พระปิดตาพุทธภูมิ รุ่น๑ หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิ้งวิปัสสนา จ.ขอนแก่น ฝั่งตะกรุดเงิน เส้นเก-ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า น้อมบูชาคุณ พระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พุทธคุณ ล้ำค่ายิ่งทางใจ"

หมวด พระปิดตาทั่วไป

พระปิดตาพุทธภูมิ รุ่น๑ หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิ้งวิปัสสนา จ.ขอนแก่น ฝั่งตะกรุดเงิน เส้นเก

พระปิดตาพุทธภูมิ รุ่น๑ หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิ้งวิปัสสนา จ.ขอนแก่น ฝั่งตะกรุดเงิน เส้นเก - 1พระปิดตาพุทธภูมิ รุ่น๑ หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิ้งวิปัสสนา จ.ขอนแก่น ฝั่งตะกรุดเงิน เส้นเก - 2พระปิดตาพุทธภูมิ รุ่น๑ หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิ้งวิปัสสนา จ.ขอนแก่น ฝั่งตะกรุดเงิน เส้นเก - 3พระปิดตาพุทธภูมิ รุ่น๑ หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิ้งวิปัสสนา จ.ขอนแก่น ฝั่งตะกรุดเงิน เส้นเก - 5
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระปิดตาพุทธภูมิ รุ่น๑ หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิ้งวิปัสสนา จ.ขอนแก่น ฝั่งตะกรุดเงิน เส้นเก
อายุพระเครื่อง 29 ปี
หมวดพระ พระปิดตาทั่วไป
ราคาเช่า 300 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อเช่าพระจำนวนมาก ดังนั้นเช่าผ่านLINE ID : @870rqvth จะติดต่อง่ายสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 16 มี.ค. 2561 - 21:35.21
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 16 มี.ค. 2561 - 21:35.21
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๙๗๕๗
พระปิดตาพุทธภูมิ รุ่น๑ หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิ้งวิปัสสนา จ.ขอนแก่น ฝั่งตะกรุดเงิน เส้นเกศา ผ้าจีวร ปี 2539 สภาพสวย หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เป็นพระผู้มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใสและกราบไหว้อีกรูปหนึ่ง ท่านเป็นศิษย์ของ หลวงปู่เสาร์ และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐาน

http://www.tnews.co.th/contents/205890

พระปิดตาพุทธภูมิ รุ่น๑ พิธีปลุกเสกโดยพระเกจิชื่่อดัง 8 รูป ได้แก่
ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
หลวงปู่ลือ วัดป่านาทาม
หลวงปู่ทัศน์ หลวงปู่เหล็ง วัดโคกเพลาะ
หลวงปู่เนียน วัดต้นเลียบ
หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง
ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตต์
หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม
และหลวงปู่จันดี เกสาโว วัดป่าหินเกิ้ง



หลวงปู่ ท่านเป็นชาวจังหวัด มหาสารคาม โยมบิดาชื่อ นายหุ่น โยมมารดาชื่อ บุตร นามสกุล ฌานชำนิ เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน 1) ปีระกา พุทธศักราช 2463 ที่บ้านโนนสี หมู่ที่ 12 ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัด มหาสารคาม


หลวงปู่มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน โดยท่านเป็นคนสุดท้อง
ส่วนพี่น้องมาดังนี้
๑ นายอ่อนสี
๒ นางแตงอ่อน
๓ นายบุญตา
๔ นายทองอิน
๕ นางปทุมา
๖ คึออาตมา ชื่อ จันทร์ดี


หลวงปูเล่าว่า "ในวันที่อาตมาจะเกิดนั้น โยมแม่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ลำพัง ขณะเกี่ยวอยู่นั้นรู้สึกเจ็บท้องจี๊ดๆ ไม่นานก็คลอดอาตมาออกมา ไม่มีใครอยู่ด้วย โยมแม่ต้องฃ่วยตัวเอง จนอาตมาคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัย จากนั้นโยมแม่ก็อุ้มอาตมากลับบ้าน แล้วเลี้ยงดูจนกระทั่งเติบโต"


ยอมเสียสละเพื่อแม่


หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าถึงชีวิตในปฐมวัยว่า ท่านมีความลำบากมาก เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองของบ้านเมือง คือปี พ.ศ. 2475 พร้อมกับโรคระบาดเกิดนั้นในทั่วท้องถิ่นในย่านบ้านเกิดของท่าน คือ บ้านโนนสี บ้านโนนพิบาล บ้านนาครู บ้านโพนละออม และบ้านหนองแวก ฝนฟ้าแห้งแล้งไม่ตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าในท้องนาไม่ผลิดอกออกผล ด้วยความอดอยาก ชาวบ้านจึงได้พากันอพยพไปอยู่บ้านสำนัก ตำบลโนนตุ่น อำเภอกุดข้าว จังหวัดขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นตำบลหนองแปน อยู่ในอำเภอมัญจาคีรี


ปีนั้นพี่ชายคนโตของอาตมา คือนายอ่อนสีได้รับราชการเป็นทหารยศสิบตรี เป็นคนใกล้ชิดหม่อมเจ้าวรเดช เมื่อบ้านเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หม่อมเจ้าวรเดชเข้าไปเกี่ยวของโดยเป็นกบฏต่อฝายที่เปลี่ยนแปลงการปกครองและพ่ายแพ้จึงถูกจับ คนใกล้ชิดท่านก็พลอยถูกจับตัวไปด้วย สิบตรีอ่อนสี พี่ชายของอาตมาก็เป็นหนึ่งในจำนวนผู้ใกล้ชิดที่ถูกจับนั้น กบฏที่ถูกจับทุกคนถูกนำตัวไปขังคุก เมื่อโยมแม่ได้ทราบเรื่องพี่ชายติดคุก ก็เสียใจมากร้องห่มร้องไห้เป็นการใหญ่ ซึ่งก็เป็นธรรมดาของแม่ทุกคนที่รักลูกเป็นห่วงลูก


โยมแม่ของอาตมาก็เหมือนกับโยมพ่อ คือเป็นคนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อมองไม่เห็นทางอื่นที่จะช่วยเหลือพี่ชายได้ก็หันเข้าหาพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่ง โดยท่านเชื่อว่าหากให้อาตมาบวช บำเพ็ญศีล ภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ ส่งกระแสจิตช่วยเหลือพี่ชาย ก็จะทำให้พี่ชายพ้นจากการติดคุกได้


ขณะนั้นอาตมาอายุได้ 12 ปี เมื่อได้ฟังข้อเสนอของโยมแม่ก็รู้สึกพอใจ มองเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ดีทำตามได้ไม่ยาก โยมแม่เมื่อเห็นอาตมาตกลงใจก็ไม่รอช้า รีบพาไปบวชเณรที่วัดโพธิ์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม ตรงกับปี พ.ศ. 2475 โดยมีพระครู วินัยธรมุ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วได้มาอยู่ที่วัดกลาง อำเภอโกสุมพิสัย เพราะช่วงนั้นโยมแม่ได้อพยพครอบครับไปอยู่ที่บ้านโนนสำนัก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น จึงติดตามท่านมาอยู่ด้วย


หลวงปู่จันทร์ดีได้จำพรรษาอยู่ที่วัดกลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2576 ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับครูอาจารย์หลายท่าน สอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปี พ.ศ 2479
และสอบนักธรรมชั้นโท ได้ในปี พ.ศ 2481


"ขณะที่เรียนนักธรรมอยู่นั้น อาตมาได้เรียนบาลีควบคู่ไปด้วย สมัครเข้าสอบเป็นมหาเปรียนญกับเขาในปี พ.ศ. 2482 แต่สอบไม่ได้ แต่ก็ไม่ละความพยายาม จึงสอบบาลีเป็นมหากับเขาได้เมื่อปี พ.ศ. 2485"


หลวงปู่ได้เล่าถึงการเรียนบาลี เพื่อสอบเป็นมหานั้นว่ามีความลำบากมาก ขระที่เรียนนักธรรมตรี-โท-เอก ท่านก็เรียนบาลีควบคู่ไปด้วย และท่านสอบได้โดยไม่ซ้ำชั้น ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นพระฝายมหานิกายอยู่ จนกระทั่งท่านสอบบาลีประโยค 1-2ได้ท่านจึงหันมาปฏิบัติธรรมเป็นพระฝายธรรมยุต ด้วยสาเหตุของความอยากรู้อยากเห็นในโลกกว้าง และอยากจาริกโปรดสัตว์ บำเพ็ญเพียรและแสวงหาความวิเวกแห่งโมกธรรม


เรียนกรรมฐาน กับบูรพาจารย์ใหญ่


หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าว่าช่วงนั้นเป็นปี พ.ศ. 2480 เป็นระยะออกพรรษาเพียงหนึ่งอาทิตย์ หลังจากได้เรียนกรรมฐานจาก หลวงปู่มั่น และ หลวงปู่เสาร์แล้ว ท่านรต้องการฝึกของจริง คือการออกธุดงค์กับครูบาอาจารย์บ้าง


ต่อมา ท่านจึงได้มีโอกาสติดตามพระอาจารย์ทั้ง 5 เดินธุดงค์ไปยังภูเขาควาย ฝั่งประเทศลาว พระอาจารย์ทั้ง 5 องค์นั้นได้แก่


พระอาจารย์วรรณา แห่งวัดเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์สมบูรณ์ แห่งวัดกุดเชือก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์โพธิ แห่งวัดบ้านดอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์สิงห์ แห่งวัดบ้านเกาะ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์แก้ว แห่งวัดบ้านไฝ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัด อุบลราชธานี


ซึ่งพระอาจารย์ทั้งหมดนี้ ต่างเคารพนับถือกันมาก


พระอาจารย์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ทุกองค์ล้วนแต่มีพรรษาที่ 15-16 ทั้งนั้น แต่ละองค์มีความรอบรู้ทั้งทางธรรมและทางเวทมนต์คาถา พร้อมทั้งยาสมุนไพรเป็นเลิศ เพราะเพราะพระธุดงค์ก่อนที่จะธุดงค์เดี่ยวได้นั้น จะต้องมีพระพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ในการธุดงค์มาก่อน เพื่อชี้แนะสั่งสอน ตลอดจนประสบการณ์ความชำนาญเกี่ยวกับสมุนไพรโบราณเป็นเรื่องแรก


เพราะนอกจากจะรักษาตัวเองในคราวเจ็บป่วย ยังสามารถโปรดสัตว์และผู้ยากไร้ ซึ่งสมัยก่อนชาวบ้านตามชนบท ยังไม่มีหยูกยารักษากัน เมื่อถึงคราวเจ็บป่วยต้องอาศัยพระธุดงค์เป็นส่วนมาก


ดังนั้น การเดินธุดงค์ของพระทุกองค์ในยุคนั้น พระธรรมวินัยต้องเคร่ง และต้องมีความรอบรู้ครอบถ้วนในการธุดงค์ เพราะไหนจะเผชิญกับสัตวร้ายต่างๆ ในป่า ไหนจะต้องเผชิญกับไข้ป่านานาสารพัด หลวงปู่ท่านกล่าว


เดินธุดงค์ไปฝั่งลาว


หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าต่อไปว่า เมื่อทุกฝ่ายตกลงกันได้แล้ว จึงออกเดินทางจากวัดบ้านไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี จุดมุ่งหมายของอาจารย์ทั้งหลาย นอกจากเพื่อเป็นการธุดงค์แล้ว ก็ยังต้องการแสวงหาเหล็กไหลไปด้วย


"คณะของอาตมาข้ามไปยังฝั่งลาว เดินทางไปประเทศลาวครั้งนี้ลำบากมาก พระอาจารย์ทั้ง 5 ได้พาอาตมา เดินธุดงค์ผ่านไปยังบ้านนาแห้ว พระบาทโพนสัน วกไปวกมาจนถึงเมืองเวียงจันทน์ จากเวียงจันทน์ก็ไปทางหลวงพระบาง เชีบงขวาง พงสาลี ผ่านทุ่งไหหิน จนกระทั่งถึงบ้านหัวดง"


บ้านหัวดงหรือบ้านดงน้อยแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านที่อยู่เชิงภูเขาควาย มีบ้านคนอยู่เพียง 7-8 หลังคาเรือนเท่านั้น ชาวบ้านมีอาชีพทำนาและหาของป่าขาย


เวลานั้นอยู่ในฃ่วงหน้าแล้ง คณะของอาตมาได้หยุดพักอยู่ใกล้ๆหมู่บ้านนั้น พอตกเย็นได้มีนายน้อยและนายตา ซึ่งเป็นคนที่อาวุโสที่สุดในหมู่บ้านดงน้อย ได้เข้ามา นมัสการและประเคนปัจจัยต่างๆที่จำเป็นสำหรับพระธุดงค์ จากนั้นก็นั่งสนทนาและสอบถาม ถึงการเดินทางต่อไปของพระธุดงค์ พระอาจารย์ก็ตอบว่า "จะเดินขึ้นภูเขาควาย"



ภูเขาควาย สปป ลาว


มีอยู่ตอนหนึ่ง นายน้อย ได้พูดพาดพิงไปถึงเหล้กไหลว่ามีจริงและ นายตา ก็ยืนยันว่าไปเห็นมาหลายคนแล้ว แต่ไม่มีใครไปเอามาได้และคนที่ไปเอาส่วนมากจะเสียชีวิตหมด


ปรากฏว่า พระอาจารย์สมบูรณ์ ท่านเกิดมีความสนใจขึ้นมา จึงได้สอบถามนายน้อยว่า "เหล็กไหลที่ว่านี้ อยู่ที่ถ้ำสระบัว ในภูเขาควาย ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 10 กิโล"


ทางด้าน พระอาจารย์วรรณา พระอาจารย์โพธิ์ พระอาจารย์สิงห์ (คนละท่านกับพระอาจารย์ สิงห์ ขันตยาคโม) ได้ปรึกษากันหารือว่าสมควรไปดูเหล็กไหลหรือไม่ ซึ่กทุกรูปต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า จะเดินไปดูพรุ่งนี้เช้า ส่วยนายน้อยและนายตา ได้พยายามห้ามปราม เพราะกลัวพระธุดงค์จะเป็นอันตราย

หลวงปู่เล่าว่า "อาตมาเดินไปนั่งอยู่ในป่า นั่งอยู่อย่างนั้นจนจิตสงบมาก สงบจนถึงขั้นไม่รับรู้อะไร ไม่ว่าฝนจะตกหรือแดดจะออก ไม่รับรู้ทั้งนั้น"

การที่อาตมาทำได้อย่างนี้ พิจารณาดูแล้วเห็นว่า เป็นผลสืบเนื่องที่ได้ทำมานาน ขอบอกตามตรงว่า อาตมารักการปฏิบัติสมาธิมาแต่เด็กๆ คือมีอุปนิสัยน้อมมาทางนี้แต่เล็กแต่น้อย เคร่งครัดอยู่ในศีล

"จำได้ว่าเมื่อรู้ความก็ไม่เคยกินสิ่งมีชีวิต โยมแม่เข้าใจดี ก็เลยปลูกผักไว้ให้เป็นแปลงๆเลย อาตมาก็ถือข้าวเหนียวไปนั่งกินที่แปลงผัก จนโยมแม่ล้อว่า ควายกินหญ้า
เหตุที่ไม่กินสัตว์เป็นอาหารนั้น เพราะรู้สึกรังเกียจ เห็นแล้วจะคลื่นไส้เอานั่นเอง"

หลวงปู่ เล่าต่อว่า ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดกลาง ก็ได้ทราบก็ข่าวว่า
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้มาปักกลดธุดงค์อยู่ที่ป่าช้าข้างๆวัดกลาง

ระยะนั้น อาตมาเป็นเณรใหญ่แล้ว แต่ยังอายุไม่ครบบวชพระ ได้มาปรนนิบัติหลวงปู่มั่น จนท่านเกิดความเมตตา ได้นำพาเดินธุดงค์อีกครั้ง ในชีวิตของอาตมาก็นับว่ามีโชคดีอยู่ตรงที่ได้ไปอยู่ปรนนิบัติและปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ นี่แหละ

หลวงปู่จันทร์ดี ท่านกล่าวอย่างยินดี พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า

" เคยไปอยู่เขาพระวิหารกับพระอาจารย์มั่น นอกจากนั้นท่านยังพาไปอยู่ที่อื่นๆ กับท่านทั้งสองอีก คือ ที่เขาพนมรุ้ง ถ้ำขาม ถ้ำส่องดาวและไปพม่าด้วยกันก็เคย เวลาไปอยู่กับท่านนั้น ก็ถือเป็นครูบาอาจารย์ปฏิบัติบำรุงท่านเป็นอย่างดี"

พระนักปฏิบัติสมัยก่อน นิยมเดินธุดงค์ การเดินธุดงค์สมัยนั้นเป็นการเดินดงจริงๆ เพราะไม่มีถนน ไม่มีทางเดินเหมือนปัจจุบัน ต้องเดินไปตามทางที่สัตว์ป่าเดิน ทั้งป่าก็ทึบ ขนาดเดินเข้าปในป่าแล้วจะไม่เห็นแสงตะวันเลย

หลวงปู่เล่าต่อไปว่า ในช่วงนั้น ในช่วงนั้นหลวงปู่มั่นท่านพาธุดงค์ไปถึงถ้ำขาม อยู่ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวักสกลนคร ณที่นี้ ก็ได้พบกับ หลวงปู่ชม,หลวงปู่เสาร์ และ
หลวงปู่ขาว

ที่ถ้ำขามแห่งนี้ หลวงปู่ชม,หลวงปู่เสาร์ และ หลวงปู่ขาว ทุกองค์ต่างก็รอหลวงปู่มั่น อยู่ สาเหตุก็คือต้องการไปธุดงค์ที่ฝั่งลาวด้วยกันนั่นเอง

จากนั้นก็แวะไปเยี่ยม พระมหาปาน เจ้าอาวาสวัดโคกเรือในฝั่งลาว เพราะท่านได้ไปมาหาสู่กันบ่อยๆ พอไปถึงโคกเรือในฝั่งลาว ก็ได้รับฟังคำบอกเล่าจาก พระมหาปานว่า "มีคนแตกตื่นเหล็กไหลที่ถ้ำสระบัว ในเขตภูเขาควาย และทำอันตรายผู้คนมามากต่อมากแล้ว สำหรับผู้ที่ไปตัดเอาเหล็กไหล"

เหล็กไหลที่ถ้ำสระบัว บนภูเขาควายนั้น หลวงปู่จันทร์ดี ท่านได้เคยไปเห็นแล้วครั้งหนึ่ง สมัยเป็นเณรน้อนที่ไปกับท่านอาจารย์ทั้ง 5

บัดนี้ หลวงปู่จันทร์ดี ได้กลับมาถิ่นเดิมอีกครั้ง แต่ในการมาครั้งนี้ผิดกับครั้งก่อน เพราะมีพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานมาด้วย และท่านมาเพื่อปราบสิ่งลี้ลับบนภูเขาควายโดยเฉพาะ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top