บันดาลให้แคล้วคลาดจากภยันตรายอันเกิดเฉพาะหน้า และผู้ที่อัญเชิญขึ้นบูชายังที่สูงก็ได้ประสบกับโชคลาภในหลาย ๆ ทางอย่างไม่น่าเชื่อ เหตุการณ์นับว่าน่าอัศจรรย์ ประดุจว่าเป็นความต้องการของเทพเจ้าผู้ปกปักรักษาไม้งิ้วดำบันดาลให้เป็นไป ตั้งแต่การขุดพบลายแทงและแกะรอยไปจนพบเจอ ด้วยสุภาพบุรุษที่มั่นคงในสัจจะอย่างคุณสุชิน และการที่คุณสุชินรู้จักกับคุณทัศนีย์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมสร้างโบสถ์วัดใหม่บ้านดอน ซึ่งแต่ละท่านไม่คิดที่จะเก็บงำของสูงค่าอย่างนี้ไว้เป็นสมบัติตน มิเช่นนั้นแล้ว พญางิ้วดำ ต้นนี้ย่อมไม่มีโอกาสถูกอัญเชิญออกมาให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา ต่อมาคุณทัศนีย์ก็นำไม้งิ้วดำทั้งหมดถวายแก่ท่านพระครูอาคมวุฒิคุณ (วิจิตร อินทปัญโญ) วัดใหม่บ้านดอน ซึ่งท่านพระครูอาคมฯ ท่านนี้ เป็นศิษย์สำคัญรูปหนึ่งของหลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล วัดบ้านแจ้ง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระมหาเถระทั้งสองรูปนี้ผมแทบไม่ต้องกล่าวถึงกิตติคุณและความเก่งกล้าสามารถของท่านแล้วกระมัง ด้วยท่านเป็นผู้ทรงภูมิและวิทยาคุณอย่างสุดยอด ปรากฏชื่อลือชามานานนับสิบ ๆ ปี ชนิดที่หาคนไม่รู้จักไม่มี หลวงปู่ทั้งสองเป็นครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดสมถะและวิปัสสนากรรมฐานตลอดทั้งวิชาอาคมต่าง ๆ ให้หลวงพ่อพระครูอาคมฯ อย่างไม่ปิดบัง เมื่อท่านบรรลุวิทยาคุณต่าง ๆ ก็พอดี นายสงวน กิ่งโคกกรวด ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการปฏิสังขรณ์วัดใหม่บ้านดอนที่รกร้างมานาน และนิมนต์ขอให้หลวงพ่อพระครูอาคมฯ ย้ายมาจากวัดบ้านแจ้ง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาอยู่วัดใหม่บ้านดอนเพื่อทำการบูรณะ ซึ่ง เมื่อท่านพิจารณาแล้วก็รับปากและลงมือพัฒนาเรื่อยมาจนเจริญรุ่งเรือง ครั้นหลวงพ่อพระครูอาคมฯ ได้รับมอบไม้งิ้วดำมาแล้ว ท่านก็นำแก่นไม้ที่ใหญ่ที่สุดมาแกะเป็นเสาหลักมงคลมีลักษณะคล้ายกับหลักเมือง คือ เป็นเสากลม หัวเสาสลักเป็นดอกบัวตูมอย่างละเอียดประณีตงดงามมาก ส่วนรากแก้วหลวงพ่อได้ทำการเททองหล่อองค์พระพุทธรูป มีพุทธ ลักษณะครึ่งซีก พระปฤษฏางค์(หลัง) ติดกับซุ้มเรือนแก้วประดับกระจกสี จากนั้นท่านก็บรรจุรากไม้งิ้วดำเข้าไปในองค์พระแล้วถวายพระนามว่า พระพุทธมงคลสมเด็จนางพญางิ้วดำ เพื่อให้ลูกหลานได้กราบไหว้บูชาไปตลอดกาลนาน เนื้อไม้ที่เหลือหลวงพ่อพระครูอาคมฯ ให้ช่างแกะเป็นพระเครื่อง และท่านได้ลงเหล็กจารปลุกเสกเป็นอย่างดี ด้วยอำนาจจิตที่ฝึกฝนมายาวนาน ผนึกกับอิทธิฤทธิ์ของเทพเจ้าผู้รักษาไม้งิ้วดำ ส่งผลให้พระนางพญาองค์น้อยนี้แสดงอภินิหารแก่ผู้รับไปบูชาอย่างน่ามหัศจรรย์ ส่วนเศษไม้ชิ้นเล็กกับฝุ่นผงไม้งิ้วดำ หลวงพ่อได้นำมาบรรจุไว้ในองค์พระบูชา และนำมาบดเป็นผงผสมกับว่านและผงพุทธคุณต่าง ๆ สร้างเป็นพระเครื่องนับสิบพิมพ์ สำหรับพระเนื้อโลหะ ไม่ว่าจะเป็นพระบูชาขนาดหน้าตัก 3, 5, 9 นิ้วหรือพระกริ่งเนื้อต่าง ๆ หลวงพ่อได้ดำเนินการดังนี้ 1.นำแผ่นทองคำนาค เงิน และ ทองแดง ทั้งแผ่นยันต์ของเก่าแก่ที่มี อายุนานหลายสิบปี ซึ่งครูบาอาจารย์ ลงไว้ จนถึงของใหม่ที่ท่านจารเองและให้คณะกรรมการวัดนำแผ่นทอง ไปขอความเมตตาจากคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวิเศษทั่วประเทศลงอักขระปลุกเสกหลายร้อยแผ่น 2.โลหะธาตุศักดิ์สิทธิ์ของเก่า อาทิ พระกรุเนื้อชินสมัยอยุธยา พระ กรุเนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว และสัมฤทธิ์ สมัยลพบุรี พระกรุสุพรรณบุรี เป็นต้น 3.พระบูชาชำรุดสมัยเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง 4.ชนวนพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว) วัดสุทัศน์ฯ 5.โลหะและแร่วิเศษต่าง ๆ ที่เป็น "ทนสิทธิ์" มีอิทธิฤทธิ์อยู่ในตัว ซึ่งนำมาจากภูเขาและใต้ทะเล แร่กายสิทธิ์ที่คนเก่าก่อนสะสมรวบรวมไว้ได้นำมามอบให้อีกเป็นจำนวนมากทีเดียว ในส่วนของพระผงนอกจาก ผงไม้งิ้วดำดังกล่าวข้างต้นที่นำมาประสมเนื้อพระถึง 70 เปอร์เซ็นต์แล้ว ท่านยังได้แสวงหาผงวิเศษจากพระอาจารย์เจ้าผู้มีชื่อเสียงจากทั่วสารทิศมาคุลีการด้วย อาทิ 1.ผงใบลานเผาแท้ ๆ ที่ได้มาจากพระคัมภีร์จารึกพุทธาคมโบราณ ผงจากคัมภีร์สมุดข่อย ผงผ้ายันต์เก่า หนังสือตำราศักดิ์สิทธิ์ซึ่งคณะศรัทธานำมาถวายเป็นจำนวนมาก 2.พระเครื่องสมัยโบราณ เช่น พระสมเด็จวัดระฆังฯ ของแท้ที่ชำรุด แตกหัก พระนางพญาวัดนางพญา พิษณุโลก พระรอดลำพูน พระกำแพง พระทุ่งเศรษฐี ตลอดจนพระเครื่องในกรุเก่าตามหัวเมืองโบราณต่าง ๆ เช่น พระกรุกำแพงเพชร พระกรุสุโขทัย พระกรุวัดท่ามะปรางค์ และ พระกรุสุพรรณบุรี เป็นต้น 3.ผงอักขระไตรมาส ผงวิเศษ 5 ประการ อันประกอบด้วย ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช และผงพุทธคุณ ซึ่งหลวงพ่อพระครูอาคมฯ ได้ทำการเขียน ลบ และปลุกเสกตลอดไตรมาส 4.ผงวิเศษจากกำแพงเมืองกาญจนบุรี 5.ดินจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่งในประเทศอินเดีย คือ สถานประสูติ สถานตรัสรู้ สถานแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร และสถานปรินิพพาน ซึ่งคุณโอภาส เศรษฐชัยมงคล ได้เดินทางไปนมัสการและนำกลับมาถวาย 6 ดินจากพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ซึ่งถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวลาว ไม่ต่างจากพระธาตุพนมบ้านเรา ดินพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ดินพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ดินพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ดินอนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ดินและผงพระก้นกรุวัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ดินจากสถานที่ทำสังคายนาครั้งรัชกาลที่ 1 ดินโป่งอาถรรพณ์ต่าง ๆ และดินปลวก ซึ่งบางแห่งหลวงพ่อก็เดินทางไปนำมาด้วยองค์ท่านเอง บางแห่งคณะศรัทธาสานุศิษย์ก็นำมาถวาย 7.ผงเกสรดอกไม้ 108 ชนิด อาทิ เกสรบัวขาบ เกสรบัวขาว เกสรบัวเขียว เกสรบัวเหลือง พุทธรักษาทั้งห้า ยอดรัก ยอดสวาท ยอดกาหลง ดอกบัวแห้งในพิธีเทศน์มหาชาติแต่ละปี ดอกไม้แห้งจากที่บูชาอนุสาวรีย์ท่านท้าวสุรนารี ดอกไม้แห้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ดอกไม้แห้งศาลเจ้าพ่อช้างเผือก อันเป็นที่เคารพอย่างยิ่งของชาวโคราช 8.เถ้าธูปจากกระถางบูชาพระประธานในอุโบสถจำนวน 108 วัด 9.เทียนชัยในพิธีมหาพุทธาภิเษกของวัดใหม่บ้านดอน และวัดต่าง ๆ หลายสิบวัด 10.ผงว่าน 108 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากกาญจนบุรี เช่น ว่านพญาเสือโคร่ง ว่านพญางู ว่านสบู่เลือด ว่านกระบือชนเสือ ว่านหอกหัก ว่านดาบหัก ว่านสามพันตึง ว่านเพชร น้อย ว่านเพชรใหญ่ ว่านลิงดำ ว่านหนุมานนั่งแท่น ว่านทรหด ว่านเฒ่าหนังแห้ง ฯลฯ นี้เป็นตัวอย่างที่ต้องใช้คำว่า "เป็นต้น" เข้าช่วยด้วย ที่จริงแล้วโลหะขลังและผงวิเศษที่ใช้ประสมเนื้อสร้างพระนั้นยังมีอีกมาก แต่หากจะกล่าวให้หมดก็คงกินหน้ากระดาษไปไม่น้อย เอาเป็นพระที่นี่ไม่ว่าจะโลหะหรือพระผงไม่ขี้เหร่เรื่องมวลสารก็แล้วกัน ในส่วนของพุทธาภิเษกก็มิใช่จัดกันอย่างสุกเอาเผากินหรือทำแบบคนไม่รู้เรื่องรู้ราว ดังกล่าวมาแล้วว่าหลวงพ่อพระครูอาคมฯ ท่านเป็นศิษย์ของสองพระอาจารย์ใหญ่คือ หลวงพ่อผางและหลวงพ่อหน่าย ฉะนั้นท่านจึงจัดพิธีอย่างคนที่เรียกได้ว่า มีครู หลวงพ่อพระครูอาคมฯ ท่านสร้างพระรุ่นแรก เท่าที่สืบได้เป็นหลักฐานแน่ชัดคือ ในปีพ.ศ. 2511 เป็นพระสมเด็จที่มีมวลสารดีเยี่ยมและพิธีดียอด กล่าวกันว่าในละแวกนั้น วัดใหม่บ้านดอนเป็นวัดแรกที่มีพิธีพุทธาภิเษกแรกในปี 2511 และยังได้จัดพิธีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันรวมแล้ว ไม่ต่ำกว่า 20 พิธีใหญ่ ในทุกครั้งที่ประกอบพิธีหลวงพ่อจะพิถีพิถันละเอียดประณีตเป็นที่สุด ต้องไม่ผิดพลาดในด้านพิธีกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ตั้งแต่การโยงสายสิญจน์ ตั้งราชวัติ ฉัตร ธง กล้วย อ้อย การบวงสรวงโดยพราหมณ์อย่างครบสูตร ทั้งเครื่องบูชา บายศรี 9 ชั้น บายศรีปากชาม บัตรเทวดาอัฏฐทิศ ฆ้อง กลอง สังข์ และบันเฑาะว์ ใน ทุก ๆ พิธีล้วนครบครันยิ่งใหญ่ตระการตา เห็นชัดว่าหลวงพ่อพระครูอาคมฯ เป็นผู้ที่แตกฉานในสรรพวิทยาไม่ใช่ทำอย่างด้นเอาเอง ดังนั้น เมื่อวัดจัดพุทธาภิเษกครั้งใด ย่อมบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจของเทพ พรหม เบื้องบนประการหนึ่ง และจิตตานุภาพของพระอาจารย์ผู้ทรงคุณที่มาเจริญภาวนาอีกประการหนึ่ง ทุก ๆ ครั้งที่มีพิธีพุทธาภิเษกขึ้นในวัด หากวัตถุมงคลชุดเก่ายังมีตกค้าง หลวงพ่อพระครูฯ ก็จะให้ คณะกรรมการช่วยกันขนพระเครื่อง พระบูชาเหล่านั้นออกมาให้หมด เพื่อนำเข้าพุทธาภิเษกอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฉะนั้น พระเครื่อง-พระบูชาที่เหลือในปัจจุบันยิ่งเป็นของเก่านั่นคือยิ่งเสกมาก เสกมโหฬารไม่รู้จักกี่พลังจิตของพระคณาอาจารย์ที่อธิษฐานจิตลงไป ก็โดยที่แตกฉานในวิทยาคุณ และโหราศาสตร์ แทบทุกคราวที่ประกอบพิธีท่านจึงมักเฟ้นเอาวันดีวันแข็งเป็นหลัก เกือบทุกพิธีจึงจัดขึ้นในวันเสาร์ 5 เดือน 5 แผ่นยันต์ที่หลวงพ่อขอให้ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณ ลงจารและปลุกเสก ขอนำเสนอเท่าที่เห็นควรดังนี้ 1.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพรสังฆราช (ป๋า) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ 2.พระราชธรรมาภรณ์ (เงิน จันทสุวัณโณ) วัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 3.พระราชเขมาจารย์ (เปาะ) วัดช่องลม เมือง จ.ราชบุรี 4.พระครูภาวนาสังวรคุณ (เต๋ คัง คสุวัณโณ) วัดสามง่าม อ.ดอนตูมจ.นครปฐม 5.พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรบุรี 6.พระครูญาณวิลาส (แดง รัตโต) วัดเขาบันไดอิฐ อ.เมือง จ.เพชรบุรี 7.พระครูสถาพร พุทธมนต์ (สำเนียง อยู่สถาพร) วัดเวฬุวนาราม อ.บางเลน จ.นครปฐม 8.พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (มุ่ย พุทธรักขิโต) วัดดอนไร่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี 9.พระครูอุภัยภาดาธร (ขอม อนิโช) วัดโพธาราม(วัดไผ่โรงวัว) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 10.พระครูศรีพรหมโสภิต (แพ เขมังกโร) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี 11.พระครูวิบูลย์คุณวัฒน์ (หล่อ) วัดน้อย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่านทอง 12.พระวิจิตรวิหารวัตร วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) บางกอกใหญ่ กทม. 13.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคมจ.สกลนคร 14.หลวงพ่อตู้ พุทธจิตโต วัดศรีษะช้าง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 15.หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา 16.หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น 17.หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา |