เหรียญหล่อ พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ พิมพ์ซุ้มแหลม -รัตนินพระเครื่อง - webpra
VIP
สุจริตคือเกราะบัง...ศาสตร์พ้อง

หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

เหรียญหล่อ พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ พิมพ์ซุ้มแหลม

เหรียญหล่อ พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ พิมพ์ซุ้มแหลม  - 1เหรียญหล่อ พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ พิมพ์ซุ้มแหลม  - 2
ชื่อร้านค้า รัตนินพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหล่อ พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ พิมพ์ซุ้มแหลม
อายุพระเครื่อง 96 ปี
หมวดพระ พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ supatbut.p@gmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 07 ม.ค. 2557 - 19:20.04
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 26 ต.ค. 2567 - 15:12.44
รายละเอียด
เหรียญหล่อ พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ พิมพ์ซุ้มแหลม (5 เหลี่ยม) ด้านหน้ารูปพระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ด้านหลังเรียบ สร้างประมาณ พ.ศ.2460 - 2470 @ เนื้อโลหะผสม เนื้อนี้หาดูยากมากครับ ส่วนใหญ่เห็นแต่เนื้อชินตะกั่ว.

ข้อมูลประกอบการพิจารณา : ประวัติและเกียรติคุณพระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)

พระสังวรานุวงษ์เถร มีนามเดิมว่า ชุ่ม เป็นบุตรนายอ่อน โพอ่อน นางขลิบ โพอ่อน เกิดที่ตำบลเกาะท่าพระ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เมื่อวันพุธ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ ตรงกับวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ในต้นรัชกาลที่ ๔ ได้เล่าเรียนภาษาไทย ภาษาบาลี ในสำนักพระอาจารย์ทอง วัดราชสิทธาราม ตั้งแต่ ๑๐ ขวบ ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๙ ในรัชกาลที่ ๔ อายุ ๑๓ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ในสำนัก พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ได้ศึกษาอยู่ตลอดมา ทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๑๗ ในรัชกาลที่ ๕ เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดราชสิทธาราม พระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์กลั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ) และศึกษาพระกรรมฐานต่อกับ พระสังวรานุวงษ์เถร (เอี่ยม) ครั้งยังเป็นพระครูสังวรสมาธิวัตร แล้วได้ออกสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี ต่อมาได้รับสืบทอดไม้เท้าไผ่ยอดตาล จากพระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ) องค์พระอุปัชฌาย์

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๑ เป็นเจ้าคณะหมวด เมื่อพรรษาได้ ๔ พรรษา ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๔ เป็นพระใบฏีกา ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๓ ของ พระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ) ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๗ พรรษา ๑๐ เป็นพระสมุห์ ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๒ ของพระอมรเมธาจารย์ (เกษ) ในพรรษานั้นท่านได้รับแต่งตั้งจากพระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ) ให้เป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ด้วย

ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๙ พรรษาที่ ๑๒ ได้เป็นพระปลัด ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๑ ของพระสังวรานุวงษ์เถร (เอี่ยม) ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษ ตำแหน่งรองเจ้าอาวาสที่พระครูสังวรสมาธิวัตร ได้รับพระราชทานนิตยภัตเดือนละ ๗ บาท และในปีเดียวกันนี้ พระครูสังวรสมาธิวัตร(ชุ่ม) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่พระสังวรานุวงษ์เถร รับพระราชทานพัดงาสาน เป็นองค์สุดท้ายของวัดราชสิทธาราม ได้รับพระราชทานนิตยภัตเดือนละ ๑๒ บาท ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๘ พระสุธรรมสังวร (ม่วง) ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม กลับไปวัดเดิม พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามเป็นองค์ต่อมา และเป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี มณฑลธนบุรี นับเป็นองค์สุดท้าย ที่เจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ได้เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ประจำมณฑลธนบุรี และได้รับพระราชทานพัดงาสานเป็นองค์สุดท้ายของวัดราชสิทธาราม

ผู้คนทั้งหลายในสมัยนั้นเรียกขานนามท่านว่า ท่านเจ้าคุณสังวราฯ บ้าง หลวงปู่ชุ่มบ้าง ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานนิตยภัตเพื่มขึ้นอีกเดือนละ ๒ บาท รวมเป็น ๒๔ บาท เทียบพระราชาคณะชั้นราช ปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๐ พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) ครองวัดราชสิทธาราม พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยท่านเจริญรุ่งเรื่องมาก มีพระเถรพระมหาเถรมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กันมากมาย มีปรากฏชื่อเสียงหลายท่านคือ พระภิกษุพริ้ง (พระครูประสาธสิกขกิจ ) วัดบางประกอก พระภิกษุสด (พระมงคลเทพมุนี) วัดปากน้ำ พระภิกษุโต๊ะ (พระราชสังวราภิมนต์) วัดประดู่ฉิมพลี พระภิกษุกล้าย (พระครูพรหมญาณวินิจ) วัดหงส์รัตนาราม พระภิกษุขัน (พระครูกสิณสังวร) วัดสระเกศ พระภิกษุเพิ่ม (พระพุทธวิถีนายก) วัดกลางบางแก้ว และ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งมาศึกษากับพระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) ไม่ทัน ท่านจึงไปศึกษากับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอกฯ แทน ในกาลต่อมา

การศึกษาสมัยพระสังวรานุวงษ์ (ชุ่ม) ครองวัด ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระเอง พระครูสังวรสมาธิวัตร (แป๊ะ) เป็นผู้ช่วยพระอาจารย์ใหญ่ทางด้านพระปริยัติธรรม พระมหาสอนเป็นพระอาจารย์ใหญ่ ส่วนการเรียนพระบาลีไปเรียนที่วัดประยูรวงศาวาสบ้าง วัดอรุณราชวรารามบ้าง ในสมัยที่ท่านครองวัด พระกรรมฐานเจริญรุ่งเรื่องมาก ถึงขนาดมีพระสงฆ์มาศึกษาพระกรรมฐานมากถึง ๒๐๐ รูปเศษ ท่านเป็นผู้เก็บรักษาเครื่องบริขารต่างๆของบูรพาจารย์พระกรรมฐาน ต่อจากพระอาจารย์ของท่าน มีบริขารของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นต้น ปัจจุบันบริขารต่างๆได้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์พระกรรมฐาน คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม

ปีพระพุทธศักราช. ๒๔๗๐ ท่านมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๗๐ รวมสิริอายุได้ ๗๕ ปี พรรษา ๕๔ เมื่อท่านมรณะภาพไม่นาน มีผู้คน คณะสงฆ์ ที่เคารพนับถือท่านได้มาที่วัดราชสิทธารามกันแน่นวัด มีเรือจอดที่คลองหน้าวัดแน่นขนัด เก็บสรีระของท่านไว้บำเพ็ญกุศลประมาณ ๑๐๐ วัน ระหว่างบำเพ็ญกุศลมีการจุดพลุตลอดทั้ง ๑๐๐ วัน เมื่อจะพระราชทานเพลิงศพทางวัดได้จัดทำเมรุ ทำเป็นรูปทรงเขาพระสุเมรุราช ข้างพระเจดีย์ใหญ่หน้าวัดด้านใต้ พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๗๐ (นับเดือนไทย ตั้งแต่เดือนเมษายน เป็นปี ๒๔๗๑) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เสด็จมาเป็นองค์ประธานพระราชทานเพลิงศพ ท่านเสด็จมาโดยมิได้มีหมายกำหนดการมาก่อน เมื่อมาถึงทางวัดได้จัดการให้พระองค์ท่านประทับนั่งอย่างสมพระเกียรติ (นั่งโต๊ะ) แต่พระองค์ท่านได้ตรัสว่า ฉันมาเผาอาจารย์ฉัน แล้วพระองค์ท่านก็ให้พระสงฆ์ที่ติดตามท่านมาปูลาดอาสนะธรรมดา ประทับนั่งลงกับพื้นในที่ชุมนุมสงฆ์แถวหน้าอย่างโดยไม่ถือพระองค์ กล่าวว่าท่านเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์เดียว ที่เสด็จมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จนจบ กล่าวขานกันในสมัยนั้นว่าท่านเป็นพระมหาเถรองค์หนึ่งที่บรรลุคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา พระองค์ท่านจะมาศึกษาแบบส่วนพระองค์ในเวลาค่ำหลังเสร็จราชกิจ ทรงศึกษากับพระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) ณ วัดราชสิทธาราม ที่กุฏิหลังเขียว (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว ไปปลูกไว้ที่คณะ ๓) ใกล้เช้าพระองค์ท่านก็เสด็จกลับโดยเรือจ้าง (ไป - กลับ เรือจ้าง) พระองค์ท่านไม่ทรงใช้เรือของหลวง เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงแล้ว คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ ได้ทำการหล่อรูปเหมือนท่าน ประดิษฐานไว้ที่มุมเจดีย์หน้าพระอุโบสถด้านทิศใต้ เป็นที่สักการบูชา มาจนทุกวันนี้.

(ข้อมูลจาก www.somdechsuk.com ขอขอบคุณไว้ด้วยครับ)



พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top