พระปิดตาเม็ดบัวหลวง เนื้อผงเกสร หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปลุกเสก 3 ไตรมาส และรุ่นนี้เ-ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า น้อมบูชาคุณ พระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พุทธคุณ ล้ำค่ายิ่งทางใจ"

หมวด หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ – หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก - หลวงพ่อตัด วัดชายนา - หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง

พระปิดตาเม็ดบัวหลวง เนื้อผงเกสร หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปลุกเสก 3 ไตรมาส และรุ่นนี้เ

พระปิดตาเม็ดบัวหลวง เนื้อผงเกสร หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปลุกเสก 3 ไตรมาส และรุ่นนี้เ - 1พระปิดตาเม็ดบัวหลวง เนื้อผงเกสร หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปลุกเสก 3 ไตรมาส และรุ่นนี้เ - 2พระปิดตาเม็ดบัวหลวง เนื้อผงเกสร หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปลุกเสก 3 ไตรมาส และรุ่นนี้เ - 3พระปิดตาเม็ดบัวหลวง เนื้อผงเกสร หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปลุกเสก 3 ไตรมาส และรุ่นนี้เ - 5
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระปิดตาเม็ดบัวหลวง เนื้อผงเกสร หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปลุกเสก 3 ไตรมาส และรุ่นนี้เ
อายุพระเครื่อง 31 ปี
หมวดพระ หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ – หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก - หลวงพ่อตัด วัดชายนา - หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 12 ธ.ค. 2560 - 19:36.09
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 14 เม.ย. 2564 - 13:48.14
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๙๒๒๗
พระปิดตาเม็ดบัวหลวง เนื้อผงเกสร หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปลุกเสก 3 ไตรมาส และรุ่นนี้เป็นที่นิยมมาก ประสบการณ์มากมายเลยทีเดียว

**ผมนำมาแบ่งเปิดให้ที่ไรก็คนเช่าหมดทุกที ปิดตารุ่นนี้เป็นที่ต้องการ จนราคาหลายที่เปิดกันไม่ใช่ถูกๆ ของก็หายากแล้วครับ ตามตัวอย่างนี้

http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=1119174&storeNo=8844

http://www.zoonphra.com/shop/catalog.php?storeno=c002&idp=4506


หลวงพ่อ ยิด วัดหนองจอก หลวงพ่อยิดท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด มีนามเดิมว่ายิด ศรีดอกบวบ บิดาชื่อ แก้ว มารดาชื่อพร้อย มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4 อุปสมบทเมื่ออายุ 6 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ พระอาจารย์หวล วัดนาพรม (ท่านเป็นน้าของ ด.ช.ยิด) และเห็นว่าเป็นเด็กที่ชอบอยู่วัด และจะเดินตามหลวงน้าไปวัดทุก ๆ วัน ในตอนเช้าหลังจากใส่บาตรแล้ว ครั้นอายุได้ 9 ขวบได้บวชเป็นสามเณร ณ.วัดนาพรหม โดยมีพระอธิการหวล (หลวงน้า) เป็นอุปฌาย์ ได้ศึกษาอักขระเลขยันต์และฝึกปฏิบัติสมาธิกับพระอธิการหวล และครูหลี แม้นเมฆ มีความสนใจในด้านวิชาอาคม สักยันต์และร่ำเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ควบคู่กันไป และได้ขออนุญาติออกธุดงค์วัตรกับพระอุปฌาย์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร โดยออกธุดงค์เป็นเวลา 4ปี และได้ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาตอนอายุ 14 ปี และในช่วงนี้นี่เองที่หลวงพ่อเริ่มมีชื่อเสียงจากการสักยันต์ เนื่องจากเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน ได้ลองให้หลวงพ่อสักให้แล้วเกิดมีประสบการณ์ จึงเล่ากันปากต่อปากและมีผู้มาสักยันต์มากขึ้น (ขณะนั้นอายุประมาณ 17-19 เท่านั้น)เมื่ออายุได้ 20 ปีก็ได้อุปสมบทตามประเพณี โดยมีหลวงพ่ออินทร์ วัดยางเป็นพระอุปฌาย์ พระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า จันทสุวัณโณ และได้ศึกษาด้านวิชาอาคม เพิ่มเติมโดยฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง และได้ออกธุดงค์ศึกษากรรมฐานหายเข้าป่าหลายปีจนได้กลับมาวัดนาพรหม ในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้ทราบข่าวการป่วยของบิดา จึงคอยดูแลจนกระทั่งบิดาเสียจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดาซึ่งแก่ชรามาก และได้แต่งงานมีครอบครัว ส่วนลูกศิษย์เก่า ๆ ที่ได้จากการสักจากหลวงพ่อ พอรู้ข่าวก็ได้มาสักกันเพิ่มขึ้นจนมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่มีบางคนที่ได้รับการสักยันต์จากหลวงพ่อแล้วกลับประพฤติตนเป็นอันธพาล จนทางตำรวจท้องที่ต้องขอร้องอาจารย์ยิด(ขณะนั้น) ให้เพลา ๆ การสักยันต์ลง ต่อมาจึงมีการเลือกเฟ้นจนแน่ใจแล้ว จึงจะทำการสักให้ จนกระทั่งปี 2518 จึงได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดเกาะหลัก โดยมีหลวงพ่อเปี่ยมเป็นพระอุปฌาย์ ได้รับฉายา จันทสุวัณโณ เช่นเดิม ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ 51 ปี เมื่ออุปสมบทแล้วก็เดินทางไปจำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่ วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบฯ ได้พบกับอุบาสิกาใจบุญ 2 ท่าน ยกพื้นที่ดินว่างเปล่าพื้นที่ 21 ไร่ 2 งาน ให้โดยปรารถนาให้ท่านสร้างวัดขึ้น ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วย ป่าไผ่ และดงต้นหนาม ซึ่งหลวงพ่อได้ปลูกกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ไว้ และก็เริ่มถางป่าไผ่ พัฒนาไปเรื่อย ๆ จนพื้นที่รกทึบเริ่มโล่งมากขึ้น จนกระทั่งบรรดาลูกศิษย์ที่ได้รับการสักยันต์ และพวกที่เคยได้รับการรักษายาสมุนไพร ได้รู้ข่าวการสร้างวัดใหม่ของหลวงพ่อก็ได้มาร่วมกันสร้างวัดด้านผู้ชายก็ช่วยถากถาง ผู้หญิงก็ช่วยหุงหาอาหาร แจกจ่ายและได้รวมกันสร้างกุฏิขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ในขั้นแรก และต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดต่อมาจึงมีการเลือกเฟ้นจนแน่ใจแล้ว จึงจะทำการสักให้ จนกระทั่งปี 2518 จึงได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดเกาะหลัก โดยมีหลวงพ่อเปี่ยมเป็นพระอุปฌาย์ ได้รับฉายา จันทสุวัณโณ เช่นเดิม ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ 51 ปี เมื่ออุปสมบทแล้วก็เดินทางไปจำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่ วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบฯ ได้พบกับอุบาสิกาใจบุญ 2 ท่าน ยกพื้นที่ดินว่างเปล่าพื้นที่ 21 ไร่ 2 งาน ให้โดยปรารถนาให้ท่านสร้างวัดขึ้น ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วย ป่าไผ่ และดงต้นหนาม ซึ่งหลวงพ่อได้ปลูกกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ไว้ และก็เริ่มถางป่าไผ่ พัฒนาไปเรื่อย ๆ จนพื้นที่รกทึบเริ่มโล่งมากขึ้น จนกระทั่งบรรดาลูกศิษย์ที่ได้รับการสักยันต์ และพวกที่เคยได้รับการรักษายาสมุนไพร ได้รู้ข่าวการสร้างวัดใหม่ของหลวงพ่อก็ได้มาร่วมกันสร้างวัดด้านผู้ชายก็ช่วยถากถาง ผู้หญิงก็ช่วยหุงหาอาหาร แจกจ่ายและได้รวมกันสร้างกุฏิขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ในขั้นแรก และต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดหนองจอกในปัจจุบัน หลวงพ่อยิดได้มรณะภาพเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริอายุ 71 ปี 30 พรรษา หลวงพ่อยิดได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบทดลองสร้างดูพุทธคุณตั้งแต่สมัยเป็นอาจารย์ยิด โดยสร้างเป็นตะกรุดเพียงไม่กี่ดอก ได้มาเริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบจริง ๆ จัง ๆ ก็ตอนสร้างวัดหนองจอกนี่เอง โดยสร้างเป็นเหรียญรูปหล่อ และปลัดขิก และสร้างเรื่อยมา เพราะลูกศิษย์ลูกหาต่างแสวงหา เพราะต่างก็เชื่อมั่นในพุทธคุณของวัตถุมงคลที่หลวงพ่อจัดสร้างขึ้น ปัจจุบัน วัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดได้รับความนิยมมาก แต่ราคายังถูกอยู่คือ จะอยู่ประมาณ หลักร้อยถึงหลักพันต้น ถ้าสนใจอยากบูชาไว้คุ้มครองตัว ให้จดจำลักษณะให้ดีแล้วจะได้ของดีไว้บูชาครับ เมื่อพูดถึง “ปลัดขิก” นับเป็นเครื่องรางของขลังที่พระเกจิอาจารย์ดังในอดีตหลายองค์นิยมสร้างกันอาทิ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา,หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี,หลวงพ่อโสก วัดปากคลองบางครก เพชรบุรี, ฯลฯ ปลัดขิกของแต่ละท่าน ล้วนโด่งดัง-เข้มขลังด้วยประสบการณ์ เล่าขานสืบมาจนทุกวันนี้ หนึ่งในเกจิอาจารย์ที่สร้างตำนาน “ปลัดขิก” จนดังสะท้านประเทศก็คือ “หลวงพ่อยิด จนฺทสุวณฺโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ วิทยาคมของท่านนั้นแก่กล้าขนาดที่ว่า สามารถเสกปลัดขิกบินรอบวัด ก่อนจะแจกจ่ายให้ญาติโยม นี่คือเรื่องจริงที่หลายๆ คนได้ประจักษ์กับสายตามาแล้ว หลวงพ่อเกิดในสกุล “สีดอกบวบ” เมื่อวันอังคารที่ 10 มิ.ย. 2467 ณ บ้านหัวหรวด ต.นาพันสาม อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน ของนายแก้ว และ นางพร้อย สมัยเด็กไปอยู่กับหลวงพ่อหวล (มีศักดิ์เป็นน้า) ที่วัดประดิษฐนาราม (วัดนาพรม) จนกระทั่งบวชเป็นเณรเมื่ออายุ 9 ขวบ และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ภาษาขอม เลขยันต์ พร้อมกับเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง อายุ 14 ปีลาสิกขาออกมาช่วยครอบครัว ซึ่งย้ายไปประกอบอาชีพ ที่อ.กุยบุรี จนอายุ 20 ปีก็กลับมาอุปสมบทที่วัดนาพรม มีหลวงพ่ออินทร์ (เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรีขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหวล เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์พ่วง วัดสำมะโรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า “จนฺทสุวณฺโณ” มีความหมายว่า “ผู้มีวรรณะดุจพระจันทร์” ต่อมาบิดาเสียชีวิต ท่านจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดา และได้มีครอบครัว อยู่กินกับนางธิติจนมีบุตรหนึ่งคน ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งในปี พ.ศ.2517 ณ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากนั้นได้มาจำพรรษาที่วัดทุ่งน้อย ต.เขาแดง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาผู้มีจิตศรัทธาซึ่งเลื่อมใสในตัวท่านได้มอบที่ดิน 21 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี ให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ “สำนักสงฆ์พุทธไตรรัตน์” เมื่อปี พ.ศ.2518 ก่อนจะขออนุญาตสร้างเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2527 ตั้งชื่อว่า “วัดหนองจอก” ปี พ.ศ.2535 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประทานพัดยศแก่ท่าน เป็น “พระครูนิยุตธรรมสุนทร” หลวงพ่อยิดนั้นได้ชื่อนักพัฒนาที่มีฝีมือรูปหนึ่ง เห็นได้จากการสร้างสรรค์พัฒนาให้วัดหนองจอก จนเป็นวัดที่สมบูรณ์มีถาวรวัตถุทางศาสนาครบ ยากที่จะหาวัดใดๆ สร้างได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ท่านยังพัฒนาจิตใจและการศึกษาของเด็กและเยาวชนอย่างเต็มที่ โดยสนับสนุนด้านทุนการศึกษา,ทุนอาหารกลางวันแก่โรงเรียนหลายแห่งใน จ.ประจวบฯ รวมทั้งร่วมสร้างสาธารณประโยชน์แก่สถานที่ราชการและหน่วยราชการมากมาย สมัยยังชีวิต ท่านมีกิจนิมนต์ในการปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังทั่วประเทศจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ในวันเสาร์ 5 ท่านปลุกเสกวัดแรกที่ จ.นครสวรรค์ วัดสุดท้ายที่วัดหนองจอก แต่ละวัดจะปลุกเสกวัดละ 30 นาที รวมทั้งหมดวันเดียวปลุกเสก 9 วัด การรับแขกของหลวงพ่อยิดแต่ละวันนั้น บางวันแทบไม่ได้ลุกไปห้องน้ำเลย นอกจากฉันอาหารเพลเท่านั้น แม้แต่ยามอาพาธ ก็ยังแสดงความอดทน ออกมาต้อนรับญาติโยมเหมือนไม่เป็นอะไรเลย ยิ่งเรื่องการเขียน การจารวัตถุมงคลด้วยแล้ว บางวันถึงขนาดไม่ได้ฉันข้าวก็มี เมื่อเขียน,จารเสร็จแล้ว ท่านจะเอานิ้วที่ซีดแนบเนื้อติดกระดูกให้ผู้อยู่ใกล้ชิดดู จนต้องช่วยกันบีบนวดให้เพราะสงสารท่าน พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ส่วนมากจะมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ใกล้ชิด ลูกศิษย์ กลุ่มพุทธพาณิชย์ หาผลประโยชน์จากการสร้างวัตถุมงคลเพื่อหวังผลกำไรจำนวนมหาศาล เช่นเดียวกับหลวงพ่อยิดซึ่งมีหลายกลุ่ม แต่ท่านจะไม่ว่าอะไรใครทั้งสิ้น เมื่อมีผู้ถาม ท่านก็จะตอบว่า “ใครที่ประพฤติตนหาผลประโยชน์จากพระ บุคคลนั้นต่อไปจะยากจน เพราะตัวเองจะป่วย แล้วก็ใช้เงินจากการจำหน่ายพระมารักษาตัวจนหมดสิ้น และชีวิตก็จะอยู่ไม่มีความสุขภายในครอบครัว” และวาจาท่านก็ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งเสียด้วย เพราะมีหลายคนที่เป็นไปตามคำพูดนั้น เรื่องแปลกของหลวงพ่อยิดเรื่องหนึ่งก็คือ ท่านสรงน้ำปีละครั้ง ในเดือน 4 ในวันอาทิตย์แรกของข้างแรม สาเหตุก็เนื่องมาจาก ท่านได้รับปากกับอาจารย์ที่สอนวิชาอาคมให้สมัยที่ยังเป็นฆราวาส เมื่อเรียนจบแล้ว ท่านก็อาบน้ำ จนกระทั่งบวชเป็นพระก็สรงน้ำปีละครั้งตลอดมาจนมรณภาพ ลูกศิษย์และผู้เคารพศรัทธาจะเอาแปรงทองเหลืองขัดตัวท่าน ท่านจะยิ้มเพราะไม่เจ็บ และไม่ระคายผิวหนังแม้แต่น้อย กระทั่งปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา จึงงดใช้แปรงขัดเนื่องจากหมอขอร้อง เพราะแม้ผิวหนังท่านจะคงกระพันจริง แต่เนื้อและเส้นโลหิตไม่ได้คงกระพันด้วย อาจจะเป็นอันตรายได้ ท่านมักจะสอนศิษย์เสมอว่า การที่จะปลุกเสกวัตถุมงคลให้ขลังนั้นจะต้องมีสมาธิ และสัจจะ โดยเฉพาะสัจจะสำคัญมาก เพราะฉะนั้น วัตถุทุกชนิดเมื่อผ่านการปลุกเสกจากท่าน จึงเชื่อถือกันว่ามีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มาก ที่โด่งดังและรู้จักกันดีทั่วประเทศก็คือ “ปลัดขิก” ซึ่งท่านปลุกเสกจนกระดุกกระดิกเคลื่อนไหวได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น แม้แต่ผู้ที่มีความรู้เป็นถึงนักเรียนนอกอย่าง ม.ล.ปาณสาร หัสดินทร อดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังนับถือ เพราะได้ประสบมากับตาตนเอง คุณวิเศษในปลัดขิกที่ผ่านการปลุกเสกจากท่าน ใช้ดีในทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ค้าขาย เรื่องแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ตะขาบ แตน ต่อ แมงป่อง เอาไปวนบริเวณที่กัดจะหายเป็นปลิดทิ้งทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อความศรัทธาเป็นที่ตั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่ฝังอยู่ในใจศิษย์ตลอดมาก็คือภาพอดีตที่ฉายให้เห็นถึงคุณงามความดีที่ท่านสร้างไว้ให้วัดหนองจอก,พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ซึ่งไม่มีวันลบเลือนไปง่ายๆ เด็ดขาด

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top