หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
พระราชสังวรวิมล หลวงพ่อแช่ม ธมฺมานนฺโท วัดนวลนรดิศ ปี 2523 ด้านหลังหลวงปู่ทิม (อาจารย์) สภาพสวยผิวเ
ชื่อร้านค้า | ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระราชสังวรวิมล หลวงพ่อแช่ม ธมฺมานนฺโท วัดนวลนรดิศ ปี 2523 ด้านหลังหลวงปู่ทิม (อาจารย์) สภาพสวยผิวเ |
อายุพระเครื่อง | 40 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | 400 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.) |
อีเมล์ติดต่อ | เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 18 พ.ย. 2557 - 21:30.02 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 30 พ.ย. 2557 - 20:27.48 |
รายละเอียด | |
---|---|
**รหัส ศ.ร.๓๒๒๗ พระราชสังวรวิมล หลวงพ่อแช่ม ธมฺมานนฺโท วัดนวลนรดิศ ปี 2523 ด้านหลังหลวงปู่ทิม (อาจารย์) สภาพสวยผิวเดิม หายาก พระราชสังวรวิมล (แช่ม ธมมานนุโท) องค์ที่ ๒ พระราชสังวรวิมล หลวงพ่อแช่ม อดีตเจ้าอาวาส วัดนวลนรดิศ องค์ที่ ๒ ครองวัดอยู่ระหว่าง พ.ศ.๒๔๒๓-๒๔๖๙ รวม ๔๖ ปี ริมคลองบางหลวงที่มีคลองภาษีเจริญมาบรรจบกัน และมีประตูน้ำเพื่อระบบน้ำและบังคับน้ำ ในรัศมี ๒๐๐-๓๐๐ เมตร มีวัดที่มีชื่อเสียงอยู่ติดๆ กันถึง ๔ วัด คือ วัดปากน้ำ ซึ่งมีพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร) วัดประดู่ฉิมพลี พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินทฺสุวณฺโณ) และวัดนวลนรดิศ พระราชสังวรวิมล (หลวงพ่อแช่ม ธมฺมานนฺโท) ซึ่งนักนิยมพระเครื่องแล้ว จะต้องรู้จักกันดี อายุไล่เรียงกัน ท่านทั้งสามก็ยังมีพระเครื่องซึ่งสร้างและผสมด้วยผงนะปถมังหรือผงวิเศษตรีนีสิงเพร่วมกันอีกด้วย ท่านทั้งสามนี้เป็นผู้ที่มีปฏิทาการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ในกิจพระศาสนาได้รับการยกย่องเป็นพระมหาเถระผู้ทรงวิทยาคุณทางวิปัสสนาธุระ และเมื่อถึงมรณกาลก็ยังไล่เรียงกันอีกด้วย คือ หลวงพ่อสด พ.ศ.๒๔๒๗-๒๕๐๒ หลวงปู่โต๊ะ พ.ศ.๒๔๓๐-๒๕๒๔ หลวงพ่อแช่ม พ.ศ.๒๔๓๔-๒๕๒๖ ประวัติ พระราชสังวรวิมล (แช่ม ธมมานนุโท) พ.ศ.๒๔๓๔-๒๕๒๖ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระราชสังวรวิมล (แช่ม ธมมานนุโท) มีนามเดิมว่า แช่ม นามสกุล เอี้ยวสำราญ โยมบิดาชื่อ นายค้วน โยมมารดาชื่อ นางยิ้ม เอี้ยวสำราญ เกิดวันพฤหัสบดี แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ตรงกับวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๔ ที่บ้านตำบลบางแวก (หลังวัดโตนด ในปัจจุบัน) ภาษีเจริญ ธนบุรี ท่านมีพี่น้องท้องเดียวกันรวม ๗ คน ปัจจุบันถึงแก่กรรมทั้งหมดแล้ว ในสมัยก่อน การเล่าเรียนศึกษาหาความรู้ ต้องไปเรียนจากวัดที่มีพระเป็นครูอบรมสั่งสอนเท่านั้น จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ชายเท่านั้น เมื่อเยาว์วัยหลวงพ่อได้ศึกษาเบื้องต้นกับชายตาบอดทั้งสองข้าง ชื่อ “นายมา” ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน เป็นครูช่วยสอนให้จนสามารถอ่านออกเขียนได้พอสมควร จาก “ครูมา” ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนให้จนเติบโตพอเป็นกำลังให้บิดา-มารดาได้ ท่านเองก็ได้ช่วยโยมทั้งสองประกอบอาชีพ ซึ่งในสมัยนั้นทำสวนพูลเป็นส่วนใหญ่จนกระทั่งอายุได้ ๑๙ ปี จึงออกจากบ้านไปบรรพชาเป็นสามเณรในพทธศาสนาที่วัดนวลนรดิศ ต.ปากคลอง อ.ภาษีเจริญ ธนบุรี เมื่อวันพุธ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๓ โดยมีพระเดชพระคุณพระสาสนานุรักษ์ (ทิม รตนโชโต) เป็นพระอุปชฌาย์ หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดนวลนรดิศเรื่อยมา โดยได้รับเมตตาจากท่านเจ้าคุณพระสาสนานุรักษ์ ให้การอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิริยามารยาท หรือในด้านภาษา หนังสือ พระอุปัชฌาย์เป็นผู้สอนภาษาขอมโบราณ ซึ่งสมัยนั้นนิยมกันมากจนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ภาษาเป็นอย่างดี เป็นการเรียนการสอนอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งบางครั้งมีเพียงลูกศิษย์กับอาจารย์เพียงสอนคน เมื่อเรียนเสร็จแล้ว ท่านผู้สอนก็จะให้การอบรมในด้านความประพฤติ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ให้อีกด้วย เมื่ออายุ ๒๐ ปี บริบูรณ์ก็พร้อมอุปสมบทได้ต่อไปเลย อุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดนวลนรดิศวรวิหาร ซึ่งสมัยนั้นยังเรียกว่า “วัดมะกอกใน” เมื่อวันอังคารที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยมีพระสาสนานุรักษ์ (ทิม รตนโชโต) เป็นพระอุปชฌาย์ พระปลัดจือ วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์เที้ยม วัดนวลนรดิศ เป็นพระอนุสาสนาจารย์ และได้รับฉายาว่า “ธมฺมานนฺโท” และจำพรรษาอยู่ที่วัดนวลนรดิศนี้ตลอดมา สมัยนั้นการเล่าเรียนของพระเป็นไปอย่างยากลำบาก สถานที่เรียนและพระที่จะมาสอนก็หายากท่านจำเป็นต้องไปเรียนนักธรรมในสำนักฝั่งพระนคร โดยเรียนที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ซึ่งขณะนั้น “พระวิเชียรกวี” (ฉัตร) จำพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ มาก่อน เป็นครูผู้สอนนักธรรมอยู่ด้วย ท่านเป็นครูผู้ชำนาญด้านการสอนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ท่านไปเรียนอยู่หลายปี จนบางครั้งต้องเดินไปเอง อุตสาหะ วิริยะ จริงๆ จึงจะเกิดผลสำเร็จตามที่ปรารถณา เมื่อเห็นว่ามีความรู้ความสามารถพอสมควรก็สมัครสอบและสอบได้นักธรรมตรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕ จากนั้นโอกาสที่จะไปศึกษาต่อก็มีน้อย เนื่องจากทางไปเล่าเรียนยากลำบากทั้งไปและกลับขึงหยุดการเรียนเรื่องนักธรรม และมาศึกษาต่อด้านภาษาขอมกับอุปัชย์ คือ พระสาสนานุรักษ์จนมีความรู้ความสามารถอ่านเขียนได้คล่องแคล่ว แม่นยำ แม้กระทั่ง ท่องปาฏิโมกข์ ภาษาขอม และภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นการยากมากในสมัยนั้นที่จะศึกษากันให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งอย่างนี้ เมื่อท่านมีอายุพรรษามากขึ้น พระสาสนานุรักษ์พระอุปัชฌาย์ ก็มอบหน้าที่ให้ท่านเป็นครูสอนนักธรรมที่วัดนวลนรดิศแทนพระอุปัชฌาย์ ซึ่งชราภาพมากแล้ว ตลอดมาเป็นเวลาหลายปี ด้านการปกครอง พ.ศ. ๒๔๖๕ พระครูปลัดแช่ม ธมฺมานนฺโท รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศ (พระสาสนานุรักษ์ ชราภาพมากแล้ว) พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นเจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศ พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นเจ้าคณะตำบลปากคลองภาษีเจริญ พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นสาธารณูปการอำเภอภาษีเจริญ หนองแขม พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นที่พระครูศีลคุณธราจารย์ พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นที่พระนรดิศคุณาจารย์ พ.ศ. ๒๕๐๒ รักษาการเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ หนองแขม พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ หนองแขม พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นที่พระราชสังวิมล พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นกรรมการสถาบริหารการคณะสงฆ์ธนบุรี ด้านการศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็นผู้อุปการะโรงเรียนวัดนวลนรดิศ พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นประธานกรรมการดำเนินการการสอบธรรมสนามหลวง ด้านสาธารณูปการ ตั้งแต่พระเดชพระคุณพระราชสังวรวิมลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดนวลนรดิศ มาเป็นเวลาหลายสิบปีจนถึงมรณภาพ ท่านได้ทำหน้าที่ในการบริหารวัดทำการพัฒนาก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ในวัดมาแทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการปเรียญ กุฏิ ถนนหนทาง และสิ่งต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกสบายให้แกสาธุชนได้ประกอบกิจตามขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ ในพระพุทธศาสนาจนแทบจะกล่าวได้ว่าชีวิตของท่านเกิดมาเพื่อทำประโยชน์ให้แก่วัดแท้ๆ และเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ หนองแขม ท่านก็ปกครองพระสงฆ์ในเขตของท่านด้วยพรหมวิหาร ๔ มาโดยสม่ำเสมอ นับได้ว่าท่านมีชีวิตอยู่เพื่อสร้างคุณธรรม และบารมีธรรมจนเป็นที่เคารพสักการบูชาของสาธุชนไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือบรรพชิตได้รับการเรียกขานกันทั่วไปว่า “หลวงพ่อวัดนวลฯ” ตราบเท่าทุกวันนี้ กสิณ-มรณภาพ เมื่อหลวงพ่อเป็นพระอุปัชฌาย์ พระนวกะหลังจากบวชและฉลองพระใหม่แล้ว ท่านมักจะแจกพระต่างๆ ให้ไว้เป็นมงคลเพื่อสักการะบูชา เมื่อท่านได้พระจากที่อื่นๆ มาแล้วปลุกเสกเดี่ยวเองครงไตรมาส พลวงพ่อเคยเล่าว่าท่านเคยฝึกทำกสิณสมถะอยู่เป็นประจำ จนมีเรื่องเล่ากันว่ากสิณท่านกล้าขนาดเห็นว่า โยมจะใส่บาตรด้วยอะไร จนหลวงปู่ทิมต้องเตือนว่า “คุณมันจะผิดทางนะ” หลวงพ่อบอกว่าการทำกสิณเป็นการทำจิตของตนเองให้สงบได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งท่านก็ได้ทำอยู่ตลอดมา หลวงพ่อนั้นทำได้ทั้ง อาโปกสิณ (การเพ่งน้ำ) และเตโชกสิณ (การเพ่งไฟ) ทั้งนี้ท่านได้วิชาจากหลวงปู่ทิม และเข้าใจว่าน่าจะได้รับจาก หลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูงอีกด้วย เนื่องจากเมื่อหลวงปู่ทิมยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่เอี่ยมซึ่งเป็นสหธรรมิกและบวชที่วัดประยุรวงศาวาล มาก่อน ได้ไปมาหาสู่หลวงปู่ทิมเป็นประจำ และเคยจำพรรษาที่วัดนวลนรดิศถึง ๕-๖ ปี คงจะถ่ายทอดวิชาให้หลวงพ่อแช่ม ซึ่งเป็นศิษย์คนโปรดของหลวงปู่ทิม พระครูปลัดอรรถสิทธิ์ ฐานวโร เล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อปลุกเสกเหรียญปี ๒๕๑๐ ของท่านในบาตรน้ำมนต์ อยู่ในกุฏิเวียงเกตุ เสียงเหรียญวิ่งกระทบกันได้ยินชัดเจน” ท่านคงตั้งใจมากเนื่องจากเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน พระครูปลัดอรรถสิทธิ์ ยังเล่าต่อไปอีกว่าเมื่อท่านมรณภาพไปแล้วยังพบ “ตะกรุดของหลวงปู่เอี่ยมอยู่ในกุฏิหลวงพ่อถึง ๓ ดอกด้วยกัน” จึงเชื่อได้ว่าหลวงพ่อเป็นศิษย์ของหลวงปู่เอี่ยมอีกด้วย (ปัจจุบันตกไปอยู่ในมือของลูกศิษย์หมดแล้ว)“หลวงพ่อวัดนวล” อาพาธมาเป็นเวลา ๑ ปีเศษ ด้วยโรคชราภาพ เพียงย่างเข้าวันปีใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ เพียงวันเดียว วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๖ ยังความโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้งให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาเปรียบเสหมือนร่มโพธิ์ร่มไทรที่ให้ความร่มเย็นเป็นสุขทั้งกายและใจมาเป็นเวลาหลายปี โค่นล้มลง ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือศรัธาในความเป็นสงฆ์ที่กราบไหว้ได้อย่างสนิทในพากันมาแสดงความเสียใจหลายพันคนทีเดียว และได้จัดการบำเพ็ญกุศลสวออภิธรรมศพพระเดชพระคุณ “เจ้าคุณพระราชสังวรวิมล” ติดต่อกันไปเวลาแรมปี จวบจนกระทั่ง วันเสาร์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗ จึงมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระราชสังวรวิมล ณ เมรุ วัดนวลนรดิศวรวิหาร เวลา ๑๖.๓๐ น. ปัจจุบันอัฐิของท่านได้บรรจุไว้ในรูปเหมือนหลวงพ่อ ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่มณฑปสองอดีตเจ้าอาวาส |