กริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ใหญ่(นิยม) วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา(1)-พุทโธ - webpra
คนเราทุกคนควรมี "พุทโธ" ประจำใจในทุกอิริยาบท ดังคำสั่งสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

กริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ใหญ่(นิยม) วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา(1)

กริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ใหญ่(นิยม) วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา(1) - 1กริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ใหญ่(นิยม) วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา(1) - 2กริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ใหญ่(นิยม) วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา(1) - 3กริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ใหญ่(นิยม) วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา(1) - 4กริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ใหญ่(นิยม) วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา(1) - 5
ชื่อร้านค้า พุทโธ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง กริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ใหญ่(นิยม) วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา(1)
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ wuthikri@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 07 ก.ย. 2565 - 09:03.58
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 07 ก.ย. 2565 - 09:03.58
รายละเอียด
พระกริ่งคลองตะเคียน วัดประดู่ทรงธรรม อ. คลองตะเคียน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

***พระองค์นี้เป็นกริ่งคลองตะเคียน วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา พิมพ์ใหญ่(นิยม) เนื้อดินผสมผงใบลาน เนื้อหาเก่าดูง่ายสุดๆ*** (ขอบคุณภาพจากเจ้าของเดิมครับ)

“พระกริ่งคลองตะเคียน” พระกริ่งนี้ไม่ใช่พระกริ่งเนื้อชินหรือเนื้อโลหะ ที่ใครหลายคนเคยพบกันในรูปแบบทั่วไป หากแต่คือพระกริ่งเนื้อดินที่มีการผสมผงใบลานและว่าน 108 รวมทั้งมวลสารอื่นๆ จึงทำให้มีลักษณะแปลกและแตกต่าง นอกจากนี้ยังมีสีที่แปลกตากว่าพระกริ่งอื่นๆกันอีกด้วย สำหรับแหล่งกำเนิดของพระกริ่งนี้ อยู่ในชุมชนของชาวมุสลิมที่มีเชื้อสายมลายู ช่วงสมัยที่ได้มีการทำการค้าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณตำบลคลองตะเคียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในตำบลนี้จะมีลำคลอง และในอดีตนั้น เคยมีต้นตะเคียนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณต้นทางของลำคลอง ทางด้านทิศตะวันออก จึงถูกเรียกว่าคลองตะเคียน ซึ่งถือเป็นตำบลเก่าแก่ ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยที่กรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี
ต่อจากนั้นช่วงยุคสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ในช่วงแตกกรุครั้งแรก ได้มีการพบองค์พระอยู่บริเวณวัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป อาจด้วยรูปลักษณะขององค์พระที่เมื่อได้ถูกนำมาเขย่าแล้ว ก็จะมีดังคล้ายกับกริ่งหรือกระดิ่งอยู่ภายในองค์พระ จึงทำให้มีการเรียกขานพระนี้ว่า “พระกริ่ง” และอาจเพราะแหล่งที่พบองค์พระคือบริเวณตำบลคลองตะเคียน จึงเป็นที่มาของการเรียกพระกริ่งนี้ว่า พระกริ่งคลองตะเคียน มาจนถึงในยุคปัจจุบัน
สำหรับในด้านของพุทธลักษณะส่วนใหญ่ของ พระกริ่งคลองตะเคียน ที่พบ คือองค์พระประธานมีพระพักตร์กลมและใหญ่ หัวไหล่ด้านขวาจะยกสูงกว่าด้ายซ้าย ประทับนั่งสมาธิแสดงปางมารวิชัย บนฐานอาสนะที่ค่อนข้างสูง ด้านเหนือเศียรจะมีต้นโพธิ์และมีใบโพธิ์ปกคลุมอยู่ ใต้ซุ้มใบโพธิ์นั้นจะมีลักษณะเป็นเม็ดๆ ส่วนรูปทรงนั้นด้านล่างจะมีความเป็นเหลี่ยมมีมุมซ้ายขวาที่เป็นส่วนโค้งมน ส่วนด้านบนและเป็นลักษณะแหลม มองเผินๆทั้งองค์จะคล้ายกับกลีบบัว เป็นเนื้อดิน ด้านหลังมีการจารลงอักขระโบราณ มีความคล้ายกับ “พระคง ลำพูน” ของทางเหนือ
เนื้อมวลสาร มีกรรมวิธีในการสร้างที่มีความปราณีตสูง เนื้อมวลสาร ของพระกริ่งคลองตะเคียนนี้ จะมีลักษณะเป็นเนื้อดินเผา โดยมีมวลสารของเนื้อดินเป็นหลักแต่จะมีการนำผงใบลาน, เกสรดอกไม้มงคล,ว่าน 108 และมีมวลสารอื่นๆมาผสมในการสร้างพระ ซึ่งภายในองค์พระจะมีลักษณะกลวง เพราะมีการบรรจุเม็ดกริ่งไว้ด้านใน และใช้กรรมวิธีเหมือนกันทุกองค์ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของพระกริ่ง ได้มีการสันนิษฐานว่าดินและใบลานที่นำมาสร้างพระกริ่งนี้นั้น อาจมีการนำไม้ตะเคียนที่มีเนื้อละเอียดมากนำมาผสมอยู่ด้วย และเหตุที่มีสีน้ำตาลและสีอื่นปะปนด้วยเช่น สีดำ สีเทาอมเขียว นั่นก็เป็นไปได้ว่ากรรมวิธีในการทำนั้นได้ผ่านการเผามานั่นเอง
สำหรับด้านพุทธคุณนั้นได้มีการร่ำลือกันว่า “เหนียวจริงๆ” เพราะครั้งในสมัยสงครามที่มีการสู้รบ คนในสมัยนั้นนิยมอาราธนา แล้วนำมาอมไว้ในปากเวลาออกรบ จากนั้นก็แคล้วคลาดปลอดภัยกลับมา บ้างก็ฟันแทงไม่เข้า จึงเชื่อกันว่าพุทธคุณเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นในด้านมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม นอกจากนี้ยังมีอื่นๆอีกมากมาย ที่ถูกเล่าขานต่อๆกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top