หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
พระผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต




ชื่อร้านค้า | ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อเช่าพระจำนวนมาก ดังนั้นเช่าผ่านLINE ID : @870rqvth จะติดต่อง่ายสะดวกสุดครับ |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 08 เม.ย. 2562 - 19:37.38 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 07 เม.ย. 2564 - 19:46.58 |
รายละเอียด | |
---|---|
**รหัส ศ.ร.๑๑๙๑๗ พระผงรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต ร่วมปลุกเสก จ.ขอนแก่น ปี 2519 หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง บ้านตูม ตำบลม่วงใหญ่ อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ชาติกำเนิด หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๓ กรกฎาคม ๒๔๕๘ ในหมู่บ้านตูม หมู่ที่ ๖ ตำบลม่วงใหญ่ กิ่งอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี โยมพ่อชื่อหมี โยมแม่ชื่อ คำบาง นามสกุล แดงกัณหา ประกอบอาชีพทำนา มีพี่น้องด้วยกัน ๔ คน หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ ๓ ปฐมวัย เมื่อสมัยเด็กๆ ท่านได้เข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาล ประจำหมู่บ้าน จนจบชั้นประถม ๔ จากนั้นท่านจึงออกมาช่วยบิดามารดาทำนาทำไร่ ท่านจึงชาชินกับความลำบากมาตั้งแต่เล็ก และรู้ถึงความลำบากของผู้อื่น จึงเป็นเหตุให้ท่านมีจิตคิดช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความลำบากกว่าตน อุปสมบท หลวงปู่เพชรท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุครบบวช ที่วัดโพธิ์พฤกษาราม ในหมู่บ้านเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ห่างไกลจากบ้านตูม ประมาณ ๓ กิโลเมตร โดยท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๘ โดยมี พระอาจารย์ผึ้ง พันธสาโร เจ้าอาวาสวัดสิงห์ทองในอดีตเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เคน ญาณกโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์บุศร์ ไม่ทราบฉายา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่ศึกษาวิชามูลกัจจายน์ จากพระอาจารย์ที่วัดนาขนำ ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ศึกษาวิชาอาคมและสรรพวิชาต่างๆจากหลวงพ่อเกตุ ซึ่งเป็นพระชาวเขมรที่มีวิชาอาคมสูงยิ่งในถิ่นนั้น เมื่อชำนาญแล้วจึงกราบลาหลวงพ่อเกตุเดินทางข้ามไปยังฝั่งลาว เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะในยุคนั้นฝั่งประเทศลาวนั้นมีพระอาจารย์ที่มีวิชาอาคม ตลอดจนการปฏิบัติที่ถือเคร่งมาก จุดแรกที่หลวงปู่เพชรไปศึกษาคือ สำนักวัดบ้านละหาน้ำ แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว หลวงปู่เพชรตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะวิชาด้านเมตตามหานิยม หลังจากนั้นท่านก็ธุดงค์ไปยังนครเวียงจันทน์อันเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองในอดีต หลวงปู่เล่าว่าที่เวียงจันทน์มีภิกษุสามเณรชาวไทยไปเรียนหนังสือกันมาก เพราะเป็นต้นตำรับของภาษาบาลีที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก่อน โดยหลวงปู่ได้เรียนภาษาบาลีที่วัดสระเกศ เมืองเวียงจันทน์ เมื่อถึงเวลาสอบก็เกิดสงครามอินโดจีนขึ้นก่อนท่านจึงไม่ได้สอบ พระเณรชาวไทยต่างก็หนีข้ามมายังฝั่งไทยกันโกลาหล ซึ่งท่านเองก็นั่งรถจากเวียงจันทน์มายังเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน แล้วต่อมาที่สุวรรณเขต ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทยของเรา เมื่อถึงฝั่งท่านก็พำนักอยู่ที่วัดนาดี ในตัวเมืองมุกดาหาร แล้วเดินทางโดยรถยนต์มายังอำนาจเจริญ แล้วตัดไปยังอำเภอตระการพืชผล จนกระทั่งถึงบ้านตูมอันเป็นบ้านเกิดของท่านอีกครั้งหนึ่ง ?นับเป็นการผจญภัยที่ร้ายแรงมากในชีวิตของอาตมา ที่ได้ผ่านมาอย่างทุลักทุเลแทบเอาชีวิตไปทิ้งที่ประเทศลาวเสียแล้ว? หลวงปู่เพชรท่านกล่าว หลังจากข่าวคราวหลวงปู่เพชรเดินทางกลับมายังวัดสิงห์ทอง บ้านตูม ประชาชนจากทุกสารทิศต่างก็เดินทางมาถามข่าวคราวจากท่านมิได้ขาด เพราะความห่วงใยและเลื่อมใสในตัวท่าน บางคนเดินทางมาจากอำเภอเขมราฐ และอำเภอโขงเจียม ซึ่งอยู่ห่างไกลจากกิ่งอำเภอโพธิ์ไทรมาก จากนั้นหลวงปู่เพชรก็ถูกญาติโยมขอร้องไม่ให้ไปไหนอีก เพราะชาวบ้านเห็นว่ามีเพียงท่านที่เป็นที่พึ่งของพวกเขาทุกคน หลวงปู่เพชรท่านอยู่วัดสิงห์ทองไม่นาน ได้มีประชาชนมาหาท่านมิได้ขาด บ้างก็มาเป็นทัวร์จากกรุงเทพฯ ทำให้ท่านไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม ทำให้ท่านคิดที่จะหนีไปอยู่ป่าเขา และต่อมาท่านก็ได้หนีไปหาความวิเวกอยู่ที่ภูเขาควาย (ไม่ใช่ภูเขาควายที่อยู่ฝั่งลาว) เป็นภูเขาเล็กๆอยู่ในเขตกิ่งอำเภอโพธิ์ไทร ซึ่งเป็นป่าดงดิบสงบสงัด และมีสิ่งอาถรรพ์ลี้ลับอยู่มาก จนพระธุดงค์หลายรูปต้องมามรณภาพที่ป่าแห่งนี้ มีสัตว์ป่าดุร้าย และที่สำคัญคืองูเห่า ซึ่งมีจำนวนมากกว่าสัตว์ประเภทอื่นๆ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...









